jaojook

P. Pongpipatthana is born in June 3 1969 in Tambol Thanodduan Ampur Khuan Khanoon Phatthalung province ,southern Thailand. Pete graduated faculty of political science from University in Bangkok , also received petrochemical industrial certificate from college in Rayong (Eastern sea board project). That was before his journalism begun for several Thai newspapers in Bangkok including Thai cable TV network. His last position for journalist in Thailand was a chief of economic and financial news reporter. In 1998 Pete traveled to United States for APEC-Asian Pacific economic corporation finance ministers meeting at Washington D.C. That was in President Bill Clinton period. He decided to stay in US and worked for some local Thai newspaper in Los Angeles and in 1999 Pete moved to San Francisco and Bay area to work as a reporter for local newspaper there. During his journalism duty Pete met many Congress members in their local places and Capital Hill Washington D.C. such as Rep. Shalley Berkley (D-Nevada) ,Rep Bob Clement(D-Tennessee) Speaker of House Nancy Pelosi (D-California) Senator John Ensign( R-Nevada), Rep.Dana Rohrabacher(R-California), former lieutenant governor of Maryland Kathleen Kennedy Townsend. Yet Pete participated in nonprofit organization in Los Angeles and U.S. nationwide. He also enjoyed traveling to see many natural places like Yosemite national park (California) Yellow Stone national park (Wyoming Idaho and Montana) Zion and Bright Canyon national park (Utah) Grand Canyon (Arizona) Lake Havasu (Arizona) Death Valley (California). Pete favoured the world heritage as Yellow Stone national park.He also loves to see American folklife in central and south part of United States. In reality of spending time of life in US Pete has learned how to survive. He also worked for many kinds of basic jobs as the new immigrant there would do. His hobbies are hiking traveling writing reading and he is very interesting on an ancient oriental science like Indian yoga Chinese taichi including herbal plants and Asian tradition. In the end of year 2005 Pete went back to Thailand. He decided to ordinate for being a Buddhist monk at his hometown-Wat (temple) Panangtung ,Khuan Khanoon , Phatthalung before he was journey to Wat Tam Kwanmuang in Ampur Sawi ,Chumpon province for stronger meditation practicing by Dhammayutikanikaya Buddhist monk master. From his experience in U.S. and traveling to another countries Pete came out two books VEGANISM and GREEN CARD by the Thai name Bhira Pongpipattha(พีร์ พงศ์พิพัฒน์). Both were published by Phetprakai publishing company in Thailand and sell at book stores around the country including Thai book stores in U.S. Since year

Homepage: https://jaojook.wordpress.com

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์และโปรเจคท์งาน

Image

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์และโปรเจคท์งาน ด้านรัฐศาตร์ สังคมศาตร์ ปรัชญาและพุทธศาตร์

โดย พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ และทีมงาน

(เช็ค : google search engine)

โทร 085 244 1332

ppongnv@gmail.com

ใส่ความเห็น

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์และงานโครงการ(projects)

Image

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์และโปรเจคท์งาน ด้านรัฐศาตร์ สังคมศาตร์ ปรัชญาและพุทธศาตร์

โดย พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ (กูเกิล เสิร์ช เอ็นจิน)

โทร 085 244 1332

ppongnv@gmail.com

ใส่ความเห็น

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์

รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาปรัชญา พุทธศาตร์และสังคมศาตร์

ติดต่อ
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
085 244 1332
https://plus.google.com/117484025159949500036/about

ใส่ความเห็น

@tibet

@tibet

road to Mandala

ใส่ความเห็น

กับดักเพศสัมพันธ์กับการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา

พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์

          นิสิตป.โท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

 

๑.บทนำ

 

ภายใต้สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันที่ชื่อว่า เป็นยุคการสื่อสาร การติดต่อของคนเป็นไปอย่างรวดเร็วผ่านสื่อหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่เรียกว่า ระบบออนไลน์  ทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศ ผ่านระบบการสื่อสารของผู้คนเปลี่ยนรูปแบบไปจากแต่เดิม  คือ มีความรวดเร็ว สามารถตอบโต้ไปมาได้ทันที เป็นได้ทั้งในรูปแบบข้อความ แบบเสียงและแบบภาพ   ประเด็นดังกล่าวนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ผลกระทบต่อการประพฤติพรหมจรรย์[๑]”  ซึ่งหมายถึงการครองชีวิตอันประเสริฐ ตามหลักของชาวพุทธ โดยเฉพาะในด้านเพศสัมพันธ์ ที่หมายถึงหลักพรหมจรรย์ในข้อเมถุนวิรัติ  สทารสันโดษ(ความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน) รวมทั้งผลต่อการประกาศหรือเผยแผ่พระศาสนา

หมายถึงว่า ประเด็นเพศสัมพันธ์หรือการวางความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อให้มีผลดีต่อการประพฤติพรหมจรรย์ เกิดปมที่ทำให้ต้องพินิจพิจารณาได้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนจากระบบแห่งพัฒนาการทางด้านเทคโนโลนีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป  ทั้งหมายถึงการประพฤติพรหมจรรย์ของทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต (นักบวชหมายถึง ภิกษุ)กับฝ่ายคฤหัสถ์(ผู้ครองเรือน)มีเรื่องให้ต้องพิจารณาได้มากขึ้นในเชิงวินัยหรือเชิงศีล และในเชิงธรรม[๒] ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “กับดักที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางเพศ” ที่ทำให้การประพฤติพรหมจรรย์ต้องมัวหมองลงไป  และเป็นสิ่งที่ทั้งภิกษุและผู้ครองเรือนชาวพุทธที่หวังถึงการประพฤติพรหมจรรย์[๓]พึงสังวร

กล่าวสำหรับภิกษุ  การจะแคล้วคลาดจากกับดักที่เกิดจากเพศสัมพันธ์[๔]นั้น (๑)อาศัยพระวินัยเป็นหลักภายนอกในการคอยควบคุมกำกับ เช่น การไม่เสพเมถุนธรรม(sexual intercourse) เพราะไม่ต้องการต้องการละเมิดสิกขาบทปาราชิก[๕] การไม่สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง(masturbation) เพราะไม่ต้องการละมิดสิกขาบทสังฆาทิเสส[๖] เป็นต้น และ (๒) อาศัยธรรม เป็นหลักภายใน ในการคอยควบคุมกำกับจิตให้ตั้งมั่นต่อเป้าหมายทางธรรม  เช่น การคำนึง หรือพิจารณาหลักเมถุนสังโยค ๗ ข้อ[๗]อย่างเข้าใจ เพราะไม่ต้องการให้ใจเตลิด หรือข้องแวะต่อกามารมณ์ทั้งปวงทั้งในชั้นหยาบและชั้นละเอียด เป็นต้น

 

 

๒. กับดักที่เกิดจากทุนบริโภค(เศรษฐกิจ)

 

