กรุสำหรับ ตุลาคม, 2010

เดโมแครตบนสถานการณ์แปรผัน

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

อีกราวๆ 3 วันก็จะถึงวันเลือกตั้งกลางเทอมของอเมริกา ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอังคารที่ 2 พ.ย.ที่จะถึงนี้ คอการเมืองอเมริกันต่างจับจ้องถึงผลการเลือกตั้ง ที่หมายถึงผลกระทบต่อการออกกฎหมายที่ค้างคาอยู่และที่จะออกใหม่ คาบเกี่ยวถึงกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในอเมริกาอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา กำลังอยู่ระหว่างการเดินสายหาเสียงในรัฐต่างๆ ให้กับบรรดาผู้รับเลือกตั้งทุกประเภทของพรรคเดโมแครตไล่ลงไปตั้งแต่สมาชิกสภาสูง(สว.) สมาชิกสภาล่าง(สส.) ผู้ว่าการรัฐ ตลอดถึงผู้สมัครตำแหน่งการเมืองในแต่ละท้องถิ่น(รัฐ)

ผลการเลือกตั้งคราวนี้ จะสะท้อนถึงคะแนนนิยมในตัวประธานาธิบดี และพรรคเดโมแครต หลังจากที่เขาคว้าชัยแบบถล่มทลายในการเลือกตั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2008

โพลล์หลายสำนัก ชี้ให้เห็นถึงความตกต่ำของพรรคและคะแนนความนิยมในตัวประธานาธิบดีที่ลดลงหลังจาก 3 ถึง 4 เดือนแรกของการเข้ารับตำแหน่งสำคัญอันดับหนึ่งของประเทศในปี 2009 ตลอดถึงตอนนี้คะแนนนิยมของโอบามาหาใช่จะดีขึ้นมากนัก

บารัก โอบามา

ทีมงานหาเสียงของโอบามา และพรรคโมแครตกำหนดยุทธศาตร์แทบจะเป็นไปตามแผนเดิม เหมือนเมื่อคราวการเลือกตั้งประธานาธิบดี คือ เน้นหาเสียงกับวัยรุ่น กลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี กลุ่มอาฟริกัน-อเมริกันชนกลุ่มน้อยอเมริกันเชื้อสายต่างด้าว และกลุ่มสตรีอเมริกัน ซึ่งปกติเป็นฐานเสียงของพรรคเดโมแครตอยู่แล้ว

ในการเดินสายปราศรัยหาเสียงของโอบามาเพื่อช่วยผู้สมัครเลือกตั้งของพรรค เมื่อวันอาทิตย์(24)ที่ผ่านมา ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไอโอ ซึ่งมีคนฟังมากที่สุดจำนวนราว 35,000 คน นับแต่พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีได้ชี้ให้ผู้สนับสนุนพรรครำลึกถึงความคึกคักของแรงสนับสนุนต่อพรรค  เมื่อคราวการเลือกตั้งประธานาธิบดีและทำให้เขาได้รับชัยชนะ กลายเป็นคนพลิกประวัติศาตร์การเลือกตั้งคนแรก ตามนิยามส่วนหนึ่งของความเป็นอเมริกัน คือ ดินแดนเสรีภาพ ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน  และโอกาส

ทีมวางแผนการเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตกำหนดรุกฆาต ในรัฐที่โอบามาเคยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี2008 อย่างเช่น วิสคอนซิน เพนซิลเวเนีย โอไอโอ แคลิฟอร์เนียและเนวาดา โดยการหาเสียงในโค้งสุดท้าย ต้องไม่เป็นไปอย่างสะเปะสะปะ เน้นรัฐที่มีแฟนพันธุ์แท้ของเดโมแครต ส่วนรัฐที่มีแฟนของรีพับลิกันอยู่มากแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงไปหาเสียง

ก่อนหน้านั้น ในการหาเสียงเมื่อวันพฤหัส(21)สัปดาห์ที่แล้ว โอบามาปราศรัยหาเสียงที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน หยอดถ้อยคำหวานนโยบายเพื่อผู้หญิงอเมริกัน เช่น การส่งเสริมการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ที่กฎหมายนี้โดนบล็อกจากฝ่ายพรรครีพับลิกันในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งกฎหมายอีกหลายฉบับที่เอื้อประโยชน์ต่อสถานภาพความเป็นสตรีและเด็ก

แต่แล้วเมื่อเร็วๆนี้ ฝ่ายวางแผนการเลือกตั้งของโมแครตต้องหนักใจ เมื่อผลสำรวจหรือโพลล์ของเอพี โนวเลจ เน็ตเวิร์ค เผยออกมาว่า กลุ่มคนอเมริกันที่เคยโหวตให้พรรคเดโมแครตและประธานาธิบดีโอบามาในปี 2008 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 พ.ย.นี้ เพียงแค่ครึ่งเดียวของจำนวนที่เคยไปใช้สิทธิ์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เทียบกับผลสำรวจ จำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนผู้เคยโหวตให้กับพรรครีพับลิกันและอดีตคู่แข่งว่าที่ประธานาธิบดีจอห์น แมคเคน ซึ่งบอกว่าจะไปใช้สิทธิ์แน่นอนในการเลือกตั้งกลางเทอมที่จะถึงนี้

หมายความว่า หากผู้ที่เคยสนับสนุนโอบามาไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือออกไปเลือกตั้งในคราวนี้กันน้อย พรรคโมแครตก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก และพรรครีพับลิกันได้ประโยชน์ไปเต็มๆ

ตามปกติแฟนของพรรคเดโมแครตนั้น ขึ้นๆลงๆ ตามกระแส ไม่เหมือนแฟนของรีพับลิกัน สายอนุรักษ์นิยม ซึ่งค่อนข้างเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งได้แรงสนับสนุนจากกลุ่มการเมือง “ทีปาร์ตี้” โดยเฉพาะการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ที่แฟนรีพับลิกันมักไม่ค่อยพลาด

ลองนึกภาพของ คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบกับคนที่มีอายุต่ำกว่า 40 กับความรับผิดชอบ จากโพลล์ระบุว่า กลุ่มคนฝ่ายอนุรักษ์นิยม รับผิดชอบ “ตั้งใจ”ต่อการออกไปใช้สิทธิ์มากกว่า รวมถึงกลุ่มคนที่รีไทร์แล้วอีกด้วย ทำให้พวกเขามีเวลาเหลือเฟือในการออกไปใช้สิทธิ์

ผลโพลล์สำรวจของเว็บไซท์ยาฮู(Yahoo) เมื่อวันพุธ(27)ที่ผ่านมา แสดงผลจำนวนเก้าอี้ซีเนเตอร์หรือสว.ทั้ง 2 พรรคอย่างสูสี  เดโมแครต 51 เสียง และรีพับลิกัน 49 เสียง (ปัจจุบันจำนวนเสียงเดโมแครตต่อรีพับลิกัน 59 ต่อ 41)ขณะที่ในส่วนของสภาล่างหรือสส. โพลล์สำรวจของยาฮูให้ เดโมแครต 205 เสียง และรีพับลิกันมากถึง 230 เสียง(ปัจจุบันเดโมเครตต่อรีพับลิกัน 255 ต่อ 178 -ว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง)

นั่นทำให้ดูเหมือนการโหมจุดกระแสโอบามาฟีเวอร์คล้ายดังการเลือกตั้ง 2 ปีที่แล้วของฝ่ายเดโมแครต เป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง ประกอบกับเดโมแครตเองสูญเสีย “ตัวชูโรง” สำคัญไปบางคนในช่วงที่ผ่านมา เช่น การสูญเสียเท็ด หรือ เอ็ดเวิร์ด เคนเนดี้  ซึ่งทำหน้าที่ถ่วงดุล เจรจาล็อบบี้ ประนีประนอม กับบรรดาสมาชิกของทั้ง 2 พรรคในการออกฎหมายต่างๆ

รวมถึงเท็ดยังเป็นสัญลักษณ์ของ “อเมริกันผิวขาวดั้งเดิม”ของฝ่ายอนุรักษ์ฯข้างเดโมแครตอีกด้วย ทำให้พรรคสีน้ำเงินแห่งนี้ออกอาการรวนอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน นั้นแม้ว่ายังมีอิทธิพลระดับหนึ่งในพรรค แต่ก็ไม่ใช่ตัวดึงดูดคะแนนนิยม ดูเหมือนรัฐบาลโอบามาและพรรคโมแครตเอาคลินตันมาใช้ประโยชน์น้อยไป นอกเหนือจากการเป็นทูตสันติภาพของคนอเมริกันด้านความช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติและด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งหลายประเด็นที่คลินตันเห็นไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลโอบามา

โอบามาเองพยายามเดินตามนโยบายที่เคยประกาศหาเสียงไว้ เช่น การคลอดกฎหมายประกันสุขภาพ เสียงในพรรคเดโมแครตไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ก็ผ่านไปไปอย่างเฉียดฉิว การเรียกกลับทหารอเมริกันในอิรัก ที่สร้างความไม่พอใจให้กับหุ้นส่วนของกลุ่มธุรกิจค้าอาวุธขนาดใหญ่ ที่มีอิทธิพลต่อเพนตากอนมาหลายปี ซึ่งต่อมาได้ว่าจ้างทีมงานล็อบบี้ยิสต์กลุ่มหนึ่งให้ดิสเครดิตประธานาธิบดีโอบามาผ่านนักการเมืองฝ่ายเดโมแครตเอง รวมทั้งสื่อข้างฝ่ายอนุรักษ์ฯ ที่โจมตีการทำงานของทำเนียบขาวอยู่ก่อนแล้ว อย่างสถานีฟ็อกซ์ วิทยุหลายคลื่น และอีกหลายๆเว็บไซท์

                โอบามา ยังได้เดินสายออกทีวีและสื่อต่างๆเพิ่มมากขึ้น  เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้เหมือนปี 2008  หวังใช้ตัวเขาเองเป็นแรงดึงดูด แม้ทำเนียบขาวยังระอุไปด้วยกลิ่นอายและความร้อนจากความไม่ลงรอยของทีมปรึกษาประธานาธิบดีบางคน กับ รัฐมนตรี โรเบิร์ต เกต แห่งเพนตากอน

โพลล์ AP-Gfk ระบุว่า การโหวตของคนอเมริกันในการเลือกตั้งคราวนี้เพื่อต้องการสื่อสารไปถึงประธานาธิบดีโอบามา สะท้อนถึงผลการทำงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่าพวกเขาพอใจหรือไม่อย่างไร

จิม เวบบ์

ในส่วนการหาเสียง เป็นไปอย่างคึกคักทุกรัฐ แม้กระทั่งรัฐเนวาดา คะแนนเสียงของแฮรี่ รีด หัวหน้าทีมหรือแกนนำในสภาซีเนตของเดโมแครต ก็ยังสูสีกับแชร์รอน แองเกิล แห่งพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทีปาร์ตี้ ศึกเลือกตั้งหนนี้ว่ากันว่า รีด หาเสียงแบบหืดขึ้นคอ เพราะกระแสรีพับลิกันในรัฐเขตทะเลทรายแห่งนี้มาแรงเหลือหลาย

อังคารหน้า(วันพุธเวลาประเทศไทย)ก็จะรู้ผลว่า พรรคไหนจะครองเสียงข้างมากในสภา การณ์จะเป็นเหมือนเมื่อสมัยอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ดำรงตำแหน่งขณะที่รีพับลิกันครองเสียงข้างมาก จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งในการผ่านร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและกฎหมายอื่นๆหรือไม่?

น่าจับตาตรงนโยบายต่างประเทศ ตามประวัติของ “นักการเมืองใหม่และเก่า” ของรีพับลิกันหลายคนให้ความสนใจต่อกิจการของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีพม่า ทั้งมีแนวคิดไม่เหมือน ซีเนเตอร์ จิม เวบบ์ แห่งเวอร์จิเนีย ที่เคยมาเยือนไทยเมื่อครั้งก่อน

ใส่ความเห็น

ทีปาร์ตี้ : ผลกระทบกับคนไทย(2)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

ยังค้างเรื่องผลกระทบจากกิจกรรมของ“กลุ่มทีปาร์ตี้” ในอเมริกา โดยเฉพาะต่อคนไทยในอเมริกาและคนไทยที่เมืองไทย ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักคนอเมริกันกลุ่มนี้กันมากขึ้นจากสื่อทั้งในและนอกประเทศ ในอเมริกาเองมีสื่อทุกแขนงที่เปิดประเด็นและจุดยืนประเด็นนโนบายของรัฐบาลโอบามาและพรรคเดโมแครต ซี่งหมายถึงการวิพากษ์วิจารณ์นั่นเอง

ทำให้การเมืองอเมริกาก่อนวันเลือกตั้งกลางเทอม 2 พ.ย.ที่จะถึงนี้เป็นไปอย่างเข้มข้นและดุเดือด ทั้งดูเหมือนประธานาธิบดี บารัก โอบามา นางแนนซี่ เปลอสซี่ ประธานสส.(สภาล่าง) และนายแฮรี่ รีด ประธานสว. หรือซีเนเตอร์(สภาสูง) ตกเป็นฝ่ายตั้งรับมากกว่าฝ่ายรีพับลิกัน

                เมื่อเร็วๆนี้ คุณชนิดา อังคณารักษ์ ผู้สื่อข่าวของวิทยุเสียงอเมริกา(VOA) ประจำนครนิวยอร์ค ได้ให้ความสนใจสอบถามความเห็นของผมเกี่ยวกับความเป็นไปและผลกระทบต่อคนไทยและประเทศไทยหากว่า คนหรือตัวแทนของทีปาร์ตี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามา ผ่านพรรครีพับลิกัน (ติดตามการสนทนานี้ได้จากสถานีวิทยุหลายแห่งในเมืองไทย ที่มีรายการของ VOA ภาคภาษาไทย รวมทั้งเว็บไซท์ http://www1.voanews.com/thai/news/