การหยิบยกเอาหลักทางสายกลางหรือหลักมัชฌิมาปฏิปทามากล่าวอ้างในยุคที่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรุนแรง  เพื่อบรรเทาอาการของความสุดโต่งในเรื่องบริโภคนิยม ขณะเดียวกันหลักพุทธธรรมยังถูกหยิบยกนำมาใช้ เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมจัดจ้านอีกด้วย  เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดทรรศนะใหม่ฝ่ายบวก ต่อเนื้อหาในพุทธธรรมที่ดึงมาใช้  ในส่วนทรรศนะใหม่ฝ่ายลบจากเหตุแห่งกระแสเศรษฐกิจก็มีเช่นเดียวกัน เช่น มองว่าหลักพุทธธรรมบางข้อ อย่างเช่น หลักธรรมในข้อ สันโดษ  ซึ่งมักถูกกล่าวหาเสมอว่า ไม่เกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะสอนให้คน ถือสันโดษ  ไม่ยุ่งกับสังคมส่วนรวม เอาตัวเองไว้ก่อน ทำให้เศรษฐกิจ  หรือทุนไม่ไหลเวียน ไม่เกิดสภาพคล่องในการใช้จ่ายต่างๆ ว่าไปแล้วนับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดจากการไม่ศึกษาหลักธรรมหัวข้อสันโดษให้กระจ่างแจ้ง ที่ว่า  ความสันโดษ ก็คือ บริโภคสิ่งของที่เราต้องกินต้องใช้ อันเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับมนุษย์ เช่น ปัจจัย ๔ มีเสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค   ซึ่งเรื่องสันโดษนี้ท่านได้จัดไว้ ๓ ลักษณะ  คือ[๘]

                  ๑.ยินดีตามที่มีอยู่  เรียกว่า สะกัง ตุฏฐี คือ มีอย่างไรยินดีอย่างนั้น

                  ๒. ยินดีตามที่ได้ เรียกว่า  สันตัง  ตุฏฐี คือ ได้เท่าใดยินดีเท่านั้น

                  ๓. ยินดีตามที่ควร เรียกว่า  สมัง ตุฏฐี คือ สิ่งที่สมควรหรือเหมาะสมกับตน ให้ยินดีเท่าที่ควร แม้แต่ได้มาแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่สมควร ก็ไม่ยินดี

หลักสันโดษ จึงไม่ได้ไปขัดแย้งอะไรเลยหลักทุนนิยม  หรือหลักการดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสทุน เพียงแต่สอนให้รู้จักใช้ชีวิตให้เป็นตามสภาพเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง ครอบครัว และสังคม  รวมทั้งหมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม[๙] เช่น สิ่งของที่ได้มานั้น วิธีการได้มา ต้องถูกต้อง  ไม่ลักขโมยมา เป็นต้น

ในพระพุทธศาสนามีสทารสันโดษ  จัดเป็นการประพฤติพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง( ๑ใน ๑๐ ข้อ)  หมายถึง ความพอใจด้วยภรรยาของตนหรือความยินดีเฉพาะภรรยาของตน ตรงกับข้อ ๓ ในเบญจธรรม[๑๐] ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติตามหลักการของเบญจศีลข้อ ๓ คือ การไม่ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร มีผลทำให้ไม่สิ้นเปลืองทุนหรือเงินในการแสวงหาความสุขทางเพศ แทนการมีคู่นอน หรือภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน[๑๑], สามีภรรยาอยู่ด้วยกันถ้าอยู่ด้วยความสันโดษแล้วไม่มีปัญหา ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่อยู่ด้วยความสุข เพราะต่างคนต่างพอใจ สามีก็พอใจในภรรยา ภรรยาก็พอใจในสามี ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีปัญหาครอบครัว เพราะเหตุรู้จักใช้สันโดษ[๑๒]

การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัว และระดับชาติ ต้องอาศัยความรู้เรื่องการจัดระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ควบคู่กันไปกับจิตสำนึกในเรื่องความเป็นธรรม ความสมดุล ความพอดี หากเลยไปจากธรรมข้อสันโดษอย่างเดียว โดยใช้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาตร์ล้วนๆเพียงด้านเดียว ไม่อาจจะแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืนและเป็นจริงในโลกสมัยใหม่[๑๓]

 

๓.กับดักจากสิ่งล่อใจและค่านิยมทางเพศ

 

ดังที่เฮอร์เนส เฮมิงเวย์ว่าไว้ “การมีโอกาสจูบแม่สาวสวยหรือเปิดจุกเหล้า จะรีรออยู่ไม่ได้ เพราะของสองสิ่งนี้เป็นเรื่องที่จะต้องลองกันโดยเร็วที่สุด”[๑๔]  นับเป็นวลีกับดักทางเพศสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดที่สุด สำหรับสังคมบริโภคที่ถูกถ่ายทอดมาจากค่านิยมและวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะการพยายามในการกระต้นกามราคะเพื่อสนองต่อการทำกำไรในตลาดเงิน ตลาดทุน ภายใต้เศรษฐกิจระบอบทุนนิยมเสรี

 

๓.๑ ปัญหาจากสิ่งล่อใจทางเพศ

ผู้เขียนขอแบ่งสิ่งล่อใจซึ่งเป็นกับดักที่เกิดจากความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์ ออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังต่อไปนี้

 

๓.๑.๑ สิ่งล่อใจในฝ่ายบรรพชิต

         

ในปัจจุบันมีให้เห็นอย่างดาษดื่นสำหรับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทำตัวเข้ากับกระแสสังคมบริโภค โดยเดินเข้าสู่เส้นทางแห่งโลกียสุข ภายใต้พระเจ้าแห่งเงินตรา หรือระบบทุนนิยม โดยเฉพาะพระเถระที่มีตำแหน่งหน้าที่ทางการบริหารปกครองซึ่งมีอำนาจเงินในกำมือ จึงสามารถ ซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความต้องการ การเสพสุขลุ่มหลงในโลกียรสที่ยิ่งขึ้นก็จะตามมาอย่างไม่มีสิ้นสุด[๑๕]

            พระเถระที่มีสมณศักดิ์ หรือเจ้าอาวาสบางวัดที่มั่งคั่งมีรถเบนซ์ ประจำตำแหน่งราคาหลายล้าน หรือการตกแต่งกุฏิด้วยวัสดุราคาแพง เก้าอี้รับแขกฝังมุก เครื่องเสียงอย่างดี  โทรทัศน์จอยักษ์ราคาเป็นแสน หรือบางรูปนิยมสะสมวัตถุโบราณราคาแพง ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับวิถีชีวิตอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ทั้งสิ้น อีกทั้งการรับหน้าที่เป็นพระในระดับผู้บริหาร หรือพระในตำแหน่งสังฆาธิการ ก็แทบจะไม่มีเวลาในการเจริญเนกขัมมปฏิปทา หรืออบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริกตลอดจนอันเตวาสิกให้อยู่ในกรอบพระธรรมวินัย เพราะต้องง่วนอยู่กับงานเอกสาร งานประชุม และการลงพื้นที่[๑๖] จึงเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรมในที่สุด

แบบจำลองระบบการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์ เป็นฐานด้านจริยธรรมของชาวพุทธ ซึ่งก็คือศีล  ที่ไม่เพียงแต่ทำให้ชุมชนสงฆ์อยู่กันได้อย่างมีระเบียบเท่านั้น แต่หลักเดียวกันยังหมายถึงวิธีการปกครองคณะสงฆ์ ด้วยหนทางของการรับฟังเสียงส่วนใหญ่(democratic way) หากไม่มีข้อวัตรปฏิบัติเกี่ยวแก่วินัย(morality of Sangha) แห่งสงฆ์เสียแล้ว ก็จะทำให้เกิดความประพฤติที่ไม่เหมาะสม จนนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธา อีกทั้งวินัยที่ทรงวางไว้ ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะสงฆ์ แต่ยังเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปด้วย สามารถนำไปใช้ทั้งปัจเจกและส่วนรวมและทุกชั้นวรรณะอย่างเท่าเทียมกัน[๑๗]

 

Robert David Larson หรืออดีตพระสันติกโร(Santikaro Bhikkhu) [๑๘] มองว่า

 

“เคยสังเกตพระในวัด บางทีก็ไม่ค่อยเข้าถึงกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งกับพระเอง และกับประชาชนด้วย ผมวินิจฉัยว่า ระยะหลังเมื่อพระต้องถือพรหมจรรย์ แล้วทางสังคมเอง และสังคมพระเองรู้สึกเป็นเรื่องยาก สังคมก็เลยสร้างรูปแบบขึ้นมา ผู้ชายจำนวนมากที่เข้ามาบวชที่จริงไม่ได้เลือกที่จะมีชีวิตพรหมจรรย์ ผมเองตอน มาบวช ไม่ได้มาบวชเพื่อเลิกทางเพศ แต่เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติธรรม ผมบวชเพื่อศึกษา เพื่อปฏิบัติ แต่มีกฎเกณฑ์ในพระวินัยว่า ต้องอย่างนี้ๆ หลายปีผมก็รับไปปฏิบัติ แต่ตอนหลัง ถูกผิดก็ไม่รู้ ผมมองว่า เมื่อพระจำนวนมากเห็นว่าเรื่องนี้ยาก แล้วโยมก็เป็นห่วงด้วยกลัวว่าพระจะสึกเขาก็เลยสร้างอะไรเพื่อกันพระกับฆราวาส แม้แต่ระหว่างพระเอง เรื่องความรู้สึกก็มักจะเกิดขึ้น ความรู้สึกนั้น ไม่ต้องเป็นเรื่องเพศ แต่พระผู้ใหญ่กลัว ก็เลยพยายามทำทุกอย่างที่อาจจะสร้างความลำบากต่อพรหมจรรย์ ก็กันไว้ ผมสันนิษฐานว่า เพราะไปให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์เกินไป แล้วคนมาบวชส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจจะถือพรหมจรรย์ด้วย ผมมั่นใจว่า พระ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าแต่งงานได้ก็เอา”[๑๙]

           

๓.๑.๒  สิ่งล่อใจในฝ่ายฆราวาส

 

กับดักทางด้านเพศสัมพันธ์ในฝ่ายฆราวาส มีมากมาย เฉพาะอย่างยิ่งกับดักทุนนิยมที่โยงไปถึงสายสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ถูกวางดักไว้ทั่วไปทั้งในบ้านและนอกบ้าน ไล่ตั้งแต่ (๑)ระบบความสัมพันธ์ภายใน ที่หมายถึง กระบวนการทางจิต ที่เกิดขึ้นโดยระบบอายตนะภายในและภายนอกทั้ง ๖ คู่ คือ  ตา(คู่กับรูป) หู(คู่กับเสียง) จมูก(คู่กับกลิ่น) ลิ้น(คู่กับรส) กาย(คู่กับโผฏฐัพพะ) และใจ(คู่กับธรรมารมณ์)[๒๐] จนเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาทางเพศนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในระดับใดระดับหนึ่ง เช่น เมื่อชายหนุ่มเห็นหญิงสาวแล้วเกิดความพึงพอใจ เป็นต้น  และ (๒)ระบบความสัมพันธ์ภายนอก ที่หมายถึง กระบวนเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการภายใน ในกรณีของชายหนุ่มเห็นหญิงสาว หลังจากระบบอายตนะคู่ คือ ตากับรูปทำงานร่วมกัน จนเกิดปฏิกิริยาทางเพศ คือ ความกำหนัด[๒๑]  พึงพอใจในรูปหญิงสาว นำไปสู่การนำตัวเองไปสู่การมีสัมพันธ์ทางเพศด้วย เช่น การเข้าไปพูดจาหรือการแสดงออกด้วยท่าทีต่างๆ กระบวนการภายนอกสามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน เช่น ผู้ชายอาจมีกำหนัดหรือมีอารมณ์ทางเพศ อวัยวะเพศตื่นตัวร่วมด้วยขณะกำลังคุยอยู่กับหญิงสาวก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมากหรือน้อยก็ตาม 

 

ส .ศิวรักษ์ มองว่า

 “ในรอบสามสี่ทศวรรษมานี้ ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนากันมากขึ้น ที่มาประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกก็มีเพิ่มขึ้น แม้นักธุรกิจ นักการเมืองชั้นนำ รวมถึงกวีและนักเขียนที่มีชื่อเสียง ตลอดจนดาภาพยนตร์ หลายคนมีปัญหาเรื่องรักร่วมเพศ บางคนูดกล่าวหาว่าสำส่อนทางเพศ แต่ก็ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เช่น Allen Ginsburg ซึ่งเป็นกวีที่มีชื่อเสียงอย่างมากในสหรัฐฯ และเพิ่งตายจากไปเมื่อเร็วๆนี้เอง เขาเขียนอย่างเปิดเผยว่าเขาไม่อาจห้ามความรักร่วมเพศกับเพื่อนผู้ชายได้ แม้เขาจะซื่อสัตย์กับผู้ชายเพียงคนเดียว แต่เขาก็สำส่อนกับอีกหลายคน ก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป เขานิมนต์พระลามะที่ธิเบตที่เขานับถือเพื่อสารภาพบาปถึงการทุศีลข้อที่ ๓ พระคุณเจ้าให้อนุศาสน์ว่าอย่าไปคำนึงถึงอกุศล ขอให้ตึกตรองในทางกุศลสมาจารที่เขาได้บำเพ็ญมา โดยเฉพาะก็ทานบารมี โดยเฉพาะเขาเจริญเมตตากรุณามาเป็นอย่างยิ่ง นี่แลจะนำเขาไปสู่สุขคติ ส่วนอกุศลก็คงมีวิบากตามไปในสัมปรายภาพด้วยเหมือนกัน แต่ชั่งดูแล้วกุศลผลบุญมีน้ำหนักมากกว่า ถ้าเขาครุ่นคิคเรื่องนี้แล้วนำมาภาวนาตอนก่อนตาย จะช่วยเขาในอันตรภพให้ได้กลับมาเกิดใหม่ในสภาพที่ดียิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน” [๒๒]

 

๓.๒ ปัญหาจากค่านิยมทางเพศ

 

ค่านิยมทางเพศหลายอย่างเกิดขึ้นจากเพศสภาพ เช่น เพศสตรีซึ่งนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศต้องกล้าวิจารณ์วัฒนธรรมเพศในสังคมของตัวเองเพื่อมองให้ทะลุปรุโปร่งว่าการหล่อหลอมเรื่องเพศของพลเมืองในสังคมไทยผ่านระบบการศึกษาแบบทางการที่พร่ำสอนแต่วัฒนธรรมเพศวิถี-เพศภาวะ กระแสหลัก ทำให้คนแต่ละรุ่นตกอยู่ให้อิทธิพลของเพศวิถี-เพศภาวะแนวจารีตอย่างแน่นหนา จนทำให้เรามีชีวิตเพศที่เปราะบางกันแบบทุกวันนี้ อำนาจของจารีต(เช่น ในเรื่องศาสนาหรือความเชื่อต่างๆ –ผู้เขียน) ในเรื่องเพศวิถี ในกดทับ ควบคุม และสร้างความอ่อนแอ “ด้านใน”ให้กับเรา ทำให้หาทางออกจากปัญหาชีวิตของตัวเองไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือเพศอื่นก็ตาม[๒๓]