ตามการคาดการณ์จากผลของโพลล์สำนักต่างๆ  ตัวแทนทีปาร์ตี้จะได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากขึ้น ผลการเลือกตั้งขั้นแรก ที่เป็น“ข้อท็จจริง”ในหลายรัฐก็ออกมาตรงกับโพลล์ แกนนำสายอนุรักษ์นิยมในพรรครีพับลิกันได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากบรรดาสมาชิกพรรค ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากการกำหนดนโยบายและออกฎหมายสำคัญๆ

ตอนนี้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มทีปาร์ตี้ โดยเฉพาะที่รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งอยู่ติดกับวอชิงตันดี.ซี.เป็นไปด้วยความคึกคักและประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง เพื่อนอเมริกันที่อยู่ในกลุ่มทีปาร์ตี้และมีส่วนในการกำหนดยุทธศาตร์การรณรงค์หาเสียงที่นั่น ยังเล่าให้ฟังถึงผลที่ได้รับกลับมา ก็คือ ชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยเริ่มตระหนักถึงความสูญเสีย ที่เกิดจากผลของการละเลย “คุณค่าความเป็นอเมริกัน”ดั้งเดิม

เป็นผลจากการรณรงค์ของกลุ่มทีปาร์ตี้ ที่มีอยู่มากกว่า 30 กลุ่มทั่วประเทศ ในช่วงเกือบ 2 ที่ผ่านมา

ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ชาวอเมริกันเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายครั้งแล้วครั้งเล่า การปล่อยปละละเลยในภาคการเงินการธนาคาร การกอบกู้วิกฤตด้วยการนำเงินภาษี เงินงบประมาณของประชาชนทั่วไปไปใช้แก้ปัญหา การอุดช่องโหว่ของปัญหาดังนี้ กลายเป็นเป้าโจมตีใหญ่ของของคนอเมริกันคอการเมืองกลุ่มทีปาร์ตี้

รัฐบาลโอบามากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ได้รับความกดดันอย่างมาก และส่งผลต่อคะแนนเสียงของพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ จากอัตราการว่างงานของคนอเมริกันที่สูงถึง 9.6 เปอร์เซ็นต์ (ถึงส.ค.ที่ผ่าน) เปรียบเทียบกับปี 2007 ตัวเลขยืนอยู่ที่ 4.7 เปอร์เซ็นต์  กลายเป็นจุดเปราะบางที่ทำให้ให้กลุ่มที่มีทัศนะการเมืองตรงกันข้ามโจมตีได้ง่าย เพราะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของอเมริกันส่วนใหญ่

ต้องไม่ลืมว่า ระบบเศรษฐกิจของอเมริกันที่เน้นการขยายและกระจายทุนออกไปเรื่อยๆอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้เกิดองค์กรต่างๆในหน่วยธุรกิจมากมาย องค์กรเหล่านี้มีพนักงานหรือลูกจ้าง ที่ถูกร้อยผูกติดอยู่จำนวนมาก  จนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำไป

หมายถึงชีวิตส่วนใหญ่ของคนอเมริกันอยู่ได้ด้วยการเป็นลูกจ้าง

ด้วยกระบวนการและระเบียบทุนนิยมแบบอเมริกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายในการก่อร่างสร้างตัวด้วยฐานธุรกิจหรือเป็นเจ้าของธุรกิจเอง แม้ในช่วงหลังรัฐบาลและคองเกรสจะตระหนักถึงการผ่อนปรนเงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งด้านข้อกฎหมายทั่วไปและในส่วนของสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อมก็ตาม แต่พิธีกรรมด้านธุรกิจ ในกรอบใหญ่ดั้งเดิมยังคงมีอยู่และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ

ในสายตาของทีปาร์ตี้ ย่อมสนับสนุนความพยายามในการผลักดันแผนหรือนโยบาย ให้คนงานกลับเข้าไปมีงานทำในองค์กรขนาดใหญ่อย่างเดิม อย่างเช่น บริษัทรถยนต์ใหญ่ของอเมริกัน ซึ่งถึงกับล้มละลาย จนรัฐบาลต้องเข้าไปอุ้มเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา แม้แต่สถาบันการเงินขนาดยักษ์ก็เช่นเดียวกัน รวมถึงบรรษัทอเมริกันที่ดำเนินธุรกิจข้ามประเทศ  ที่กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆทั่วโลก 

ด้วยฐานประชากรราวกว่า 300 ล้านคนในปัจจุบัน และเป็นประเทศผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด รัฐบาลอเมริกันและแม้แต่ทีปาร์ตี้เอง ใช่ว่าจะไม่รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ในการนำมาใช้ต่อรองในประเด็นเศรษฐกิจกับประเทศคู่สำคัญๆอย่างจีน หรือแม้กระทั่งประเทศคู่ค้าเล็กๆอย่างไทย กับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในเมื่อข้อดีส่วนหนึ่งสำหรับอเมริกา ก็คือ ยูเอสดอลลาร์ ได้กลายเป็นเงินตระกูลหลักของโลก โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมหลัก คือ ธนาคารกลางแห่งอเมริกาหรือเฟด(Federal Reserve) อิทธิพลในการเพิ่มแรงกดดันหรือคลายทางการเงิน ซึ่งเชื่อมต่อไปถึงภาคเศรษฐกิจต่างๆ  ก็ยังอยู่ในมือฝ่ายอเมริกัน  เสมือนคนคุมบังเหียนทางการเงินของโลก

แม้ว่าหลายประเทศที่มีขนาดประชากรมากเช่นกัน อย่างจีนกับอินเดีย ได้พัฒนาระบบการเงินที่เชื่อมไปถึงระบบการค้า ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่อเมริกาก็ยังเป็นแดนแห่งนวัตกรรมด้านการเงินอยู่

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของจุดยืนของอเมริกันกลุ่มทีปาร์ตี้แนวอนุรักษ์ฯ ให้รัฐบาลอเมริกันเดินเกมทางการเงินและการค้าอย่างเข้มงวดมากขึ้น  เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจอเมริกันเอง  ผลที่ได้อาจทำให้ธุรกิจส่วนหนึ่งดีขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งอาจแย่ลง

ด้วยเหตุที่อเมริกาถูกทำให้เป็นตลาดรองด้านการเงิน การลงทุน และเป็นประเทศวางแผนด้านการตลาด ขณะที่ภาคการผลิตในประเทศเองกระเทือนอย่างหนักจากผลของวิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์เมื่อปี 2007-2008 ทั้งยังคงส่งผลมาถึงตอนนี้

ในด้านต่างประเทศ แม้ในสายตาของคนกลุ่มทีปาร์ตี้ จะพุ่งเป้าไปที่จีน ซึ่งเป็นคู่แข่งหลายๆด้านของอเมริกา แต่ไทยและอีกหลายๆประเทศ ในภูมิภาคเอเชียก็ได้รับความสนใจในฐานะประเทศที่อยู่กึ่งกลาง(ระหว่างจีนกับอเมริกา) เช่นกัน  เป็นแต่อาจมีท่าทีเชิงลบ หากว่าคนไทยไม่เกื้อหนุนต่อประโยชน์ของฝ่ายอเมริกันบ้าง

เหมือนที่คนไทยในอเมริกาถูกมองจากคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งว่า อยู่อย่างแบ่งแยก ไม่กลมกลืนกับคนอเมริกัน ซึ่งหมายถึงคนไทยไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับกิจกรรมส่วนรวม เช่น กิจกรรมการกุศลเพื่อช่วยเหลือชุมชนอเมริกันที่เดือดร้อนจากภัพิบัติ เป็นต้น พูดง่ายๆ คือ เราแทบไม่เอาเรื่องพวกนี้เลย แต่กลับมุ่งสนองต่อความมีหน้ามีตา ที่เมืองไทยด้วยการหาเงินเพื่อการกุศลจากอเมริกาส่งไปบริจาค

โดยเฉพาะในยามที่อเมริกันด้วยกันเองต้องการความช่วยเหลือ

เป็นส่วนหนึ่งความคิดของคนอเมริกันกลุ่มนี้ จากการที่ผมได้คุยและติดต่อกับพวกเขา มานานพอสมควร ทัศนะนี้สอดคล้องกับบางกลุ่มในทีปาร์ตี้ ที่ต่อต้านคนต่างด้าวในอเมริกา แม้จะไม่เป็นไปอย่างสุดเหวี่ยงก็ตาม

ตามทัศนะที่ว่า “คนต่างด้าว(รวมถึงคนไทยและบริษัทธุรกิจคนไทย)อยู่ทำมาหากินในอเมริกา แต่ไม่เกื้อกูลต่อประโยชน์ของอเมริกัน เชิงส่วนรวมใดๆเลย

ดูเหมือนคนญี่ปุ่นและบริษัทญี่ปุ่นใหญ่ๆ ที่มาทำกินในอเมริกา  จะได้รับการชมเชยจากคนกลุ่มนี้ในการปรับวิถีธุรกิจให้เกื้อกูลต่อประโยชน์ส่วนรวมของคนอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการทำธุรกิจ เช่น การจ้างแรงงานอเมริกัน หรือแม้การช่วยเหลือในด้านการกุศล

เรื่องนี้ความจริง ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ไปไกลกว่าไทยมาก ในการวางระบบธุรกิจให้เกื้อกูลต่ออเมริกันเจ้าของประเทศ จนทำให้คนอเมริกัน รวมทั้งนักการเมืองอเมริกัน ให้ความสนใจเชิงบวก ซึ่งจะได้ผลดีในแง่การกำหนดท่าทีด้านนโยบายต่างๆของกลุ่มการเมืองต่างๆในอเมริกาต่อประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะในภาคการลงทุน

ในแง่ของความมั่นคงในภูมิภาค เท่าที่ติดตามความเห็นสส.และสว.หลายคนของพรรครีพับลิกัน พวกเขาต้องการเพิ่มงบด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น ยังเอาแน่ไม่ได้ ขึ้นกับผลประโยชน์ของอเมริกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก สำหรับบทบาทสองด้าน(หน้า)ของอเมริกัน  อเมริกันทีปาร์ตี้หลายแต่ละกลุ่มเองก็ยังเห็นไม่สอดคล้องต้องกัน…

ใส่ความเห็น

ทีปาร์ตี้ : ผลกระทบกับคนไทย(1)

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

มีเรื่องที่จะพูดถึงอยู่ 2-3 เรื่อง คิดว่า ไม่น่าจะจบตอนเดียวครับ อันดับแรกเลยที่ถามกันเข้ามามาก ถึงผลกระทบต่อคนไทยและประเทศไทยกรณีหากบรรดานักการเมืองอเมริกัน ที่สนับสนุนโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมเข้มข้นอเมริกันขวาจัด หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มทีปาร์ตี้” ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาจำนวนพอสมควร  ผ่านตัวแทนพรรค คือ รีพับลิกัน จะเกิดอะไรขึ้น? ซึ่งต้องขอเรียนว่า กระทบต่อการดำเนินของคนไทยในอเมริกาและคนไทยในประเทศไทยอย่างแน่นอน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

                ผมอธิบายผ่านคอลัมน์นี้ในสยามรัฐมาพอสมควร  เอาเป็นว่าภาพรวมของความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม “ทีปาร์ตี้สมัยใหม่” (สมัยแรก คือ ยุคอาณานิคม เมื่อคราวอเมริกายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่) ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2009  จากบรรดาผู้สนับสนุนแคนดิเดท(ว่าที่)ประธานาธิบดีรอน พอล(Ron Paul)  แห่งพรรครีพับลิกัน(GOP)  และแม้ถึงตอนนี้รอน พอลเองก็ยังทำงานเป็นหนึ่งแกนนำของกลุ่มทีปาร์ตี้

รอน พอล

                 เหลือเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้ง(2 พ.ย.) อีกราว 2 สัปดาห์ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มทีปาร์ตี้ ยิ่งเข้มข้น โดยเฉพาะที่รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หนึ่งในแกนนำที่เคลื่อนไหวดังกล่าว ได้แก่ ลู ดอบบ์ส (Lou Dobbs) อดีตพีธีกรของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น คำปราศรัยของดอบบ์สหนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งข้อรังเกียจสีผิว โดยเฉพาะการกล่าวเหน็บแนมกลุ่มคนในอเมริกาที่ใช้ภาษาสเปน อันหมายถึงกลุ่มละติโนที่ส่วนใหญ่มาจากเม็กซิโกและประเทศแถบอเมริกากลาง(ลาตินอเมริกา) นี่คือหนึ่งในหลายประเด็นที่มีการรณรงค์โจมตีโดยกลุ่มทีปาร์ตี้

                รายละเอียดต่างๆคงปรากฎเป็นข่าวไปแล้ว แต่ประเด็นอยู่ที่ หากตัวแทน ซึ่งหมายถึงสส.(House of representative) และวุฒิสมาชิก-สว.(Senator) ของคนอเมริกันกลุ่มนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้การทำงานของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ในการออกกฎหมายตามนโยบายที่เคยประกาศไว้ยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายปลดปล่อยโรบินฮู้ดหรือชนต่างด้าวจำนวนมากที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย ที่เวลานี้มีกฎหมายต่างด้าว เรียกกันว่า Comprehensive Immigration Act หรือกฎหมายปฏิรูประบบต่างด้าว ค้างคาอยู่ตั้งสมัยของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่เคยพิจารณากันในปี 2006 แต่ไม่ผ่าน

                ในช่วงนั้นเม็กซิโกมีประธานาธิบดี  วิเซนเต้ ฟอกซ์(Vicente Fox) เป็นผู้นำ เขาเดินทางมาหารือร่วมผลักดันกับบุชหลายครั้ง เพราะเกี่ยวเนื่องถึงความมั่นคงของ 2 ประเทศที่มีพรมแดนติดกันด้วย