ในปัจจุบัน บรรดาโครงสร้างหรืออำนาจ จากภายนอกที่เรากลืนกินเข้ามาไว้ในตัวเรา พบเสมอว่าโครงสร้างเรื่องเพศวิถีและเพศภาวะมีอำนาจเหนือเรามากที่สุด โครงสร้างเพศวิถีหมายถึง วัฒนธรรมเพศกระแสหลัก ที่กำลังทำหน้าที่ตีกรอบเรื่องเพศของเราให้เหมือนกันทั้งประเทศ และต้องสอดคล้องกันอย่างดีกับชุดความรู้เรื่องอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น ไม่ควรคุยเรื่องเซ็กส์ เพราะเซ็กส์เป็นสิ่งสกปรก ต่ำ ลามก ผู้ชายเป็นผู้กำหนดเรื่องเซ็กส์ มีเซ็กส์กับคนเพศเดียวกันผิดปกติ ชายแต่งตัวหญิงหรือหญิงอยากเป็นชายก็ผิดปกติวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันก็ผิด หรือผัวทุบตีเมียแค่ลิ้นกับฟันกระทบกัน หญิงท้องก่อนแต่ง คือ หญิงใจแตก หญิงที่ข้องแวะกับการขายบริการเป็นหญิงคนชั่ว หญิงทำแท้งคือ แม่ใจยักษ์  เป็นต้น[๒๔]  

 

๓.๓ ปัญหาการทำแท้ง

 

สิ่งที่น่าสนใจในเมืองไทย คือบทบาทของพระสงฆ์ ซึ่งยากอย่างยิ่งที่จะให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำใดๆเกี่ยวกับเรื่องการทำแท้ง พระสงฆ์ไทยไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับคลินิกทำแท้ง แสดงปฏิกิริยาประท้วง หรือให้คำแนะนำใดๆกับผู้หญิงที่กำลังจะทำแท้ง เหมือนดังการกระทำของพระสงฆ์(ในคริสตศาสนา) และนักกิจกรรมชาวตะวันตกที่นิยมกระทำกัน นี่ไม่ใช่เพราะเหตุ “ไม่ใช่เรื่องของพระสงฆ์ไทย” ฝ่ายสงฆ์ของไทยของไทยยังเห็นด้วยซ้ำว่าการทำแท้ง เป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ไม่ยอมยุ่งเกี่ยวด้วยเนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องทางโลกหรือโลกียวิสัย(Secular) ไมใช่หนทางที่จะไปเกี่ยวข้องด้วย หากควรปล่อยให้เป็นเรื่องของจิตสำนึกละอายต่อบาปของปัจเจกผู้นั้นไป

นอกเหนือไปจากอาการชาเย็นของพระสงฆ์ไทยที่อ้างการคำนึงถึงเรื่องมารยาท(ของสงฆ์)ในการเข้าไปเกี่ยวข้อง และการวางสถานะไว้สูงกว่าที่จะไปยุ่งเกี่ยว  ขณะที่ในส่วนคนพุทธ โดยเฉพาะฝ่ายผู้หญิงชาวพุทธที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำแท้งเองก็มีความรู้สึกไม่สะดวกในการปรึกษาเรื่องนี้กับพระสงฆ์อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปรึกษาปัญหากับแพทย์หรือผู้รู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์เองก็เช่นเดียวกันที่รู้สึกว่า คำถามเกี่ยวกับการทำแท้งไม่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่สละแล้วซึ่งทางโลกีย์ อยู่ในชีวิตด้านจิตวิญญาณ ,ในเมืองไทย ความคิดเหล่านี้กำลังเปลี่ยนอย่างช้าๆ[๒๕] 

เมืองพุทธ อย่างศรีลังกาและประเทศไทย การทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยมีข้อยกเว้นกรณีการช่วยเหลือชีวิตของแม่ที่มีอันตรายจากการตั้งครรภ์หรือในกรณีที่ผู้หญิงถูกข่มขืน ซึ่งกฎหมายไทยมีบทลงโทษที่เข้มงวด  ผู้หญิงที่ทำแท้งหรือถูกนำไปทำแท้งโดยผู้อื่น อาจต้องโทษจำคุก ๓ ปี และปรับ ๓,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโทษสำหรับผู้ที่รับทำแท้งกฎหมายไทย กฎกำหนด จำคุก ๕ปี ปรับ ๕,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและหากผู้หญิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตขณะทำแท้ง บทลงโทษจะเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขอย่างเป็นทางการการทำแท้งของคนไทยตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๖๐ ที่มีเพียงแค่ประมาณ ๕ รายต่อปี อาจเพิ่มขึ้นมากถึง ๓๐๐,๐๐๐ รายต่อปี โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการทำแท้งเถื่อนในคลินิกเถื่อน ยิ่งเขตชนบทของไทยด้วยแล้วที่ยังไม่ทราบมีอีกมาก ตัวเลขนัยสำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การทำแท้งของหญิงไทย เกิดขึ้น ๓๗ คนต่อหญิงมีครรภ์จำนวน ๑,๐๐๐ คน เปรียบเทียบกับสถิติของประเทศอื่น อย่างเช่น แคนาดาอยู่ที่ ๑๑.๑ สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ ๒๔.๒ อังการีอยู่ที่ ๓๕.๓ ญี่ปุ่นอยู่ที่ ๒๒.๖  สิงคโปร์อยู่ที่ ๔๔.๕ และในอดีตสหภาพโซเวียต(รัสเซีย) มีตัวเลขอย่างน่าประหลาดอย่างยิ่ง คือ อยู่ที่ ๑๘๑  ผลการศึกษาในปี ๑๙๘๗ การทำแท้งในเมืองไทยประมาณ ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นเกิดกับหญิงที่แต่งงานแล้ว และเป็นแรงงานภาคเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากมีการคุมกำเนิดที่ดีจะช่วยไม่ให้หญิงต้องหันไปทำแท้งได้มาก”[๒๖]

ความดกดื่นของการคุมกำเนิดและการทำแท้งจะเป็นมาตรวัดความถูกต้องในเรื่องความต้องการทางเพศของเรา ในระยะสั้น การคุมกำเนิดอาจเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อฟื้นฟูความสมดุลระหว่างปริมาณมนุษย์และความสามารถของพื้นผิวโลกที่จะรองรับมนุษย์ไว้ภายหลังเมื่อเรามีวุฒิภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมเพียงพอ เนกขัมมะและการประพฤติพรหมจรรย์ จะมาแทนที่ยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย ขณะที่การทำแท้งยังคงมีอยู่ แม้ไม่เป็นที่ปรารถนาก็ตาม แต่หากได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไป นั่นแสดงว่ากามารมณ์ของเรานั้นยังไม่ฉลาดนักและส่อถึงการขาดความรับผิดชอบความรักอย่างพอเพียง ในสังคมที่ไม่มีอคติทางเพศนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอยู่โดยไม่มีสิ่งนี้ [๒๗]