ประเด็นการรณรงค์เพื่อต่อต้านชนเชื้อสายต่างด้าวที่อยู่อย่างผิดกฎหมายในอเมริกา (คาดว่ามีอยู่ราวๆ12-13 ล้านคน)ของกลุ่มทีปาร์ตี้ เวลานี้เป็นไปถึงแม้กระทั่งการกล่าวล้อเลียนคนที่พูดภาษาสเปน คนกลุ่มนี้ต้องการให้ทุกคนเชื้อชาติในอเมริกาใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวในการติดต่อสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับทางการ

ขณะที่เวลานี้ในอเมริกามีชนกลุ่มน้อยที่ใช้ภาษาของตัวเองแตกต่างกัน รวมถึงคนไทยเราด้วย ซึ่งหากเป็นในเขตที่มีคนไทยอาศัยอยู่จำนวนมาก อย่างเช่นรัฐแคลิฟอร์เนีย อาจแทบไม่ต้องสื่อสารผ่านภาษาอังกฤษเลยก็เป็นได้  เรื่องนี้ถูกตำหนิอย่างมากจากสมาชิกของทีปาร์ตี้ ที่ต้องการให้อเมริกาเป็นเอกภาพ แม้แต่ในด้านภาษา ซึ่งหมายถึงทุกคนต้องเรียนรู้วัฒนธรรมอเมริกัน ไม่ใช่(สักแต่)อยู่อเมริกา แต่ยังทำตัวเป็นไทยทุกกระเบียดนิ้ว ไม่ยอมเรียนรู้ระบบวิถีอเมริกัน

                ประเด็นการโจมตีด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม(ภาษาจัดเป็นหนึ่งในเรื่องวัฒนธรรม) ถูกวิจารณ์ในแง่ของการแบ่งแยกทางด้านสีผิว(Racial) แต่ก็มีอเมริกันจำนวนมากที่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาของทีปาร์ตี้ที่ว่า ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเวลานี้ ไม่ยอมเรียนรู้ระบบวิถีอเมริกัน ทำให้รัฐบาลต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรต่างๆ ในการจัดสรรไปยังเขตหรือชุมชนของเชื้อสายต่างด้าวที่มีอยู่หลากหลายเหล่านี้ สร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้เกิดขึ้น รวมถึงความหวาดระแวงกรณีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนผิวขาว

                การโจมตีในประเด็นเชื้อชาติ อธิบายให้เห็นถึงความน่ากลัว ผ่านหลายสื่อของฝ่ายอนุรักษ์ฯ ทำให้อเมริกันจำนวนมากคล้อยตาม มิหนำซ้ำเป้าโจมตียังพุ่งตรงไปยังตัวของโอบามา ซึ่งเป็นผู้นำสีผิว(อย่างเลือกเกิดไม่ได้) พร้อมกับการวิจารณ์นโยบายส่งเสริมอิสรภาพให้กับชนต่างด้าวที่อยู่อย่างผิดกฎหมายให้กลับมาอยู่อย่างถูกกฎหมาย เสมือนการนิรโทษกรรมอีกครั้ง(ครั้งแรกดำเนินการเมื่อสมัยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ รีแกน) ว่าเป็นนโยบายเตรียมการมาก่อนร่วมกับพลพรรคของโอบามา พาสังคมอเมริกันก้าวสู่สังคมนิยมรูปแบบรัฐสวัสดิการ คือ ขยายขนาดของรัฐให้ใหญ่ขึ้น

                การโปรโมท หรือรณรงค์ของกลุ่มทีปาร์ตี้ ให้อเมริกันหันกลับไปอ่านหรือทบทวนวัตถุประสงค์ของ“รัฐธรรมนูญดั้งเดิม” เมื่อคราวก่อตั้งประเทศ ที่เน้นเรื่องหลักการเชิดชูเสรีภาพ ทั้งเสรีทุนและเสรีความเป็นอยู่ อีกนัยหนึ่งก็คือหลักการที่ว่า รัฐต้องควบคุม(แทรกแซง)ให้น้อยที่สุด จึงถูกจุดขึ้นจากคนกลุ่มนี้ และได้การตอบสนองในเชิงเห็นด้วยจากอเมริกันจำนวนไม่น้อย

                ต่างด้าวผิดกฎหมาย ในอเมริกาเวลานี้ จึงโดนกล่าวหาจากทีปาร์ตี้ว่า เป็นต้นตอของสารพัดปัญหา เช่น ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจล่าช้า แย่งงานของคนอเมริกัน ปัญหาสังคม อาชญากรรมและความมั่นคง คนกลุ่มนี้ต้องการขจัดต่างด้าวเหล่านี้ออกไปจากประเทศ โดยมาตรการเข้มงวดด้านกฎหมาย

                จึงพอเพียงที่จะทำนายได้ หากผลการเลือกตั้งในเดือนหน้าโดยรวมทั้งประเทศออกมาแล้วปรากฎว่า พรรคเดโมแครตพ่ายแพ้แก่พรรครีพับลิกัน คือ ได้นักการเมืองเข้าสภาน้อยกว่าฝ่ายอนุรักษ์ฯแล้ว ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรกับคนต่างด้าวเหล่านี้

                แนวโน้มที่สำคัญ คือ ผลโพลล์สำรวจของสำนักต่างๆ ออกมาว่า นักการเมืองสังกัดเดโมแครตมีแนวโน้มที่จะได้คะแนนน้อยกว่านักการเมืองข้างรีพับลิกัน จากกระแสคนอเมริกันเบื่อโอบามา

                หากเป็นตามนี้ แทบไม่ต้องสงสัยว่า แรงงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งจะโดนบีบให้ออกนอกประเทศ หรือเดินทางกลับบ้าน แต่หากจะอยู่ต่อก็จะอยู่กันอย่างลำบากมากขึ้น เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอริโซน่า หลังจากที่รัฐแห่งนี้ออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ตรวจสอบสถานะของคนต่างด้าว จนเกิดกรณีขัดแย้งกับรัฐบาล(กลาง)โอบามาอยู่ในเวลานี้

                อย่างไรก็ตาม ข้อมูลอีกด้านที่อเมริกันจำนวนมาก โดยเฉพาะฝ่ายเจ้าของทุนหรือเจ้าของกิจการทราบกันดีก็คือ พวกเขาต่างทราบถึงข้อดีของการใช้แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่มีเอกสาร(Undocument workers)  ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแรงงานอเมริกันในระบบทั่วไป อเมริกันเองก็ไม่ค่อยชอบทำกันแล้ว นั่นคืองานใช้แรงที่แทบไม่ต้องอาศัยทักษะ อย่าง งานฟาร์ม งานโรงงาน งานร้านอาหาร เป็นต้น

                 การออกฎหมายเพิ่มบทลงโทษผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมาย ทำให้ต้นทุนการผลิตในภาคเศรษฐกิจต่างๆของอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันก็ยากขึ้นไปด้วย เพียงแต่ในด้านดี ทำให้การละเมิดสิทธิ์ด้านแรงงานลดน้อยลง

                ลึกๆแล้ว ความเห็นของสมาชิกกลุ่มทีปาร์ตี้ส่วนหนึ่ง ไม่ต้องการกดดันให้แรงงานเถื่อนเหล่านี้ออกนอกประเทศไปทั้งหมด ให้แค่กันไว้ใช้งานด้วยอัตราค่าแรงที่ถูกกว่าแรงอเมริกันโดยทั่วไป ส่วน “กระบวนการภายนอก” อย่างเช่น การออกกฎหมายเพิ่มความเข้มงวดกับต่างด้าวก็ว่ากันไป ซึ่งประเด็นนี้ ได้ถูกโต้แย้งจากฝ่ายเดโมแครต(บางกลุ่ม)และเครือข่ายชนกลุ่มน้อยในอเมริกาอย่างมาก ในคราวการรณรงค์ให้ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบต่างด้าว(Immigration Reform)ทุกๆครั้ง ซึ่งแคมเปญที่ว่าก็ล้มเหลวลงทุกครั้งเช่นกัน เพราะพวก “เดโมแครตรสอดไส้” ไม่เอาด้วย

                “เดโมแครตสอดไส้” หมายถึง นักการมืองของพรรคเดโมแครต ที่เอียงไปข้างผู้ประกอบการหรือกลุ่มทุน(ขอเรียกว่านายทุน)ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พวกนี้ลึกๆแล้วต้องการให้เก็บแรงงานราคาถูกไว้ให้นายทุนอเมริกันใช้

                น่าสนใจว่า แรงงานเถื่อนจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งแรงงานไทยใต้ดินจำนวนมากจะอยู่กันอย่างไรต่อไปจากกระแสต่อด้านที่รุนแรงมากขึ้นนี้?

                ไม่ได้มองจากมุมการอ่านและแหล่งข้อมูลจากสื่อต่างๆนะครับ  แต่พวกเราคนไทยที่นี่ เริ่มเห็นผลกระทบจากระบบการดำรงชีวิตประจำวัน ระบบการทำงานกันมากขึ้นแล้ว

                ความแรงของตัวแทนของคนกลุ่มทีปาร์ตี้คราวนี้ หากเป็นไปตามคาด คือ พรรครีพับลิกันได้เสียงเข้าสภามาก ย่อมกระทบถึงนโยบายของอเมริกาต่อประเทศต่างๆในภูมิภาค รวมทั้งไทยด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ กำลังสนับสนุนงบประมาณและกำลังคน ด้านความมั่นคง ย่อมจะมีมากขึ้น

                เวลานี้ ถึงขนาดอเมริกันกลุ่มนี้และนักการเมืองบางคน เปิดประเด็น แสดงอาการโกรธเกรี้ยวไม่พอใจรัฐบาลไทยออกนอกหน้า ฐานยึกยักไม่ยอมส่งมอบตัวนาย วิกเตอร์ บูท มาดำเนินคดีในอเมริกา..

ใส่ความเห็น

เรื่องของสื่อไทยในอเมริกา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

นอกจากสื่อที่ออกเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ในอเมริกายังมีสื่อหลากหลายภาษารวมอยู่ด้วย เนื่องจากประชากรหลายเชื้อชาติจากทุกมุมโลก กระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง มารวมตัวกันอยู่ที่นี่

เรียกคนหลากเผ่าพันธุ์ในอเมริกาว่า ชนกลุ่มน้อย (Minority Group)  โดยสื่อเหล่านี้มุ่งตอบสนองต่อการรับรู้ข่าวสารของคนในแต่ละชุมชน มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือสื่อที่หาอ่าน หาชมได้ง่ายขึ้นและสามารถรับได้ทั่วโลกคือ สื่อประเภทเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้โลกปัจจุบันแคบลงอย่างมาก

                แทบไม่มีความแตกต่างระหว่างการรับรู้ข่าวสารจากประเทศแม่ของชนกลุ่มน้อยต่างๆในอเมริกา ในเมื่อมีสารพัดช่องทางแห่งการรับสื่อทั้งจากในและต่างประเทศ ที่ต่างก็พยายามที่จะให้สื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและผลประโยชน์ของเจ้าของกิจการสื่อเอง

                ในอเมริกามีสื่อนับพัน และในจำนวนหลากหลายภาษานั้น ก็ได้ตอบสนองความต้องการบริโภคข่าวสารด้วยการแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน ซึ่งหลายครั้งหรือเป็นส่วนใหญ่เสียด้วยซ้ำข่าวสารได้สะท้อนกลับไปยังรัฐบาลหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับประเทศแม่นั้นๆ  อย่างเช่น สื่อของคนเวียตนาม ก็จะสะท้อนความเคลื่อนไหวของชุมชนเวียตนามทั้งในอเมริกาและคนเวียตนามที่เวียตนาม

                แน่นอน ย่อมทราบกันดีว่า สื่อในทุกประเภท จัดอยู่ในหมวดการค้า หรือเป็นธุรกิจแขนงหนึ่ง เพราะฉะนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่สื่อจะตอบสนองผลประโยชน์ของเจ้าของสื่อไม่มากก็น้อย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

                แต่ในอเมริกา น่าสนใจว่า สื่อได้เสนอความเป็นไป ซึ่งเป็น “ข้อเท็จจริง”ที่เกิดขึ้นมากน้อยขนาดไหน??

                 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าว สำหรับชนกลุ่มน้อย บางครั้งก็ขมขื่น

                มีความพยายามจากหลายเจ้า เพื่อส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจากแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นประเทศแม่ แต่ก็ขาดความลุ่มลึก ปัญหาในระบบหรือโครงสร้างของชุมชนในอเมริกายังไม่ได้ถูกนำเสนออย่างแท้จริง เหมือนเกาไม่ถูกที่คัน

                ดังกรณี หลายครั้งที่คนผลิตข่าวที่ถูกส่งไปจากเมืองไทยเสนอข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง!! 

หลายชุมชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในอเมริกา ถึงขนาดรัฐบาลของประเทศนั้นๆได้ออกมาสนับสนุนการดำเนินงานของสื่อทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพื่อผลประโยชน์ และการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศนั้นๆ เช่นรัฐบาลของจีน และเวียตนามเป็นต้น

เหมือนช่วงหนึ่ง ที่รัฐบาลฮานอย เคยสนับสนุนหนังสือพิมพ์ Viet  Mercury รายสัปดาห์ ฉบับภาษาเวียตนาม โดยที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก่อตั้งโดยกลุ่มบริษัทสิ่งพิมพ์ “San Jose Mercury News” ที่เคยเป็นบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในเขตซานฟรานซิสโกและเบย์แอเรีย แคลิฟอร์เนียภาคเหนือ

เป็นความจริงที่ว่า การเข้าใจ และเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นประเทศ ไม่มีใครเทียบเท่าเจ้าของชุมชนที่อยู่ประจำหรือเจ้าของประเทศนั้นๆ ดังนั้น สื่อของชนแต่ละเชื้อชาติก็จะคงบทบาทสำคัญในแต่ละเชื้อชาติ แต่ละภาษา

จะให้สื่ออเมริกันมาเข้าใจ วัฒนธรรมไทยแบบทะลุปรุโปร่งย่อมเป็นไปไม่ได้

แต่สิ่งที่ควรรับทราบกันไว้ก็คือ คนอเมริกันจำนวนมาก ในอเมริกา ยังไม่รู้จักประเทศไทย

                ขณะเดียวกันวิธีการนำเสนอข่าวในอเมริกาก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะอเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่ ไม่บ่อยครั้งนักที่ข่าวสารจากต่างประเทศจะถูกนำขึ้นจอหรือหน้าหนังสือพิมพ์ ยกเว้นเหตุการณ์ในต่างประเทศที่พัวพันกับผลประโยชน์ของอเมริกาโดยตรง ซึ่งต้องเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ ข่าวระดับภูมิภาคที่สะเทือนขวัญ  หรือข่าวใหญ่จริงๆ เพราะลำพังข่าว และข้อมูลในอเมริกาของแต่ละรัฐก็มหาศาลอยู่แล้ว

                เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในปัจจุบัน เอื้อให้การผลิตสื่อเป็นไปอย่างครอบคลุม และกว้างขวาง กว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต

หนังสือพิมพ์ฉบับเดียว ใช้หัว(ชื่อ)เดียวกันในเวลานี้ สามารถออกในหลายส่วนบรรณาธิการ (Edition)  ของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆทั้งหลาย ข่าวสารที่นำขึ้นในหน้าหนึ่ง ของแต่ละ Edition ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญของบรรณาธิการของแต่ละท้องถิ่น

                ดังตัวอย่าง นิวยอร์คไทม์  ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์จากนิวยอร์ค แต่มีอีก Edition  ในรัฐฟากฝั่งตะวันตกอีกด้วย ครอบคลุมหลายรัฐที่อยูด้านมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น แคลิฟอร์เนีย เนวาดา วอชิงตัน ฯลฯ ข่าวนำหรือบทบรรณาธิการก็ไม่เหมือนกับนิวยอร์คไทม์ที่ออกในนิวยอร์ค

                สื่อสิ่งพิมพ์ของหลายประเทศอย่างเช่น จีน เกาหลีใต้  ที่ให้ความสำคัญกับชุมชน(ขนาดใหญ่)ของพวกเขาในอเมริกาก็จัดระบบการส่งข่าวสารในแบบเดียวกันนี้ คือ ผ่านระบบสื่อสารสองทางจากประเทศแม่และจากชุมชนของพวกเขาที่อเมริกา โดยการยิงสัญญาณการพิมพ์ผ่านระบบดาวเทียม

                ในส่วนผู้ที่ทำงานด้านข่าว และงานด้านเทคนิคก็เป็นไปในลักษณะมืออาชีพ

                มองกลับมาที่ สื่อไทยของชุมชนไทยในอเมริกา ยังไปไม่ถึงไหนนัก แม้ขณะนี้จำนวนคนไทยทั้งในและนอกระบบจะมีจำนวนหลายแสนคนหรืออาจเป็นล้านคนแล้วก็ตาม

                ความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของสื่อเป็นสิ่งชี้ อนาคตของชุมชนนั้นๆ อาการเป็นปฏิภาคต่อกันระหว่างสื่อกับสื่อ หรือสื่อกับคนของรัฐบาลในชุมชนไทย ที่เป็นในลักษณะปัจเจกเกิดขึ้นบ่อยๆในอเมริกา นัยยาการแห่งความไม่สร้างสรร สามัคคีมีให้เห็นบ่อยครั้ง

                หมายถึงสื่อยังไม่สะท้อนข้อประเด็นสาธารณะอย่างพียงพอ  ที่สำคัญ คือการขาดแคลนมืออาชีพที่เข้ามาจัดการด้านนี้ ทำให้สื่อในอเมริกาไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนชุมชนไทย นำเสนอปัญหา หรือชี้แนะทั้งในส่วนชุมชนภายใน ตลอดถึงการส่งสาส์นถึงคนไทย และรัฐบาลไทย  ตลอดถึงฝ่ายอเมริกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

                ขณะที่ชุมชนของชาติอื่น อย่างเช่น เกาหลี จีน เวียตนาม ฟิลิปปินส์ วิวัฒน์ไปไกลแล้ว

                โดยที่บรรดาชาติเหล่านี้ตระหนักว่า อเมริกาย่อมจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลอันหาประมาณค่ามิได้หากรู้จักนำมาใช้

            เหมือนภาพที่ตัวแทนสื่อจากหลายประเทศกลายเป็นตัวแทนที่ตั้งคำถามในประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเทศนั้นๆ พวกเขาอยู่ประจำหรือสามารถเดินเข้าออกในทำเนียบขาวในฐานะสื่อ

            สื่อในอเมริกา โดยเฉพาะสื่อทีวีพยายามที่จะส่งผ่านถึงความหลากหลาย ด้วยการใช้นักข่าวหน้าตาไม่ออกฝรั่ง เพื่อสะท้อนถึงความทัดเทียมกันของตัวแทนของแต่ละชุมชนในอเมริกา ดังเช่น ชุมชนเอเชีย ชุมชนละติน หรือแอฟริกันอเมริกัน

             ขณะที่ภาพของชุมชนไทยในอเมริกา โดยเฉพาะชุมชนใหญ่ในนครลอสแองเจเลิสและอีกหลายเมือง ยังคงถอดแบบมาจากเมืองไทยแทบไม่ผิดเพี้ยน  มีสี มีกลุ่ม เหมือนกัน ยิ่งในตอนนี้ด้วยแล้ว

สื่อท้องถิ่นในชุมชนไทย ยังใส่ใจเรื่องลิขสิทธิ์น้อย ทั้งที่อยู่ในประเทศที่เคี่ยวกรำต่อประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุดในโลกอย่างอเมริกา….

ใส่ความเห็น

เถียงสู้ฟัดในยามศก.วิกฤติ

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: piralv@yahoo.com

นายบารัก โอบามา  เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 ของอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ดุเหมือนเขากำลังพยายามมุ่งแก้ปัญหาในประเด็นเศรษฐกิจอย่างหนัก

                กับระบบและความเป็นไปในสังคมอเมริกันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนแปลง โครงสร้างอะไรหลายอย่างที่ทีมเศรษฐกิจของนายโอบามากำลังพยายามอยู่  โดยเฉพาะวอลสรีท แหล่งหมุนเวียนทุนที่สำคัญของอเมริกาและของโลก หลายกลุ่มเต็มไปด้วยทัศนะที่ขัดแย้งกับนายโอบามา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนยิวหรือไม่ก็ตาม

                ขณะที่ความเป็นอยู่ของคนอเมริกันเวลานี้ ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ เพราะอาศัยหลักเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอย่างสูง รัฐแคลิฟอร์เนียร์เอง อยู่ในสถานการณ์ใกล้ล้มละลาย

                บางเมืองอย่าง แวลเลโฮ (City of Vallejo) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเดียวกันนี้ ทำล้มละลายไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อไม่นานมานี้

                มนต์ขลังของยู.เอส.ดอลลาร์ เริ่มจางหาย ขณะที่เงินตราสกุลอื่น เริ่มมีบทบาทที่เหนือกว่า หากแต่อเมริกันยังเชื่อ ในขนาดความใหญ่ของกำลังการบริโภคของคนในประเทศ

                แต่แล้วก็มีข่าวอะไรบางอย่างแพลมออกมา โดยเฉพาะ “ทอง” ที่จะถูกใช้เป็นกลไกช่วยด้านเสริมสร้างสภาพคล่องในตลาดเงินอเมริกา

                การเป็นอยู่ที่อเมริกาก็เหมือนที่อื่นใดในโลก คือ ต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะต้องกิน ต้องใช้ทุกวัน และนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเหล่านี้แล้ว ยังมีรายจ่ายอื่นๆที่มีเพิ่มขึ้นมาตามความจำเป็นร่วมสมัย อย่างค่าผ่านรถ ผ่อนบ้าน หรือผ่อนสินค้าอย่างอื่นแล้วก็นำมาซึ่งรายการที่จะต้องจ่ายทุกเดือน เป็นประจำที่เรามักคุ้นและเรียกมันว่า “บิลล์”นั่นเอง

                ความจริงผมว่าอเมริกานั่นแหละเป็นต้นตำรับของระบบการมีบิลล์ ต่อมาเรียกชื่อให้สวยหรูว่า เครดิต คือ หากคุณมีเครดิต คุณก็จะดูดี

                ความหมายของคำว่า “เครดิต”ในทางการเงินหรือในระบบเศรษฐกิจ หมายถึงคุณยืมเงินคนอื่น หรือคนอื่นให้คุณยืมเงินไปใช้จ่ายก่อน และคุณก็ต้องจ่ายเงินคืนทีหลัง หากคุณจ่ายคืนครบตามจำนวนและตรงเวลา นั่นแหละแสดงว่าคุณมีเครดิต

ระบบดังกล่าวต่อมาพัฒนาเป็นระบบเครดิตทางการเงินเพียวๆ กลายเป็นบัตรพลาสติก หรือเครดิตการ์ด และอีกส่วนที่ไปสัมพันธ์กับธนาคารหรือสถาบันการเงินประเภทอื่นโดยตรง เรียกกันว่า เงินกู้ นี่ก็อยู่ในระบบเครดิตเช่นเดียวกัน

เมื่อใครก็ตามไปยุ่งกับระบบเครดิตเข้าก็เกิดมีภาระที่เรียกว่า หนี้ เกิดขึ้น ยุ่งมากก็หนี้มาก ยุ่งน้อยก็หนี้น้อยหน่อย

ในอเมริกาเรื่องของระบบเครดิตนั้น เป็นลักษณะบังคับ ถึงขนาดว่า จะอยู่โดยไม่มีเครดิตไม่ได้ ไม่เช่นนั้นการใช้ชีวิตประจำวันอาจต้องยุ่งยาก ต้องรบกวนเพื่อน หรือญาติใกล้เคียงจนก่อให้เกิดความรำคาญกับคนอื่นได้  ยกเว้นคนที่ต้องการอยู่นอกระบบจริงๆ ซึ่งจะไม่ค่อยได้เห็นคนพวกนี้ ก็เพราะอย่างว่า คนส่วนใหญ่ต้องอยู่ กินต้องใช้ ต้องเดินทางไปโน่นไปนี่  ระบบบังคับให้พวกเขาต้องใช้เครดิต และตกอยู่ในระบบเครดิตแทบทุกประเภท

ถึงมีเงินสดเต็มกระเป๋าก็ทำธุรกิจอะไรไม่ได้มากในอเมริกา  เพราะธุรกิจเหล่านั้นไม่ยอมดีลกับคนไม่มีเครดิต ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์แบ็คกราวด์ด้านการเงินได้

อย่างเช่นการเช่ารถ หากว่าคุณไม่มีบัตรเครดิต แม้จะเอาเงินสดติดตัวไปเต็มกระเป๋า หรือมีเงินเช่ารถก็ตาม แต่บริษัทรถเช่าก็จะไม่ให้รถเช่ากับคุณ บัตรเครดิตจึงมีความจำเป็นที่ทุกคนจะต้องมีไว้อย่างน้อยก็สักหนึ่งใบติดตัวไว้กันเหนียวเพื่อความอุ่นใจ 

                คนอเมริกันมีบิลล์กันเกือบทุกคน ในแต่ละเดือนจ่ายกันหัวโต บางคนเครียดเรื่องบิลล์มากจนป่วยไข้ไม่สบายก็มี ทั้งบิลล์ตามปกติ และบิลล์ทวงหนี้ที่ค้างชำระ บางบ้านในตู้รับจดหมายแทบทุกวันเต็มไปด้วยบิลล์ปึกใหญ่ จนแทบไม่อยากเปิดตู้รับ ทั้งบิลล์เครดิตการ์ด บิลล์โทรศัพท์ บิลล์ค่ารถ บิลล์ค่าใช้จ่ายความจำเป็นพื้นฐานอย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊สหุงต้มเต็มไปหมด

                เมื่อมีบิลล์จำนวนมากแบบนี้ ทำให้บางคนไม่ค่อยได้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขในบิลล์ที่ส่งมาแต่ละครั้ง ซึ่งมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้เหมือนกัน บางที่บริษัทที่ส่งบิลล์เหล่านั้นก็ถือโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา

                ในแง่ของเจตนานั้นเป็นที่เข้าใจกัน แต่ที่ไม่เจตนาก็มี อาจเกิดจากความผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเวลาเปิดซองทุกครั้ง  ผู้มีหน้าที่จ่ายบิลล์ต้องใส่ใจรายละเอียดตัวเลข หากพบว่าไม่ปกติควรโทรสอบถามบริษัทที่ส่งบิลล์เหล่านั้น ให้ชัดเจนว่าตัวเลขมาได้อย่างไร

ฝรั่งเรียกบริษัทที่ทำบิลล์ผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่เรียกเก็บเงินเกินจำนวนจริงว่า เป็นพวกชอบ “Rip-off” เอากับลูกค้า ตัวลูกค้าเองต้องใช้ความระมัดระวังอ่านรายละเอียดในกระดาษบิลล์ทุกครั้ง

การตรวจสอบความถูกต้องของบิลล์ ก็ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีเครือข่าย สำนักงานหรือสาขาทั่วประเทศ อเมริกาเป็นประเทศใหญ่ คนโทรต้องคำนึงใคร่ครวญถึงหลายเรื่อง เช่น เวลาเปิดหรือปิดทำการของบริษัทนั้น ในแต่ละบริษัทตั้งแต่เวลาไว้ไม่เหมือนกัน

อเมริกาในส่วนแผ่นดินใหญ่ (Main Land)กำหนดเวลาไว้ไม่เหมือนกัน แบ่งออกเป็น 3 โซนเวลา บางทีโทรช่วงบ่ายสามโมงจากรัฐแคลิฟอร์เนีย  หากออฟฟิศบริษัทที่โทรถึงอยู่รัฐฟลอริดา บริษัทนั้นอาจปิดทำการไปแล้ว 