 

          ๓.๔ ปัญหาโสเภณี

 

การล่วงละเมิดในเชิงศีลหรือวินัยบัญญัติทางด้านเพศ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางเพศ  จนถึงที่สุด คือการร่วมเพศ ระหว่างชายหญิงในฐานะของการเป็นสามี ภรรยา  ซึ่งโยงใยสัมพันธ์ไปถึงพ่อแม่ ลูก ญาติ คนที่รักหวงแหน เป็นต้น เท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงอาชีวะสุจริตอีกด้วย[๒๘] ดังเป็นปัญหาว่า อาชีพบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายนำไปสู่การร่วมเพศ อย่างเช่น อาชีพโสเภณี (prostitution)[๒๙]  และอาชีพแมงดา(pimp)[๓๐]นั้น เป็นสัมมาอาชีวะ หรือมิจฉาอาชีวะ  หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เข้าข่ายกาเมสุมิจฉาจารหรือไม่

เครื่องประกันอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่า พระพุทธศาสนามองการเที่ยวหรือการมีเพศสัม พันธ์(ร่วมเพศ)กับหญิงโสเภณีในเชิงลบ เชิงอกุศล หรือเชิงการให้โทษกับผู้เที่ยว(มีเซ็กส์กับหญิงโสเภณี)  คือ หลักในเรื่องโทษของการเที่ยวกลางคืน ๖ ประการ[๓๑] ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้  ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าสอดคล้องกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงโสเภณี

๑. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตน (เช่น สามารถทำให้เป็นโรคที่เรียกว่า กามโรค หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ มีเรื่องทะเลาะกับพวกแมงดาหรือพวกนักเลงคุมซ่อง เป็นต้น  – ผู้เขียน)

๒. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา (เช่น สามารถนำโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์กับหญิงโสเภณี มาติดบุตรภรรยาได้  , ไม่มีเวลาดูแลเรื่องความปลอดภัยของบุตรภรรยา เป็นต้น –ผู้เขียน )

๓. ชื่อว่าไม่คุ้มครองไม่รักษาทรัพย์สมบัติ(การหมดทรัพย์ไปการเที่ยวหญิงโสเภณี–ผู้เขียน)

๔. เป็นที่สงสัยของคนอื่นด้วยเหตุต่างๆ(แม้ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์หรือมีเซ็กส์กับหญิงโสเภณีก็ตาม แต่การไปเที่ยวตามสถานโสเภณีนั้น ก็ถูกระแวงสงสัยได้ว่า ผู้ที่ไปนั้น ย่อมต้องมีเซ็กส์กับหญิงโสเภณี –ผู้เขียน)

๕.  มักถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องไม่เป็นจริง (ข้อนี้โยงจากเหตุผลในข้อ ๔ การเที่ยวโสเภณี ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำที่ให้ภาพเชิงลบต่อผู้เที่ยวอยู่แล้ว ผู้เที่ยวจึงย่อมมีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการเที่ยวโสเภณีและโยงไปถึงเรื่องอื่นในทางไม่ดีได้ ขณะที่ผู้คนทั่วไปมองภาพของผู้ที่ไปเที่ยวโสเภณีทำนองไม่ดีอยู่แล้ว –ผู้เขียน) 

๖.  ทำให้เกิดความลำบากมากหลายอย่าง( จากเหตุผลทั้ง ๕ ข้อข้างต้น รวมแล้วหมายถึง การเที่ยวโสเภณีทำให้ลำบากทั้งต่อตนเอง ลำบากต่อครอบครัว และลำบากต่อสังคม –ผู้เขียน)

 

ใน สิงคาลกสูตร ก็กล่าวพ้องกันว่า การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น และเป็นนักเลงหญิง เป็นเหตุหนึ่งที่ทำลายให้บุรุษพินาศ[๓๒] ในครั้งพุทธกาลพระวิมลาเถรีผู้เคยเป็นหญิงคณิกาหรือเป็นโสเภณี(บางทีเรียกหญิงแพศยา)มาก่อน สะท้อนถึงพฤติกรรมแห่งอาชีพของตนในอดีตก่อนออกบวชจนบรรลุอรหันต์ว่า โสเภณีเป็นอาชีพสำหรับลวงชายโง่ ด้วยเครื่องแต่งกายและจริตมายาของหญิง  เช่น อวดอวัยวะส่วนที่ควรปกปิด ทั้งตัวโสเภณีเองยังหลงในความสวยของตัวเองก็มี[๓๓] จึงเป็นมิจฉาอาชีวะเช่นเดียวกัน สมัยพุทธกาลมีโสเภณีจำนวนมากที่เลิกอาชีพ“ขายของเก่า”(ร่างกาย) มาปฏิบัติธรรมเป็นภิกษุณี และเป็นอุบาสิกา มีโสเภณีจำนวนไม่น้อยที่บรรลุธรรมในขั้นเป็นพระอริยบุคคล คือ ตั้งแต่ระดับโสดาบันขึ้นไป  อย่างเช่น  พระวิมลาเถรี(อรหันต์) นางสิริมา(พระโสดาบัน) นางอัมพปาลี( พระอรหันต์)พระอัฑฒกาสีเถรี (พระอรหันต์) เป็นต้น พระพุทธองค์เองตรัสถึงโทษของการใช้ชีวิตสุดโต่งในรูปแบบกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยคไว้ใน คณิกาสูตร ซึ่งพระสูตรนี้ เกิดจากการทะเลาะวิวาทแย่งชิงหญิงโสเภณีของนักเลง ๒ พวก จนถึงขั้นเสียชีวิต[๓๔] พระพุทธเจ้าตรัสด้วยว่า  การเสพกามยังเป็นเครื่องขัดขวางพรหมจรรย์ คือการดำเนินชีวิตประเสริฐสุดของมนุษย์และเป็นเหตุให้กุศลมูล ๓ คือ โลภะ โมหะ โทสะ ครอบงำจิตใจของมนุษย์ ส่งผลให้มนุษย์ทำชั่วได้ง่ายขึ้น จึงถือว่าโสเภณีเป็นอาชีพที่น่าติเตียน[๓๕]  ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจโสเภณีที่อยู่ในกลุ่มหรือแวดวงเดียวกันด้วย

 

๔. กับดักที่เกิดปัญหาด้านการศึกษา(สิกขา)

 

          สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงริเริ่ม ปฏิรูปการศึกษาแบบใหม่  พระองค์ทรงมีความเข้าใจว่า การจัดการศึกษาให้ได้ผลดี  จะต้องจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองใหม่โดยจับมือกับฝ่ายบ้านเมืองเพื่อเสาะพระผู้รู้ภาษามคธ ผู้สอบได้เป็นเปรียญสูงๆ เป็นพระราชาคณะเพื่อช่วยปกครองสังฆมณฑลโดยผูกอำนาจกรปกครองไว้กับระบบสมณศักดิ์ที่พระองค์ทรงจัดทำเนียบขึ้นมาใหม่ ซึ่งในเวลาต่อมาพระสมณศักดิ์นี้กลับกลายเป็นเป้าหมายการศึกษาของพระภิกษุสามเณรไปโดยปริยงาย แทนที่จะศึกษาเพื่อเข้าถึงนามธรรมอันลึกซึ้ง แต่กลับเรียนเพื่อไต่เต้าในทางสังคมสงฆ์ เพื่อสมณศักดิ์ หรือการเป็นพระสังฆาธิการ หาไม่ก็เตรียมสึกออกไปทำมาหากิน[๓๖]