นอกจากนี้หากต้องการประหยัดค่าโทร ศัพท์ควรมองหาเบอร์ฟรี หรือเรียกกันว่า เบอร์แปดร้อย(800) ซึ่งสามารถโทรออกไปจากเบอร์บ้านที่อยู่ที่ใดก็ได้ในอเมริกา โดยผู้โทรไม่ต้องจ่ายเงิน

ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือกัน กรณีเบอร์แปดร้อยอาจไม่จำเป็น  แต่ต้องไม่ลืมว่า บริษัทใหญ่ๆในระดับประเทศที่โทรหานั้นกว่าพนักงานจะรับสายได้นั้น ส่วนใหญ่ใช้เวลารอนาน  หากใช้โทรศัพท์มือถือ  ถึงแม้โทรผ่านเบอร์แปดร้อย ก็ยังต้องถูกกินเงินอยู่ดี ดังนั้น ควรใช้โทรศัพท์โทรจากที่บ้านหรือ ใช้โทรศัพท์สาธารณะโทรจะดีกว่า

ระบบการทำงาน (Operation) ของบริษัทที่ดีลกับลูกค้าเกี่ยวกับบิลล์ หรือในเรื่องอื่นๆ ในอเมริกา เมื่อผู้โทร โทรเข้าไปสอบถามหรือเพื่อทำธุรกรรมใดๆ เสียงสนทนานั้นจะถูกบันทึกไว้ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่  ทำธุรกิจแบบไม่เห็นหน้าค่าตาของกันและกันมากขึ้น

มองในแง่กฎหมาย การบันทึกเสียงการสนทนาจัดเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอเมริกันอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาทั้งสองฝ่าย สามารถเรียกกลับมาฟังใหม่ได้ ถือว่า ยุติธรรมทั้งผู้บริโภค และเจ้าของกิจการเอง

ในปัจจุบันคนอเมริกันส่วนใหญ่นิยมทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งมีแนวโน้มว่า คนทั่วโลกจะหันมาใช้ระบบการติดต่อแบบไม่ต้องเห็นหน้าแบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อเสียเช่นเดียวกัน

การทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ มีข้อดีตรงที่ความรวดเร็วในการติดต่อ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาแทนที่จะใช้ในการเดินทางออกไปทำธุรกรรมนอกบ้าน เช่น หากเป็นลูกค้าของธนาคารก็ไม่ต้องออกไปที่สาขา โดยเฉพาะการจ่ายบิลล์แต่ละเดือน เดี๋ยวนี้สามารถหักออกจากบัญชีธนาคาร หรือสามารถเคลียร์ผ่านระบบออนไลน์ได้แทบทั้งหมด เจ้าของบัญชีสามารถบริหารจัดการบัญชีของตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเช็คยอดเงิน โอนเงิน ซื้อขายสินค้า หรือเช็คประวัติการทำธุรกรรม(Transaction) ในช่วงเวลาต่างๆ

อย่างไรก็ตามระบบออนไลน์ในอเมริกาขณะนี้มีปัญหาในเรื่องของระบบความปลอดภัย การเข้าไปขโมยเงินในธนาคารหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัญชีเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง  ซึ่งเจ้าของบัญชีเองต้องระมัดระวังในกรณีนี้ด้วย

ในรายการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ (Federal Bureau of Investigation) โดยผู้สื่อข่าววิทยุเอ็นพีอาร์ (National Public Radio-NPR)เร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนของหน่วยงานกลางของอเมริกา ได้เตือนให้ลูกค้าของสถาบันการเงิน ที่กำลังใช้ระบบการบริหารจัดการบัญชีผ่านระบบออนไลน์ให้พึงระวัง เพราะอาจไม่มีเพียงคนเดียวที่กำลังดูและจัดการกับบัญชี แต่อาจมีตาคู่ที่สองหรือคู่ที่สาม หรือมากนั้นจับจ้องอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน

เจ้าหน้าที่เอฟบีไอแนะนำในเบื้องต้นว่า ไม่ควรเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ  เพราะมีความเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลจะถูกล้วงไปใช้ประโยชน์ หรือนำไปเปลี่ยนแปลงในทางมิดีมิร้าย เมื่อไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์แล้วก็ควรปิดเครื่องทุกครั้ง

ทางการอเมริกันเองตระหนักถึงพิษภัยจากการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ถึงกับจัดตั้งแผนกงานเพิ่มขึ้นในสำนักงานเอฟบีไอเพื่อดูแลเรื่องนี้โดยตรง ทำหน้าที่สืบสวน ติดตามกวาดล้างอาชญากรรม (Computer Crimes Task Forces และ Cyber Action Teams ) ที่ดำเนินการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการอยู่เรื่อยๆ

ดังนั้น การจ่ายและสำรวจตรวจตราบิลล์ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อความถูกต้องและแน่ใจก่อนจะจ่ายเงินออกไปทุกครั้ง  เมื่อพบความไม่ถูกต้อง และสงสัยตัวเลขที่โดนชาร์จ คนที่ได้รับบิลล์ต้องโทรหาพนักงานของหน่วยงานที่ส่งบิลล์นั้นๆมา  ต้องถามให้เคลียร์ ไม่ควรปล่อยให้เรื่องผ่านไป โดยพูดแค่เพียง ใช่ หรือ “เซย์ เยส” (Say yes) เพียงอย่างเดียว

ส่วนใหญ่คนเอเชีย หรือต่างด้าวเชื้อชาติต่างๆ ในอเมริกาไม่ค่อยชอบ Say No  เมื่อมีปัญหาเรื่องบิลล์ หรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร ทั้งมักไม่ค่อยชอบถามให้เคลียร์ ปล่อยให้ผ่านไปจนกระทั่งเกิดมีปัญหาขึ้น ถึงค่อยหาคนช่วยแก้ไข ผมเจอเพื่อนคนไทยบางคน ที่ปล่อยให้ปัญหาเรื่องรัง ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขที่ยุ่งยากภายหลัง   บางปัญหาอาจต้องจ้างทนายช่วยจัดการ ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก

ในเรื่องการสอบถามนี้ ระบบอเมริกันดีอยู่อย่าง คือ ลูกค้าสามารถสอบถามข้อข้องใจเกี่ยวกับบิลล์ได้ทุกอย่าง สามารถขัดขืนที่จะจ่ายบิลล์ได้ หากเห็นว่า จำนวนเงินในบิลล์ที่ส่งมามากเกินไป หรือไม่ถูกต้อง เช่น ค่าโทรศัพท์ ที่เก็บ(ชาร์จ)เกิน  เนื่องจากผู้ใช้โทรอาจไปกดปุ่มอะไรผิดพลาดขึ้นมา โดยเฉพาะปุ่มที่โยงไปถึงระบบอินเตอร์เน็ต หรือออนไลน์  ควรต้องระวัง และต้องตรวจสอบทุกครั้ง เมื่อได้รับบิลล์จากบริษัทโทรศัพท์

การติดต่อหรือดีลกับธนาคารก็สำคัญ คนเกือบทั้งหมดเป็นลูกค้าของแบงก์ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเครดิตการ์ด หรือสถาบันการเงินรูปแบบอื่นๆ  บางคนหักบัตรเครดิต และปิดบัญชีไปนานแล้ว แต่บิลล์ยังตามมาหลอกหลอนอีก ต้องตรวจสอบให้ดี

มีบัตรเครดิตอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะปิดบัญชี หรือโยนทิ้งบัตรเครดิตที่มีอยู่ กลับเป็นเรื่องมากกว่า เพราะบริษัทบัตรเครดิตบางรายต้องการประวิงเวลาเพื่อให้ลูกค้าอยู่กับบริษัทของตนต่อ เรื่องนี้เจ้าของบัตรต้องติดตามตรวจสอบให้แน่ใจว่า บัญชีหรือบัตรของตนนั้นได้ปิด (Cancel)ไปแล้ว

หากได้รับบิลล์ไม่ว่าจะเป็นค่าอะไรก็ตาม แล้วคิดว่า จำนวนตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนกระดาษไม่ถูกต้อง อาจต้องสู้กัน ไม่ควรไปยอมบริษัทส่งบิลล์พวกนี้  ต้องซดกันจนยกสุดท้าย อเมริกาเป็นประเทศที่ต้องสู้(ในระบบ)ถึงจะได้ประโยชน์  ไม่เช่นนั้นก็จะถูกระบบเล่นงานเอาตัวไม่รอด และจะถูกเอาเปรียบตลอด

เพราะคำว่า ระบบ เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ธนาคารหนึ่งใหญ่มาก จนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร พนักงานที่รับเรื่องผ่านทางโทรศัพท์ เป็นแค่มดงานตัวเล็กๆเท่านั้น คนพวกนี้ไม่สนในลูกค้ามากนักหรอก พวกเขามีลูกค้าเป็นหมื่นเป็นแสนราย ลูกค้าเข้าคิวรอจะพูดสายเพื่อแก้ปัญหายาวเหยียด  บางทีก็พูดแค่ให้พอผ่านไปเท่านั้น ไม่ได้ตอบสนองในเชิงการปฏิบัติแต่อย่างใด  ดังนั้น จำเป็นต้องอดทน และรู้จักที่จะสู้

หลายครั้งสายที่ลูกค้ากำลังคุยกับพนักงานขององค์กรนั้นๆ ได้ถูกโอนไปโอนมาระหว่างพนักงานแผนกต่างๆไปยังหลายคน หลายแผนก บางทีก็เป็นเรื่องเกม หรือบางทีก็เป็นด้วยระเบียบของบริษัทนั้นๆ

เหนืออื่นใดคุณ(ซึ่งเป็นลุกค้า)ต้องคุยสอบถามให้ถึงที่สุด ไล่จาก พนักงานรับโทรศัพท์ ในส่วนบริหารลูกค้า (Customer Services)  เมื่อตกลงไม่ได้ และคุณเริ่มมีอารมณ์ ส่วนใหญ่สายก็จะถูกโอนไปยังแผนกงานแก้ไขปัญหาลูกค้าโดยตรง (Specialist)ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องอะไร หลังจากนั้นอาจไปถึงที่สุดที่หัวหน้าแผนก (Supervisor)  อีกครั้ง คุณต้องอดทนอย่างมาก สามารถแสดงอารมณ์ในขณะกำลังคุยได้ แต่อย่าให้ตัวคุณเองเจ็บ คือ อาจต้องพยายามที่จะเป็นนักแสดง รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ เพราะหากไปโมโหมาก   ก็จะมีผลลบกับสุขภาพของตัวคุณเอง ความดันของคุณอาจขึ้นสูง  หรือโรคหัวใจอาจกำเริบ

นั่นก็จะสามารถพิสูจน์ ได้ว่า การสู้กับ “บริษัทผู้ผลิตบิลล์” เช่น Bank of America,  Wells Fargo Bank  , Washington Mutual Bank , Citi Bank หรือกระทั่งบริษัทเครดิตการ์ดต่างๆ   เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง

ในอเมริกา ไม่มีสิ่งใดได้มาง่าย ที่สำคัญ คือ คุณไม่ได้ผิด หรือผิดนิดหน่อย คุณก็จะได้ประโยชน์ คือ สามารถประหยัดเงินไปได้โข เพราะในแต่ละปี เงินจำนวนมหาศาลที่โดนบริษัทพวกนี้ ได้ไปดื้อๆ (Rip-off) จากลูกค้า

คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกะเหรี่ยงชน(คนเชื้อสายต่างด้าว)ที่อาศัยในอเมริกามักปล่อยให้เรื่องพวกนี้ผ่านไป  ซึ่งเหมือนกับเดินหนีปัญหาอยู่เรื่อย ไม่ได้ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ต้องสู้  และรักษาสิทธิ  ภายในวงเล็บว่า “ที่ถูกต้องตามกฎหมายอเมริกัน”

การต่อสู้กับ “สถาบันหรือบริษัทผลิตบิลล์” ในอเมริกา เป็นเรื่องชั้นเชิงนิดหน่อย ผสมกับหลักจิตวิทยาบางส่วน ทั้งหมดก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวคุณและสมาชิกในครอบครัว เมื่อ(คุณคิดว่า)พวกนี้ทำไม่ถูกต้องคุณต้องสามารถด่าได้ ในอเมริกาสำหรับเรื่องนี้ ลูกค้าด่าได้ ด่าไป ไม่มีปัญหา ทั้งไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และการกลั่นแกล้ง ทุกอย่างอยู่ภายใต้การบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างลูกค้ากับพนักงานรับโทรศัพท์ เพียงแต่ต้องกล้าด่าออกไปเท่านั้น  อย่าไปยอมง่ายๆ

ใส่ความเห็น

ยังอีกไกล…ชุมชนไทยในอเมริกา???