            เมื่อมิติทางปรมัตถธรรมเริ่มเสื่อมสูญ ผนวกกับการศึกษาที่ขาดวิปัสสนาหรืออธิจิตสิกขา ย่อมทำให้โลกทรรศน์และวิถีชีวิตของพระภิกษุสามเณรฝักใฝ่ในวัตถุมากขึ้นประดุจเดียวกับคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามโภคี ด้วยทัศนะคติที่ไม่สอดคล้องกับไตรสิกขา ไม่เป็นไปเพื่อการเรียน เพื่อรู้แจ้งเห็นจริง เน้นการเลื่อนสถานะทางสังคมมากกว่า จึงทำให้การศึกษาของสงฆ์ตกลงสู่วงจรความเสื่อมสูญอย่างรวดเร็ว[๓๗] มองในแง่นี้ประเด็นปัญหาของพระภิกษุ จึงยังไม่เลยออกไปเจตนารมณ์เบื้องลึก คือ การยึดถือตามเพศสภาพ  คือ ความเป็นบุรุษเพศอยู่

นอกจากนี้ ปัญหาด้านการศึกษาของสงฆ์ ก็เป็นสาเหตุของของความเสื่อมศรัทธาในตัวพระสงฆ์ และองค์กรสงฆ์ ตลอดถึงองค์กรอื่นๆในพระศาสนาด้วยเช่นกัน  เพราะพระธรรมวินัย คือ ตัวเนื้อของพระพุทธศาสนา และสิ่งที่ดำรงพระพุทธศาสนาไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและสืบไปต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง  “การศึกษาพระธรรมวินัย”  หากภิกษุเล่าเรียนกันมาผิด จนเกิดความฟั่นเฟือนในพระธรรมวินัย จะเป็นอันตรายที่ร้ายกาจยิ่งกว่าภัยใดๆ ยิ่งกว่าภัยใดๆแห่งพระพุทธศาสนา เพราะการศึกษาที่ผิดพลาด เป็นเหตุทำให้เกิดการตัดต่อดัดแปลง หรือกระทั่งการปลอมปนพระธรรมวินัย ซึ่งจะนำไปสู่ความสับสนไขว้เขวและหลงประเด็น ทำให้เกิดความสับสนระหว่างความคิดเห็นของบุคคลและหลักการ ระหว่างหลักฐานข้อมูลเดิมกับการตีความ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ได้พิสูจน์และยืนยันว่า ใครก็ตามที่กระทำต่อพระธรรมวินัย ด้วยการบิดเบือนพระธรรมวินัยให้วิปริต ถือว่าเป็นภัยที่ร้ายแรง[๓๘]  

ขณะเดียวกันในชุมชน(สงฆ์) หากละเลยหรือไม่ประสบความสำเร็จในการฝึกฝนจิตใจให้เข้าถึงความสุขอันประณีต เช่น สุขจากสมาธิ หรือความสงบเย็นจิตใจก็จะยิ่งเป็นทุกข์เพราะสุขจากเพศรสก็ไม่ได้ประสบสัมผัส จิตใจที่เหี่ยวแห้งและเคร่งเครียดเช่นนี้ย่อมโหยหาความสุขจากเพศรสหนักขึ้น อาจจะยิ่งกว่าฆราวาสซึ่งยังมีความสุขจากเพศรสมาหล่อเลี้ยงใจด้วยซ้ำ ผลที่ตามมาก็คือการหวนไปหาเซ็กส์ หากหวนด้วยการสึกไปเป็นฆราวาส ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้ากลับไปเสพเพศรสขณะที่เป็นภิกษุ ก็จะเกิดผลเสียตามมาทั้งต่อตนเองและคณะสงฆ์ รวมทั้งศรัทธาของญาติโยมที่มุ่งหวังให้ท่านเป็นแบบอย่างของผู้พากเพียรเพื่อ จิตที่เป็นอิสระเหนือโลก หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นแบบอย่างในทางชีวิตพรหมจรรย์[๓๙]

         

๕.กับดักที่เกิดจากระบบเทคโนโลยี

 

การถือกำเนิดขึ้นของการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ เสมือนการปริวรรตการสื่อสารของมนุษย์ครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อการแปลี่ยนแปลงองคาพยพต่างๆของมนุษย์ทั่วโลก และเป็นที่แน่นอนด้วยว่ากระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อความเป็นไปของพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิก(พุทธบริษัท)อย่างเลี่ยงไม่ได้  เพราะบรรดาพุทธศาสนิกมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร  ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้มีทั้งส่วนสร้างสรร(constructive implement) และส่วนทำลาย(destructive implement)  หากไม่มีการคำนึงถึงปทัฏฐานคือ หลักธรรมวินัยในระดับต่างๆ  ตั้งแต่ระดับต้น ระดับกลางและระดับสูง รวมถึงการคำนึงถึงสถานภาพของแต่บุคคลอีกด้วย

 

๕.๑ สื่อออนไลน์

 

สื่อออนไลน์ (Online media) หมายถึง ตัวกลาง(สื่อ)ที่เชื่อมเพื่อให้เกิดการติดต่อระหว่างผู้ต้องการติดต่อทั้ง ๒ ฝ่ายเข้าด้วยกัน จากหนึ่งไปหาหนึ่งหรือจากหนึ่งไปหาบุคคลมากกว่าสอง ซึ่งเป็นการติดต่อผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (internet)[๔๐] ทั้งผ่านระบบสาย(cable)และไร้สาย(wireless)    

 ในปัจจุบันการใช้สื่ออนนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน  เป็นการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทำให้การรับทราบข้อมูลของกันและกันระหว่างปัจเจกบุคคล และระหว่างปัจเจกบุคคลกับพหุบุคคล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงในแง่เศรษฐกิจก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารได้มากกว่าการสื่อสารประเภทอื่นๆ

การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นสังคมผู้ใช้สื่อออนไลน์ หรือสังคมออนไลน์(social media) โดยนับตั้งแต่การติดต่อสื่อสารออนไลน์ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป

 

๕.๒ ความสำคัญของสื่อออนไลน์และพรหมจรรย์

           

เมื่อมีการใช้สื่อออนไลน์อย่างแพร่หลายทุกวงการ ย่อมหมายรวมว่า พระพุทธศาสนา คือ ตัวพุทธศาสนิกย่อมกระทบไปด้วย  ซึ่งเป็นใน ๒ ส่วน ได้แก่ ฝ่ายบรรพชิต(นักบวช/ภิกษุ) และฝ่ายคฤหัสถ์(ผู้ครองเรือน) ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ “ความเหมาะสมต่อการใช้สื่อสารผ่านระบบออนไลน์” หรือ การเข้าไปอยู่ในสังคมออนไลน์ของบรรดาชาวพุทธทั้ง ๒ ฝ่ายเหล่านี้ 

            ฝ่ายที่อิงหรืออยู่กับพระวินัย คือ ภิกษุนั้น  ได้รับผลกระทบใน ๒ ส่วน คือ

๑)     ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อออนไลน์ โดยพิจารณาจากสถานภาพความเป็นเพศนักบวช