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

ผู้เขียนขอเอาเรื่อง การมองกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบการจัดสรรผลประโยชน์ในอเมริกาเก็บไว้ก่อน ที่เมื่อคราวที่แล้วได้พูดถึงความขัดแย้งระหว่าง 2 ความคิด ระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน กรณีการส่งเสริม หรืออุดหนุนทางด้านการเงินของรัฐในประเด็นนโยบายด้านสวัสดิการ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอเมริกัน โดยเฉพาะรีพับลิกันที่ยังเชื่อปรัชญาการการแข่งขันหรือให้เอกชนมีบทบาทนำ รัฐเพียงแค่ใช้นโยบายกระตุ้น หรือชะลอ ตามที่เห็นสมควร ในสภาวะหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

                เมื่อพรรคเดโมแครต โดยเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้ง อย่างฮิลลารี คลินตัน เปิดประเด็นในเรื่อง ประกันสุขภาพ ก็ได้สะท้อนปรัชญาการมองหนทางแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันระหว่าง  2 พรรคที่ชัดเจนมากขึ้น

ฮิลลารี คลินตัน

                เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2007 ฮิลลารี คลินตัน เดินทางมาพูดเกี่ยวกับนโยบายของเธอ ที่ สปริงส์ พรีเสิร์พ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปฟัง และเห็นอะไรหลายอย่างในน้ำเสียงของซีเนเตอร์ของรัฐนิวยอร์ค  ตั้งแต่การโจมตีระบบประกันสุขภาพของอมริกาในปัจจุบัน ที่ “นายทุน” หรือบริษัทประสุขภาพเอาเปรียบพลเมืองอเมริกัน แบบมัดมือชก  การผูกขาดในด้านพลังงานที่มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอเมริกาไม่กี่เจ้า  รวมทั้งนโยบายด้านการต่างประเทศ การจ่ายเงินจ้างบริษัทเอกชนหลายแห่งในสงครามอิรัก

                ในสัปดาห์นี้มีเรื่อง “ใกล้ตัว”เข้ามา 2-3 เรื่องซึ่งน่าติดตามและจับตามองเป็นพิเศษ  ได้แก่ การมีส่วนร่วมต่อกระบวนการทางการเมืองของชุมชนไทยในอเมริกา  โดยเฉพาะในช่วงใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งถือว่า น้อยมาก เมื่อเทียบกับชุมชนต่างด้าวอื่นที่อาศัยอยู่ในอเมริกา เรื่องดังกล่าวได้มีผู้สะท้อนปัญหาให้ผู้เขียนรับทราบมานานพอสมควร ทั้งจากฟากตะวันตกอย่างรัฐแคลิฟอร์เนีย และฟากตะวันออกเขตเมืองหลวง วอชิงตัน ดีซี ในเมื่อสมาชิกสภาคองเกรสบางคนได้ศึกษาทำการวิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนต่างด้าวในอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา และปรากฎในรายงานว่า ชุนชนไทยที่อเมริกาตอบสนองต่อเรื่องนี้น้อยมาก  มีคนไม่รู้ระบบ และกระบวนการทางการเมืองอเมริกันจำนวนมาก แม้ว่าได้ตั้งรกรากที่อเมริกานานกว่า 20 ปีก็ตาม

นี้ไม่รวมถึงจำนวนตัวเลขคนไทยในอเมริกาที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ หรือรู้อย่างงูๆปลาๆถึงเกินกว่าครึ่ง

                ต่อประเด็นนี้ น่าสนใจว่า ในส่วนของฝ่ายไทยทั้งที่อเมริกา และที่เมืองไทย โดยเฉพาะหน่วยงานราชการไทยในช่วงที่ผ่านมา ไม่เคยทำการวิจัยกรณีคนไทยในอเมริกา ทั้งขณะนี้เชื่อกันน่า คนไทยเหล่านี้เป็นแหล่งรายได้ให้กับประเทศปีละจำนวนมหาศาล พวกเขาส่งเงินกลับเมืองไทย ผ่านทั้งระบบใต้ดิน บนดิน ยอดคนไทย ในอเมริกาอาจเป็นล้าน มากกว่าแรงงานต่างประเทศอื่นๆ แต่รัฐกลับให้ความสำคัญน้อยมาก

                นี่เป็นสาเหตุของความห่างเหินกับ “ระบบไทย”ของคนไทยในอเมริกา ซึ่งหมายถึงหน่วยงานราชการไทยในอเมริกาโดยส่วนหนึ่ง เพราะหน่วยงานเหล่านี้ เป็นพึ่งให้กับพวกเขาไม่ได้ หลายหน่วยงานของรัฐบาลไทย ดังเช่น สถานทูต สถานกงสุล และอีกหลายหน่วยงาน เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น หาได้มีบทบาทในเชิงการให้ความช่วยเหลือ หรือรับทราบปัญหา และสะท้อนที่แท้จริงของคนไทยในอเมริกาไม่               

บ็อบ จินเดล

กรณีศึกษาสำหรับคนไทยในอเมริกาอย่างดี ได้ประการหนึ่ง เมื่อ คองเกรสแมน บ็อบบี้ (Bobby Jindal)  แห่งพรรครีพับลิกัน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐหลุยเซียน่า เมื่อเกือบสองสัปดาห์ที่แล้ว  จินเดลชนะคู่แข่งแบบถล่มทลายในการโหวต ได้เสียงมากถึง 625,036 คะแนน  นัยยะสำคัญ คือเขาเป็นผู้ว่าการรัฐในวัยแค่ 36   และยิ่งกว่านั้น ยังเป็นเชื้อสายอินเดียน   พ่อแม่ของจินเดล  มาจากรัฐปัญจาบประเทศอินเดีย  เขายังเป็นแค่รุ่นแรก(First Generation) เท่านั้น  ทั้งยังเป็นผู้ว่าการรัฐคนแรกในประวัติศาตร์การเมืองอเมริกาที่ไม่ใช่คนผิวขาว 

 น่าสนใจว่า คนไทยที่อเมริกาได้เตรียมตัวเองและเตรียมลูกหลานในเรื่องพวกนี้อย่างไร ในเมื่อความสนใจใคร่รู้ และเข้าร่วมวิถีการเมืองอเมริกันมีน้อยมาก นี้น่าจะทบทวนและเริ่มใส่ใจกันได้บ้างแล้ว

 “เรื่องใกล้ตัว” ประการต่อมา ซึ่งเป็นข้อสะท้อนจาก “คนที่ทำงานให้สภาคองเกรส” ที่วอชิงตันดีซี คือ กรณีเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า และลุกลามไหม้บ้านเรือนหลายจุดที่แคลิฟอร์เนีย ที่ยังไม่มีท่าที แม้แต่การแสดงความเห็นใจคนอเมริกันจากหน่วยงานฝ่ายไทย  ยิ่งมิพักต้องเอ่ยถึงผู้นำชุมชนไทยที่อเมริกา

ต่อประเด็นนี้ แม้ว่าอเมริกาเป็นประเทศใหญ่  มีขนาดกำลังคน และทรัพยากรมากมาย ละสามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ในที่สุดก็จริง แต่เป็นประเด็นที่เชื่อมโยงไปถึงการเข้ามีส่วนร่วมของชุมชนไทยทีอเมริกา ขณะที่ในระดับประเทศ  สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของทั้ง  2 ประเทศที่ไม่ค่อยจริงจังและอ่อนด้อย ทำให้มองเห็นได้ถึงวิธี ประสานความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อเมริกา ในลักษณะที่ว่า หากมีปัญหาที่ต้องการร้องขอความช่วยเหลือจากอเมริกาถึงค่อยเข้าหา อย่างเช่น การพบปะในระดับผู้นำ หรือการเจรจาทางด้านการค้า การลงทุน เพราะต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบันโลกแคบมาก ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลถึงกันหมด

                สิ่งที่เห็นได้อีกประเด็นหนึ่ง  คือความเข้าใจหรือกระบวนทัศน์ ต่อประเทศอเมริกา และต่อคนไทยในอเมริกาของคนไทยในประเทศไทย เป็นไปในลักษณะสวนทางกับข้อเท็จจริง   ไม่เคยมีการศึกษา และทำความเข้าใจจากหน่วยงานใดๆในประเทศ และต่างประเทศเลย ที่สำคัญกระบวนทัศน์การมองอเมริกายังอยู่ในรูปแบบเก่า คร่ำครึ ที่มีลักษณะเป็น แค่“ปรัชญา” ดังเช่นวลี ทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์  ซ้ายหรือขวา ที่หาประโยชน์ใดแทบจะไม่ได้ นอกจากเป็นเพียงการโต้หรือประคารมทางความคิดเท่านั้น

                “เรื่องใกล้ตัว” ประการสุดท้ายที่อยากเรียนให้ทราบ คือ การเดินทางไปเมืองไทยของคองเกรสแมน แคลิฟอร์เนีย คนสำคัญ ของพรรครีพับลิกัน ดาน่า โรบาร์กเกอร์ (Dana Rohrabacher) หากไม่เปลี่ยนแปลงแผนการ เขาจะไปเมืองไทยเดือนหน้าด้วยเวลาจำกัดแค่ 3 วัน  ด้วยหลายภาระกิจ  มีการประชุมภายใน (Private  Meeting) กับเจ้าหน้าที่อเมริกันที่เมืองไทย 1 วัน ส่วน 2 วันที่เหลือ เขาจะใช้เวลา “ข้างนอกกรุงเทพ” ที่ไม่สามารถสถานที่ระบุได้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความปลอดภัย  

ดานา รอห์บาร์คเกอร์

หนึ่งในภาระกิจเหล่านั้น คือ การค้นหาข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ในพม่า และสถานการณ์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-พม่า การเดินทางไปเมืองไทยของสส.ของแคลิฟอร์เนียครั้งนี้มีผลต่อการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะด้านต่างประเทศ ซึ่งลึกๆแล้วหมายถึงท่าทีบางส่วนของอเมริกา

ที่สำคัญยังเกี่ยวข้องถึงเงินอุดหนุนกับกลุ่มนักกิจกรรม หรือประเทศที่ช่วยเหลือผู้อพยพ ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพชาวพม่า รวมทั้งท่าที และการกำหนดนโยบายระดับภูมิภาค(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)ของอเมริกาอีกด้วย

หมายเหตุ :คัดจากบทความของพีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในสยามรัฐรายวัน ก่อนหน้านี้

ใส่ความเห็น

ดาราไทยไปอเมริกา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

ในช่วงหลายปีติดต่อกันมา ที่ผมเห็นและได้ข่าวบรรดาดาราและนักร้องจากเมืองไทย ต่างพากันเดินทางมายังอเมริกากันเป็นว่าเล่น แม้แต่ในสื่อที่เมืองไทยก็มักปรากฏเป็นข่าวในคอลัมน์ซุบซิบอยู่บ่อยๆ  จนกระทั่งการรับรู้ในเรื่องนี้ของผมกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป เพราะข่าวการเดินทางมาเปิดการแสดงที่อเมริกาของพวกดารานักร้องเหล่านี้ออออกมาอยู่เรื่อยๆ 

เมื่อช่วงก่อนๆ ผมไปดูพวกเขาเปิดการแสดงบ้าง แต่ตอนหลังเมื่อมีบ่อยมาบ่อยครั้งมากเข้า ก็เลยกลายเป็นความซ้ำซากจำเจไป ส่วนดารานักร้องรุ่นใหม่ แม้จะมาเปิดการแสดง แต่ผมเป็นคนที่อาจเรียกได้ว่า ตกรุ่นไปแล้วคนหนึ่ง  เหมือนคนที่อยู่อเมริกามานานๆ ทำให้ช่วงเวลาการติดตามเรื่องราวในวงการบันเทิง หรือผลงานของศิลปินต่างๆในเมืองไทยขาดหายไป

คนไทยที่อยู่อเมริกานานมากๆ หลายคน โดยเฉพาะคนที่อยู่อเมริกานานเกิน 20 ปีขึ้นไป นับว่าช่วงแห่งประวัติศาตร์ของชีวิตในเมืองไทย ได้ขาดหายไปจริงๆอย่างค่อนข้างยาวนานทีเดียว

สุเทพ วงศ์คำแหง

ทำไม ผมต้องพูดแบบแยกส่วนว่า ต้องเป็นคนไทยที่อยู่อเมริกานานเกินกว่า 20 ปี?

ก็เพราะว่า จากตอนนี้ย้อนเวลาไปในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ระบบการสื่อสารระหว่างไทยกับอเมริกานั้น สะดวกรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายถูกมากขึ้นอย่างแทบไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีส่วนในการย่อโลกให้แคบลงอย่างมาก ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของไทยในอเมริกาได้เท่าๆ และพร้อมๆ กับคนไทยที่เมืองไทย หรืออาจรับรู้ได้มากเสียด้วยซ้ำ

เหมือนกับที่หลายคนรู้ว่า โลกในปัจจุบันแคบมากเพียงใด โดยเฉพาะพวกที่ต้องทำธุรกิจข้ามชาติ เดี๋ยวนี้เมืองใหญ่ๆในโลกล้วนผูกติดไว้ด้วนเครือข่ายเดียวกันเกือบทั้งหมด นั่นคือ ระบบและเครือข่ายการสื่อสาร

ผมรู้ว่าพวกดารา นักร้องมากันบ่อย บ้างมาแค่โชว์ตัว บ้างมาขายผลิตภัณฑ์ของเจ้าตัวเอง  แต่ส่วนใหญ่อย่างที่รู้กันว่า งานหลักของดารานักร้อง คือ การแสดง หลายเมืองใหญ่ที่คนไทย คนลาว และคนเขมรอยู่กันจำนวนมาก พวกเขาเปิดการแสดง เพื่อหาเงิน มีบ้างที่เป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล

แต่ต้องบอกตามตรงว่า ผมไม่ค่อยรู้จักดารานักร้องเมืองไทย  เพียงนิยมขวัญใจสมัยเก่าของผม เหมือนรุ่นลุง รุ่นป้า  รุ่นอา หรือรุ่นปู่ ย่า นิยมหรือมีดารานักร้องขวัญใจของตัวเองในอดีตกันแทบทุกคน

อย่างที่ผมว่า คนที่อยู่อเมริกานาน ส่วนหนึ่งเวลาที่เมืองไทยได้ขาดหายไป ทำให้เหลือความทรงจำในระยะที่อยู่ที่เมืองไทย  ผมเห็นหลายคนนิยมศิลปินรุ่นพ่อ รุ่นแม่  ศิลปินเหล่านี้มาอเมริกาเมื่อไหร่ต้องไปเชียร์หรือไปฟังกันแทบทุกครั้ง เรียกว่า เป็นขาโจ๋แอนตีก (Antique) หรือขาโจ๋รุ่นเดอะ ในอเมริกานี่ ผมว่ามีขาโจ๋ประเภทนี้มากที่สุด อาจมากกว่า ขาโจ๋วัยรุ่นเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุว่า ขาโจ๋รุ่นเดอะ ยังมีเพลงหรือการแสดงของแต่ละศิลปินฝังอยู่ในหัว ไม่เปลี่ยน

ขณะที่โจ๋รุ่นใหม่ หากฟังเพลงประเภทวัยรุ่น ก็ต้องเป็นขาโจ๋ที่มาจากเมืองไทยเป็นส่วนใหญ่ ให้ขาโจ๋ที่เกิดหรือโตที่อเมริกาฟังเพลงวัยรุ่นไทย คงหาได้ไม่มากนัก อาจมีบ้างเหมือนกันหากพ่อแม่เปิดเพลงไทยให้พวกเขาฟังตั้งแต่อายุยังน้อย แต่จะมีสักกี่ครอบครัว หรือกี่คนทำอย่างนั้น และจะทำไปเพื่ออะไร?