เพศนักบวช หรือภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นเพศที่อาศัยพระวินัย สำหรับการครองตนหรือดำรงในสถานะนี้  การใช้สื่อไลน์จึงต้องย่อมต้องระมัดะวัง โดยการคำนึงถึง ๒ ส่วน คือ  หนึ่ง คำนึงถึงพระวินัย  เช่น  ความเหมาะสมในการติดต่อกับอุบาสิกา(โยมผู้หญิง) ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งในเชิงคำพูด รูปภาพ หรือเวลา ที่อาจส่อไปในทางการแสดงออกถึงราคะจริต ,และ สอง คำนึงถึงธรรม ซึ่งเป็นแนวทางและเป้าหมายของพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ การคำนึงการประพฤติพรหมจรรย์    

๒)     ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อออนไลน์ โดยพิจารณาคุณและโทษของการเผยแผ่พระศาสนา

สื่อออนไลน์ มีประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน หากไม่รอบคอบรัดกุม การใช้สื่อประเภทนี้ยังมีในส่วนที่เป็นโทษอีกด้วย ในกรณีการเผยแพร่ข้อมูลหรือความรู้ด้านธรรมวินัยที่ผิด(มิจฉาทิฏฐิ) 

“เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง  สัทธรรมก็เสื่อมสูญไปสิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด    ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ,ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไปและเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก    เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด    ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป  แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก    เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป  ฉันนั้นเหมือนกัน”[๔๑] การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจเพื่อการเผยแผ่ที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ควรวางความเข้าใจว่า หลักพุทธธรรมเองก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์เฉพาะปัจเจกเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงส่วนรวมอย่างมากอีกด้วย  ทำให้สังคมในวงกว้างเกิดความสุข สงบ สันติ ขณะที่ตัวจริยศาตร์หรือจริยธรรมเองก็เป็นของสากล แม้ว่าแต่ละลังคมจะมีเนื้อหาในส่วนของรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังก่อนหน้านี้ ที่มีผู้วิจารณ์ทัศนะในส่วนของเป้าหมายซึ่งเป็นเนื้อหาพุทธธรรมว่า เป็นไปในเชิงเกื้อกูลจำเพาะปัจเจก หาใช่เพื่อส่วนรวม ทัศนะวิจารณ์ดังกล่าว จึงไม่เป็นความจริง[๔๒]

 

๕.๓ สื่อออนไลน์นำพุทธสู่สากลแต่พึงระวังข้อมูลย้อนกลับ

 

ศาสนาที่อยู่ในธง  ในวัด หรือในรัฐธรรมนูญ  ย่อมมีความมั่นคง เป็นส่วนหนึ่งของยี่ห้อที่คนยึดถือเป็นอัตลักษณ์ของตัว แต่ก็ไม่มีความหมายอะไรจนกว่าศาสนาจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คน[๔๓] การใช้การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ จึงเป็นการนำพระพุทธศาสนาออกนอกวัด ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงการสื่อสารผ่านในวัด หรือผ่านวัด(พระ) เท่านั้น แต่การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ยังทลายกำแพงวัดลงอย่างราบคาบ การรับรู้ หรือแสวงหาความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาไม่ถูกจำกัดอยู่แค่คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกลุ่มวัด (ภิกษุ และฆราวาสที่เข้าวัด หรือเข้าหาพระ)  ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดให้ข้อมูลทั้งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไหลเข้าไปในวัด และนี่จะนับเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา หากภิกษุ ไม่รู้เท่าทัน หรือปล่อยใจ ปล่อยวาจา และปล่อยกายไปตามข้อมูลที่ไม่เหมาะสม กับการที่สมณเพศจะพึงเสพ เช่น การดูภาพเปลือย(nude)  หรือภาพยนต์ที่เกี่ยวกับการร่วมเพศ (หนังเอ็กซ์)ผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

 John H. Crook กล่าวถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก(linkages between east and west) ในสถานการณ์ของโลกสมัยของพระพุทธศาสนาว่า เป็นเพราะคน ๒  ฝ่าย คือ กลุ่มนักคิด(ชาวพุทธ)ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มผู้สนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา(ผ่านทุนและอื่นๆ)อีกฝ่ายหนึ่ง ทุกเพศสภาพและทุกสถานภาพ ซึ่งสภาพของโลกของเราในเวลานี้กลวงโบ๋ เต็มไปด้วยการโป้ปดมดเท็จ เป็นโลกในยุคคอนกรีตและคอมพิวเตอร์ ซึ่งมนุษย์เองเป็นผู้ผลิตสิ่งเหล่านี้ออกมา  พร้อมกันกับการเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดของลัทธิปัจเจกนิยมที่เน้นความเป็นส่วนตัว ความเป็นตัวของตัวเอง ประเภทใครปรารถนาจะทำอะไรตามใจก็ได้[๔๔] (individual life /ปรัชญาตะวันตก โดยนักปรัชญาจำนวนหนึ่ง เสนอกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งต่อมากลายเป็นจารีต  คือ การดำเนินชีวิตมีเสรีได้ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น -ผู้เขียน)  

จารีตที่ได้จากการค้นพบในช่วงหลายปีมานี้ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งกายและใจ จากยุคแห่งการสำรวจเพื่อศึกษา(exploring)พฤติกรรมของมนุษย์จนกระทั่งถึงยุคของการทดสอบจิตร่วมสำนึก (consciousness)  ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อจำแนกถึงความแตกต่างระหว่าง ฉัน/กู (me/สำนึกในตัวตน –conscious of self) กับ ฉัน/กู( I /สติในตัวตน-self awareness)  ผลที่ได้ ก่อให้เกิดกระแสการเคลื่อนย้ายความคิดจากทฤษฎีการกระทำ(action theory) ไปสู่การเพ่งพิจารณาถึงพฤติกรรมของผู้กระทำ ตลอดถึงทฤษฎีการเคลื่อนไหว(motion theory) แม้แต่การเพ่งพิจารณาจากฐานขั้นต่ำของกระบวนการทั้งหมด ก็ปรากฎว่าทั้งหมดเชื่อมโยงกับจิตร่วมสำนึก(consciousness)[๔๕]

            การใช้ระบบออนไลน์ของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานภาพภิกษุ  จึงเสมือนเป็น กับดัก ที่อันตราย ผ่าน  รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส  หรือกามคุณทั้ง ๕ [๔๖] เช่น การใช้สัญลักษณ์ทางเพศ(sex symbol) เป็นเครื่องมือโฆษณาการค้า โดยที่ตัวภิกษุเองรับสื่อประเภทนี้เข้าไปโดยไม่รู้เท่า หรือ อาจรับโดยรู้เท่า แต่ยังฝืนกระทำการที่เป็นการฝ่าฝืนธรรมวินัย อย่างน้อยก็ในส่วนของเสขิยวัตร หรือไม่ก็การกระทำดังกล่าวเป็นโลกวัชชะหรือโลกติเตียน อย่างเช่น การคุยออนไลน์(chatting)กับสีกาในเรื่องทางเพศ หรือการเกี้ยวพาราสีสีกา เป็นต้น 

 

๖.สรุป

 