ดาราหรือนักร้องที่เดินทางมาโชว์หรือเปิดการแสดงที่อเมริกามีหลายประเภท ไล่ตั้งแต่รุ่นขวัญใจคุณป้า  อย่างคุณป้าสวลี (ผกาพันธ์) ป้ารวงทอง(ทองลั่นทม) ป้าดาวใจ(ไพจิตร) ลุงสุเทพ(วงศ์กำแหง) ลุงชรินทร์ (นันทนาคร)  ฯลฯ ขวัญใจวัยรุ่น ซึ่งผมอาจไม่รู้จักมากนัก  ขวัญใจคอลูกทุ่งก็มากันหลายคน อย่างพี่ พี่เป้า สายัณห์ (สัญญา) พี่เสรี (รุ่งสว่าง)  พี่ก็อต จักรพันธ์  (อาบครบุรี) พี่สุนารี(ราชสีมา) พี่ยิ่งยง ยอดบัวงาม ฯลฯ ตลอดถึงหมอลำหรือแนวเพลงอิสาน พี่ไมค์(ภิรมย์พร) พี่ศิริพร (อำไพพงษ์)  พี่บานเย็น(รากแก่น) ฯลฯ ซึ่งจากบรรดาทุกประเภทที่เอ่ยถึงดารานักร้องประเภทหลังขายดีมากที่สุด ในอเมริกาเองยังมี “วัฒนธรรมม่วนซื่น” อยู่มาก

 ไม่ว่าจะเป็นดาราหรือนักร้อง เมื่อมาอเมริกา ก็ต้องโชว์ หรือร้องเพลงเสมอ ส่วนใหญ่งานแสดงจะจัดขึ้นตามร้านอาหารไทย ในเมืองใหญ่ที่คนไทย คนลาวอาศัยอยู่มาก อย่าง แอล.เอ. ซานดิเอโก ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ค  ฮูสตัน ดัลลัส  แทมปา กระทั่งเมืองคาสิโน อย่างลาสเวกัส 

ที่จะจัดการแสดงตามฮอลล์ (Hall) นั้นมีน้อยมาก เป็นเพราะ เมื่อเทียบกับชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นที่อาศัยอยู่ในอเมริกาแล้วคนไทย คนลาว ยังมีจำนวนไม่มาก  ไม่คุ้มกับค่าเช่าสถานที่  ดังนั้น ร้านอาหารไทยหรือบางครั้งวัดไทย เหมาะสมที่สุด

สวลี ผกาพันธ์

ที่ลาสเวกัส ความจริงเป็นเมืองที่มีสถานที่จัดงานการแสดงหรืองานสังสรรค์ประเภทต่างๆได้ดีที่สุด เพราะสถานที่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบ่อน สามารถจุคนได้เป็นจำนวนมาก และเป็นที่ที่มีการบริการพร้อมสมบูรณ์อยู่แล้วในตัว อย่างไรก็ตามการจัดคอนเสิร์ต ในบ่อนและโรงแรมขนาดใหญ่อย่างเอ็มจีเอ็ม แกรนด์ คนจัดต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเหมือนกัน  ว่าจะคุ้มหรือไม่

บ่อนอย่างเอ็มจีเอ็ม แกรนด์ ลาสเวกัส  เคยมีค่ายเพลงใหญ่จากเมืองไทย เจรจากับคนไทยบางกลุ่มในอเมริกาขอเลือกเอ็มจีเอ็มแกรนด์ ซึ่งเป็นโรงแรมขนาด 5,000 ห้อง เป็นสถานที่จัดงานคอนเสิร์ตของนักร้องดังมากคนหนึ่งจากเมืองไทย  ปรากฏว่า กลุ่มคนไทยในอเมริกากลุ่มนี้ ถึงกับออกอาการเซ็งเมื่อได้ยินเงื่อนไขขอใช้สถานที่จัดงานคอนเสิร์ต การใช้บ่อนเอ็มจีเอ็มแกรนด์จัดงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยากก็ตรงที่มีเงินจ่ายค่าเช่าสถานที่จัดงานที่ เรียกว่า MGM Grand Arena  หรือไม่  และคำถามก็คือ จะมีคนไทยกี่คนในอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับนักร้องคนนี้มากถึงขนาดเตรียมซื้อตั๋วล่วงหน้า เดินทางหรือบินมาดูคอนเสิร์ตนักร้องไทยที่ลาสเวกัส

คนไทยยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับชนเชื้อชาติเอเชียนจากประเทศอื่น อย่างเช่น เวียดนาม ฟิลิปินส์ จีน เกาหลี แม้กระทั่งลาว อย่างคนจีน อย่างคนเวียดนาม มีการจัดงานปาร์ตี้ หรือคอนเสิร์ตใหญ่ๆที่โรงแรมชั้นหนึ่งของลาสเวกัสอยู่บ่อยมากแทบทุกปี

ขณะเดียวกัน ที่ลาสเวกัส มีนักแสดงและ นักร้องจากจีน ทั้งจากฮ่องกง ไต้หวัน เดินทางมาเปิดคอนเสิร์ต กันมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างตรุษจีนหรือช่วงเทศกาลคริสต์มาส ก่อนปีใหม่ของทุกปี

การที่นักร้องจากประเทศเหล่านี้เดินทางมาเปิดการแสดงที่อเมริกา ในโรงแรมหรือฮอลล์ใหญ่ได้ คนจัดต้องมีความพร้อม  และคิดว่าจัดงานแล้วไม่เข้าเนื้อขาดทุน เงินรายได้มากไหน ก็ต้องมาจากผู้ชม ซึ่งเป็นแฟน ของดารา นักร้องคนนั้น

ขนาดความเล็กของชุมชนไทย ทำให้การเปิดการแสดงของศิลปิน ดารา นักร้องไทยไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ ที่บางทีพูดกันว่า การจัดงานการกุศล หรือคอนเสิร์ต ประสบผลสำเร็จ คนไปดูกันเป็นจำนวนมากนั้นความเป็นจริงแล้ว เป็นเพราะสถานที่จัดงาน(ร้านอาหาร) แคบเล็กนิดเดียว คนดูเข้าไปไม่มากเท่าไรก็เต็มแล้ว

มีความพยายามของบรรดาคนไทยในอเมริกาเหมือนกัน ที่จะจัดงานคอนเสิร์ตให้ดูเป็นโปรฯ เป็นมืออาชีพมากขึ้น แต่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ การจัดกิจกรรมด้านบันเทิงหรือด้านใดก็ตามในอเมริกา  ต้องเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งกล่าวสำหรับอเมริกาเองเต็มไปด้วยกฎระเบียบต่างๆมากมาย

ที่สำคัญหากคนดูน้อยกว่าที่คาดกัน การจัดงานและคนจัดงานก็เจ๊งในที่สุด ดังนั้น การจัดงานโชว์ ดารานักร้องไทยในอเมริกาส่วนใหญ่ จึงยังเป็นสไตล์ “มวยวัด”

ผมกำลังเล่าถึงวิธีการ และรูปแบบการจัดงานคอนเสิร์ต หรืองานปาร์ตี้ ของชุมชนไทยในอเมริกา ที่มีดารานักร้องจากเมืองไทยเดินทางไปโชว์หรือเปิดการแสดงว่า ทำกันอย่างไร มีเงื่อน และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง รวมทั้งภาพที่เห็น แตกต่างจากภาพคนไทยที่เมืองไทยเห็นอย่างไร

                เนื่องจากตลอดที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ได้เกิดแฟชั่นเดินทางไปโชว์ตัวของนักร้อง และดาราไทย ในต่างแดน โดยเฉพาะในอเมริกา ดินแดนที่มีคนไทยไกลบ้านอาศัยอยู่มากที่สุด

                “คนจัดงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวของเจ้าของร้านอาหารไทย(ในอเมริกา)เอง มักโปรโมทหรือ โฆษณากับชุมชนไทย ก่อนที่ศิลปินจากเมืองไทยจะมาเปิดทำการแสดงล่วงหน้าราว 2-3 เดือน เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ อาจลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาษาไทย ไม่ก็ทำเป็นใบปลิว หรือโปสเตอร์ ออกติดแปะตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารไทย ตลาดไทย ตลาดลาว  วัดไทย วัดลาว  หรืออาจร่อนใบปลิวไปตามสมาคม ชมรมต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ ให้ผู้คนได้รับรู้มากที่สุด

หลังจากนั้นก็เป็นปฏิบัติการขายตั๋ว ซึ่งอาจขายเป็นรายบุคคล หรือเป็นโต๊ะๆไปก็ได้แล้วแต่ความสะดวก เพราะบางทีมีแพคเกจ รายการอาหาร หรือเครื่องดื่มรวมอยู่ในตั๋วด้วย

คนจัดงานบางคนแถมอาหารให้คนดูในเมนูบางรายการ  รวมราคาทั้งหมดไว้ในตั๋วค่าเข้าชม แต่ไปขายเครื่องดื่มในร้านแทน เพราะในงานอย่างนี้ส่วนใหญ่  เครื่องดื่ม พวกไวน์ เบียร์ เหล้า ขายดีมากกว่าอย่างอื่น

ส่วนราคาค่าเข้าชม ผมคิดว่า ส่วนใหญ่คนจัดเก็บค่าเข้าไม่แพง ยิ่งคนจัดเป็นเจ้าของร้านอาหารด้วยแล้ว ราคาตั๋วค่าเข้าก็ยิ่งถูกลง เพราะเจ้าของหวังผลในเรื่องการขายอาหารและเครื่องดื่มอยู่แล้ว

แต่หากสถานที่จัดงานอยู่ข้างนอกและคนจัดต้องเช่าราคาตั๋วก็อาจสูงขึ้นมาหน่อย คนจัดคอนเสิร์ตแนวนี้ในอเมริกา ถ้าไม่แน่จริงมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงมากกว่าแบบแรกที่จัดในร้านอาหาร โดยเหตุที่การลงทุนสูงกว่า

ส่วนนักร้องหรือดารา ที่มาปรากฏตัว ในงานก็อย่าเพิ่งไปคิดว่า จะเหมือนเมืองไทยครับ

ให้นึกถึงภาพเวทีเล็กๆ เตี้ยๆ ที่อยู่ด้านหน้าโต๊ะอาหาร เว้นที่ว่างทำเป็นฟลอร์สำหรับเต้นรำไว้เล็กน้อย หรือที่แย่ไปกว่านั้น บางร้านอาจไม่มีเวทีแบบนี้ เป็นแค่เพียงฟลอร์อย่างเดียว ศิลปินกับคนดู  และคนเต้น อยู่ในระดับเดียวกัน  ขึ้นกับการให้ความสำคัญกับนักร้องของคนจัดหรือคนจัดคิดว่างานของเขาต้องใช้ศักยภาพในการจัดเพื่อเรียกคนดูมากเท่าใด หากต้องการให้เกิดศักยภาพมาก ก็ต้องลงทุนเตรียมการมากขึ้นเท่านั้น

ขนาดความใหญ่เล็กของงานบันเทิงที่จัดยังขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจหรือวัตถุประสงค์ของศิลปินที่มาอเมริกาเพราะศิลปินจากเมืองไทยบางคน เพียงต้องการมาเที่ยว หรือทำธุระส่วนตัวที่อเมริกาเท่านั้น  ไม่ได้ต้องการมาเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่ในเมื่อไหนๆก็ได้ชื่อว่าเดินทางมายังอเมริกาแล้ว ได้อเมริกันดอลลาร์ เป็นพ็อคเก็ตมันนี กลับไปเมืองไทยบ้างก็ไม่เลว 

ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสายสัมพันธ์ของคนจัดเองกับศิลปินคนนั้นๆ ว่าต่อเชื่อมกันแบบไหน และตกลงกันอย่างไร เพราะศิลปินบางคน แค่ได้ยินชื่อก็ขายได้แล้ว  ยิ่งหากคนจัดเป็นเจ้าของร้านอาหารเองด้วยแล้วก็ยิ่งดีในแง่การโปรโมทร้านไปในตัวด้วย

พรชิตา ณ สงขลา

แต่ภาพที่เห็นกันมากในอเมริกาสำหรับการจัดงานคอนเสิร์ตศิลปินจากเมืองไทย ทั้งที่มาเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ก็คือ ศิลปินส่วนใหญ่จะร้องเพลงแบบคาราโอเกะ โดยไม่ต้องใช้วงดนตรีแบ็คอัพ บางงานนักร้องมาร้องโชว์ไม่กี่เพลงก็จบแล้ว สาเหตุของเรื่องนี้ ก็เป็นที่ทราบกันดี การใช้วงแบ็คอัพ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมากจากการจ้างวงดนตรี  ยิ่งหากจัดในร้านอาหารไทยด้วยแล้ว สถานที่บางแห่งอาจคับแคบจนไม่สามารถตั้งวงแสดงได้เลย

ในเรื่องการจัดงานแสดงคอนเสิร์ตนี้ มีหลายครั้งเหมือนกันที่คนจัดทางอเมริกา โฆษณาไปเสร็จสรรพ ปรากฏว่า ศิลปินจากเมืองไทยที่เชิญมาแสดง มาไม่ได้เฉย เพราะทางสถานทูตอเมริกันที่เมืองไทยไม่ออกวีซ่าให้  ซึ่งบางครั้งหากงานที่จัด มีศิลปินเพียงคนเดียว คนจัดงานก็ต้องถึงกับคืนตั๋วที่ขายออกไปล่วงหน้าให้กับคืนซื้อก็มี

แต่หากศิลปินที่เชิญมาแสดงมีหลายคน โชคดีเกิดมีบางคนสามารถหลุดจากสถานกงกุลอเมริกันที่กรุงเทพมาทำการแสดงในอเมริกาได้ ก็อาจช่วยคนจัดไม่ให้สิ้นชีพก่อนงานปาร์ตี้ หรือคอนเสิร์ต(แล้วแต่จะเรียก) จะเริ่มขึ้น

เคยมีศิลปินเพื่อชีวิตวงดังวงหนึ่งเดินทางจะมาเปิดการแสดงทัวร์คอนเสิร์ตเพื่อการกุศล(อิสานเขียว)ในอเมริกา เมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ติดอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่แอล.เอ. ไม่สามารถเข้าประเทศได้ ต้องกลับไปเมืองไทย แล้วกลับเข้ามาใหม่ นี่ก็ทำให้แผนงานการแสดงที่วางไว้ต้องล้มเลิก และเป็นโรคเลื่อนไปโดยปริยาย

  เมื่ออ่านข่าวจากสื่อที่เมืองไทยในหลายครั้ง เกี่ยวกับการเดินทางมาเปิดคอนเสิร์ตของเหล่าดารา นักร้องหรือศิลปินเหล่านี้  คล้ายกับเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ก็มิปาน ทั้งเมื่อยิ่งประกาศชื่อร้าน ที่ผมเคยผ่านหรือเคยไปกินข้าวมาแล้วด้วย

ที่แท้บางครั้งก็เป็นร้านอาหารไทยที่มีเก้าอี้แค่ราวๆ 50 ที่นั่งเท่านั้น

แล้วคำว่า ไปเปิดการแสดงหรือคอนเสิร์ตที่อเมริกา ฟังดูเป็นทางการเสียเต็มประดา แต่แท้จริงแล้ว ส่วนใหญ่เกือบร้อยทั้งร้อย ไปกันในนามส่วนตัว ศิลปินบางคนยื่นขอวีซ่าประเภทวีซ่าท่องเที่ยว ไม่ใช่วีซ่าธุรกิจ ที่เรียกกันว่าวีซ่า บี (B- visa) เลย

เพราะจริงๆแล้ว หากไปอเมริกาเพื่อเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการ การเดินทางต้องใช้วีซ่าธุรกิจ และต้องบอกกับกงสุลอเมริกันก่อนเดินทางว่า การเดินทางนั้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

ยิ่งไปกว่านั้น หากไปเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการ นักร้องหรือศิลปิน รวมทั้งคนจัดเหล่านั้น ต้องมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีเงินได้จากการแสดงนั้นให้กับหน่วยงานสรรพากรอเมริกันหรือ IRS ตามกฎหมาย

ซึ่งจริงๆแล้วส่วนใหญ่ ได้ทำตามขั้นตอน กฎหมายอเมริกันหรือไม่?

 หมายเหตุ : ตัดต่อจากบทความเรื่องเดียวกันจำนวน 2 ตอน ของ พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน

ใส่ความเห็น

2 ปีโอบามา : ศก.อเมริกายังสั่นคลอน

บารัก โอบามา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com  

ยังไม่ค่อยเห็นหน้าเห็นหลังเท่าไหร่ครับ สำหรับความเป็นไปของเศรษฐกิจอเมริกาในเวลานี้ ตามแผนฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลบารัก โอบามา ที่ประกาศก่อนหน้าที่ตัวนายโอบามาเองจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 44 เสียด้วยซ้ำ

                ผมถูกถามจากเพื่อนๆ โดยเฉพาะจากเมืองไทยหลายคนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโดยทั่วไปของอเมริกา ก็ต้องบอกไปว่า บรรยากาศยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปีสองปีที่แล้วมากนัก อเมริกันส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาด้านการเงินยังคงสาละวนกับการแก้ปัญหาของตัวเองและครอบครัวไม่ค่อยจะได้

                เช่น ปัญหาการปลดคนงานและการว่างงาน แม้คนงานเหล่านี้จะได้รับการขยายเวลาเพื่อรับเงินช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจาก 6 เดือน เป็น 8 เดือน หรือกระทั่งถึง 1 ปีก็ตาม แต่การผูกโยงตัวเองและครอบครัวเข้ากับเศรษฐกิจหน่วยอื่นๆ ทำให้การลุกขึ้นเดินอีกครั้งของพวกเขาต้องประสบกับความยากลำบาก

                รวมทั้งเจ้าของกิจการทุกขนาด หลายประเภท ที่ต้องเผชิญกับการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการลงทุน ทำธุรกิจใหม่ ที่เข้มงวดรัดกุมมากขึ้น จากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ตามรัฐตามเมืองต่างๆทั่วประเทศ ทำให้การเคลื่อนไหวในเชิงบวก เป็นไปอย่างเชื่องช้า เห็นได้ยาก

                เช่น ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยหรือวิกฤตอสังหาริมทรัพย์(Subprime crisis) ที่เกิดจากการปั่นราคาเพื่อเก็งกำไรของกลุ่มบริษัทอสังหาฯ ร่วมกับสถาบันการเงินซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว เวลานี้คนอเมริกันจำนวนมากก็ยังมีปัญหาไร้ที่อยู่อาศัย ไม่สามารถมีบ้านหรือคอนโดฯ เป็นของตัวเองได้ แสดงให้เห็นความไม่เวิร์คของนโยบายลดหย่อนผ่อนปรนด้านหนี้สินที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยผ่านการอนุมัติจากฝ่ายรัฐบาลและคองเกรส(ที่เดโมแครตถือครองเสียงข้างมากอยู่)

                สินทรัพย์ของแบงก์และสถาบันการเงินที่มาจากการยึด เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถผ่อนชำระต่อ แล้วถูกบังคับให้เดินออกจากบ้านไป ที่เรียกกันว่า Foreclosure  จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สินทรัพย์พวกนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งแน่นอนว่า รัฐบาลต้องการให้ให้มีคนหรือนักลงทุนมาซื้อ (แม้แต่นักลงทุนจากต่างชาติ) แต่ด้วยเงื่อนไขและกฎระเบียบที่ซับซ้อนและเข้มงวด ทำให้การขายสินทรัพย์ออกและการลงทุนไม่เป็นไปตามคาด

                การเคลื่อนไหวไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นสำหรับเศรษฐกิจของอเมริกา จึงอุ้ยอ้ายเชื่องช้า

แนนซี่ เปลอสซี

                หากน้อมรับคำทำนายเศรษฐกิจอเมริกาของบรรดานักเศรษฐศาตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายคน ก่อนที่โอบามาจะเข้าดำรงตำแหน่งที่ส่วนใหญ่ระบุว่า เศรษฐกิจของอเมริกาอาจใช้เวลานานเกินกว่า 5 ปีในการฟื้นตัว อาจไม่น่าแปลกใจมากนัก แต่หากเป็นชาวอเมริกันที่ใช้ชีวิตประจำวันประเภทไปเช้าเย็นกลับและเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมถึงขนาดกลางแล้วคงต้องบอกว่า ค่อนข้างทรมานกับความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพราะเป็นไปอย่างอืดอาดเสียเหลือเกิน

                จึงไม่แปลกเช่นเดียวกัน ที่จากโพลล์ผลสำรวจทุกครั้ง คะแนนของโอบามาหล่นเอาๆทุกที

                อย่างไรก็ตาม หากให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาลโอบามาแล้ว คงต้องบอกว่า ผู้นำคนปัจจุบันและพรรคเดโมแครตได้พยายามแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากหลายประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ ที่จะต้องผลักดันผ่านสภาคองเกรส ที่มีเสียงแย้งไม่เห็นด้วยอยู่ในนั้น จึงไม่ง่ายในการออกกฎหมายแต่ละฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนและงบประมาณ ที่ฝ่ายพรรครีพับลิกันและแม้คนของเดโมแครตเองเห็นไปอีกทาง

                ถึงตอนนี้ เพื่อนอเมริกันของผมหลายคน ยังไม่สามารถกำหนดทางเดินใหม่ได้ คือ เรื่องบ้านก็ยังค้างคา รอการตอบรับของแบงก์เจ้าหนี้ว่าจะเอาอย่างไร ตกลงรับหรือไม่ตกลงรับ เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ ภายหลังฟองสบู่แตก(ราคาทรัพย์สินในหลายเมืองปรับลดลงอย่างมาก) ขณะที่เงินจำนวนหนึ่งก็ถูกจ่ายไปสำหรับเป็นค่าทนายดำเนินเรื่อง ซึ่งไม่รู้ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่

                กรณีการซื้อขายสินทรัพย์(เช่น บ้าน คอนโดฯ)ที่กำลังจะถูกทิ้ง หรือลูกค้าทิ้งไปแล้ว มีระเบียบและพิธีการขั้นตอนทางกฎหมายค่อนข้างมาก ทั้งๆที่ลูกค้าจำนวนไม่น้อย เป็นลูกค้าที่มีเครดิตดี (เพราะการยุบลงของราคา หลังจากการปั่นราคาให้สูงเกินจริง เศรษฐกิจรวนทำให้รายได้ลดลง การส่งเงินค่างวดมีปัญหา) แต่ด้วยพิธีการทางกฎหมายทำให้สถาบันการเงินไม่อยากจะคุยกับลูกค้าโดยตรง สินทรัพย์จำนวนมาก ต้องถูกปล่อยให้ไร้ซึ่งประโยชน์ และเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

                ใช่ว่าเรื่อง Foreclosure จะจบครับ ล่าสุดสัปดาห์นี้ ประธานสภาล่าง(House) สส.แนนซี่ เปลอสซี(Nancy Pelosi) และ สส.โซ โลฟเกร็น(Zoe Lofgren) ร่วมกับสส.แคลิฟอร์เนียพรรคเดโมแครตจำนวนหนึ่ง ทำหนังสือถึงประธานธนาคารกลาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(อัยการ)และหัวหน้าตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้สอบสวน 2 ธนาคารใหญ่ของอเมริกา คือ แบงก์ออฟอเมริกา กับ เจ.พี.มอร์แกนเชส กล่าวหา 2 สถาบันว่า มีพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อนโยบายการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ตามที่คองเกรสได้ออกกฎหมายช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้

                ประมาณว่า สองธนาคารไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ไม่ผ่อนปรน ไม่เจรจา ไม่อ่านเอกสารของลูกค้าที่ประสบการเงิน ปัญหาผ่อนงวด เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตายึดและขายทรัพย์สินออกอย่างเดียว

                จากการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าเจ้าหน้าที่ของแบงก์ออฟอเมริกา เจ.พี. มอร์แกนเชส และบริษัทในเครือ กระทำผิดกฎหมายใน 23 รัฐ เพราะตามปกติแบงก์จะต้องทำเรื่องยื่นฟ้องศาล เพื่อยึดและขายสินทรัพย์ แต่ขั้นตอนที่ทำกันนั้นถูกมองจากคองเกรสและหน่วยงานด้านกฎหมายของหลายๆรัฐเหล่านี้ว่ารวบรัด ไม่ให้โอกาสลูกค้า

                ประธานสหภาพแรงงานผลิตรถยนต์ บ็อบ คิง ถึงกับออกมาขู่ว่า สหภาพฯจะถอนเงินฝากจากเจ.พี. มอร์แกน เชส  หากว่า แบงก์ยังคงเดินทางหน้ายึดและขายสินทรัพย์ โดยไม่ยอมให้สมาชิกของสหภาพฯในรัฐมิชิแกนพักการชำระหนี้ เป็นเวลา 2 ปี

                ขณะเดียวกัน อีกด้าน เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ที่เป็นพื้นฐานให้เศรษฐกิจในระดับประเทศ ก็กลับฟื้นตัวได้ยากยิ่ง เมื่อคนไม่มีรายได้ ภาษีก็เก็บไม่ได้ เมืองในหลายรัฐก็ถึงกาลล้มละลาย เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับหลายเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย นั่นคือ รายจ่ายมากรายได้ แม้ในตอนนี้ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นจะได้พยายามสร้างแรงจูงใจในการลงทุน โดยหวังดึงนักลงทุนชาติเอเชีย แต่ก็ประสบผลสำเร็จไม่มาก

                ส่วนหนึ่ง              เพราะนักลงทุนต่างชาติขาดความเข้าใจในเรื่องกฎ กติกา การลงทุน ทั้งๆที่เวลานี้ อเมริกาต้องการทุนจากต่างประเทศมากที่สุด!

                กอปรทั้ง มีเงื่อนไขหนึ่งที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน คือ ความเข้มงวดเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคง ในฐานะอเมริกาเป็นประเทศเป้าหมายของการก่อการร้าย เรื่องนี้ได้มีการพูดกันในบรรดานักธุรกิจเอเชียน ที่มีแผนจะเข้ามาลงทุนในอเมริกา ดูเหมือนนักลงทุนเหล่านี้จะต้องรายงานหรือแจ้งต่อทางการอเมริกันทั้งเรื่องกิจการ เช่น ที่มาที่ไปของเงิน และประวัติส่วนตัวของผู้ลงทุนละเอียดยิบ ซึ่งหาใช่วิถีธรรมชาติของนักธุรกิจชาติเอเชียไม่

                จึงไม่ง่ายเลยสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา จากแต่เดิมประมาณกัน 5 ปี ตอนนี้ขยายเป็น 7 ปี ซึ่งก็ไม่รู้จะเอาอยู่หรือเปล่า

                เพียงอดคิดไม่ได้ว่า อย่างน้อยในประเทศนี้ การเอาเปรียบลูกค้าของแบงก์ในหลายเรื่องก็มีทางแก้ให้เห็นชัดเจนและได้ผล  แบงก์จึงต้องปรับตัวอย่างมาก เช่น ในเรื่องค่าธรรมเนียม เป็นต้น

                ไม่เหมือนในบางประเทศที่อ้างว่าปรับเปลี่ยนแล้ว แต่จริงๆแล้ว เป็นการเล่นแร่แปรธาตุค่าธรรมเนียม โดยที่ลูกค้ายังคงรับสภาพ “เบี้ยล่างธุรกรรม” เหมือนเดิม

ใส่ความเห็น