กับดักที่เกิดจากเพศสัมพันธ์เกิดจากความโลภ โกรธ หลง ต่อวัตถุทางเพศ ซึ่งหมายถึงบุรุษ-สตรีที่ดึงดูดซึ่งกันและกัน[๔๗]  การเลี่ยงกับดักทางเพศจำเป็นต้องรู้เท่าทันต่อกระบวนการเพศสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นระบบอายตนะภายใน และส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ ซึ่งพระพุทธศาสนาเสนอวิธีการ “ใช้สติสัมปชัญญะ” เพราะลำพังการอาศัยระบบปริยัติเพียงอย่างเดียว โดยไม่อาศัยการเจริญจิตสิกขาเลยนั้น ย่อมไม่สามารถนำพาให้พ้นไปจากกับดักที่อันตรายนี้ได้ทั้ง ๒ สถานภาพ คือ ทั้งฝ่ายนักบวชและฝ่ายผู้ครองเรือน จำเพาะฝ่ายนักบวช นับว่ากับดักที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงสถานภาพอันมั่นคงในเพศบรรพชิต ด้วยคำนึงถึงพระวินัยและคำนึงถึงธรรมทั้งในที่ลับและที่แจ้ง สมควรแก่ผู้ที่ชาวบ้านเรียกว่า “เป็นเนื้อนาบุญของโลก”[๔๘]  

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

๑.เอกสารภาษาไทย

ก.ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙

 

ข.ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑)หนังสือ

นิธิ เอียวศรีวงศ์ . พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย .กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๓

บุญมี แท่นแก้ว  . ความจริงของชีวิต   . (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ ,๒๕๔๒

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ . กรุงเทพมหานคร : บริษัทนานมีบุ๊คส์

พับลิเคชั่นส์ จำกัด, ๒๕๔๖

พระเฉลิมชาติ  ชาติวโร(อิทธะรงค์) . ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย,

กรุงเทพมหานคร : นวสาส์นการพิมพ์ , ๒๕๕๒

พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต) . พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความพิมพ์ครั้งที่ ๘ .

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๔๒  

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) . พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ .พิมพ์ครั้ง

๑๕ .กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๓

พระพรหมมังคลาจารย์(หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) .ธรรมะจากพระพรหมมังคลาจารย์(หลวง

พ่อปัญญานันทภิกขุ) .กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อรุณอัมรินทร์ธรรมะ , ๒๕๕๓

พระไพศาล วิสาโล . พุทธวิบัติ : อนาคตสำหรับพุทธศาสนาในไทยว่าด้วยคณะสงฆ์ .

.กรุงเทพมหานคร : โครงการวิถีทรรศน์ , ๒๕๕๒

_________. เซ็กส์กับพุทธ(บทความ) . จากหนังสือ October 11 .กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์

Openbooks, ๒๕๕๔

พิทยา ว่องกุล . พุทธวิบัติ : สถาบันสงฆ์ทิศผิดทางหรือ?. กรุงเทพมหานคร : โครงการวิถี

ทรรศน์ , ๒๕๕๒

วิทยากร เชียงกูล . ธรรมะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนได้อย่างไร . (กรุงเทพมหานคร

: สำนักพิมพ์บุญญปัญญา , ๒๕๔๓

ส. ศิวรักษ์ . พุทธศาสนากับปัญหาทางเพศและสีกากับผ้าเหลือง . กรุงเทพมหานคร :  บริษัท

ส่องศยาม, ๒๕๕๓

สันติกโร ภิกขุ . แปลโดย จิรธัมม์ .  อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม . กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์สุขภาพใจ , ๒๕๔๒

เอ.อี. ฮอทชเนอร์  . ปาปาเฮมิงเวย์ .  แปลโดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ . พิมพ์ครั้งที่ ๔ .

กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สมิต , ๒๕๓๙

 

(๒) วิทยานิพนธ์

เสนาะ ผดุงฉัตร  . พุทธศาสนากับปัญหาเพศพาณิชย์ . สารนิพนธ์พุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต ,

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕

 

(๓) วารสารและสิ่งพิมพ์

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ , ” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗ กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

สุชาดา ทวีสิทธิ์ . “เพศวิถีมีชีวิต…การเปลี่ยนแปลงจากภายใน” , เพศวิถีศึกษา . ปีที่ ๑  (๒๕๕๔)

: ๒๓-๒๔

 

(๔) สาระสังเขปออนไลน์

มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ .  “ถ้าเราเป็นตัวปลอมจะดับทุกข์ไม่ได้” .[ออนไลน์] . แหล่งที่มา :

http://epsie.wordpress.com/2006/01/07/robert-david-larson–อดีต-สันติกโรภิกขุ/   [๒๐ ก.พ. ๒๕๕๕].

Dictionary.com.online.[online].source: http://dictionary.reference.com/browse/online?s=t

[Sept, 10.2012]

 

๒.เอกสารภาษาอังกฤษ

Aronson, Harvey  B. .Love and Sympathy in Theravada Buddhism .Delhi : Motial

Banarsidass,1980

Crook , John H. . Buddhist Behavioral Codes and the Modern World : An International

Symposium.  Westport : Greenwood Press ,1994

Keown  Damien. Buddhist Ethics : A very short introduction. New York :  Oxford

University Press,2005

Sunanda Putuwar .  The Buddhist Sangha Paraigm of the I deal Human

Society . Maryland :University Press of America, 1991

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

ทางออกของปัญหาสถาบันสงฆ์ไทย[๔๙]

 

ความเป็นไปขององค์กรชาวพุทธไทยในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า ภาคประชาชนชาวพุทธ มีทิศทางเชิงปฏิภาคกับความเป็นไปของคณะสงฆ์  ดังนี้

๑.การที่ภาคประชาชนไม่ได้เป็นภาคส่วนที่ช่วยทำหน้าที่ในการตรวจสอบพระสงฆ์ เพื่อความสมดุล โปร่งใส อีกต่อไป ต่างจากเมื่อก่อนที่แม้มีคณะวินัยธรก็ตาม แต่ประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของที่ช่วยกันตรวจสอบวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่วัตรปฏิบัติไม่ดี ก็จะถูกภาคประชาชนชาวพุทธอัปเปหิออกไปจากชุมชน หรืองดการสนับสนุนต่อภิกษุรายรูป หรือต่อวัดนั้นๆ

๒.การที่ภาคประชาชน ไม่เห็นความสำคัญของการพึ่งพาคณะสงฆ์ เนื่องจากสถานการณ์ที่เรียกว่า “คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติธรรม” มีมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการที่ชาวพุทธมีความรู้มากขึ้นบนฐานแหล่งความรู้ที่กว้างและหลากหลายในโลกกว้าง มีการทำให้เข้า (adapt) กับความต้องการหรือจริตทางด้านความชอบ ความสนใจของตัวเอง โดยตัวเองมากขึ้นทุกที  ทำให้สงฆ์มีบทบาทเป็นแค่ผู้มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เช่น งานบุญ งานศพ เท่านั้น

๓.  ฝ่ายสงฆ์ขาดการนำศาตร์สมัยใหม่มาบูรณาการ (integration)กับหลักพุทธธรรม เรื่องนี้ ส่งผลต่อการเผยแผ่พุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีโจทย์(คำถาม)ใหม่ทั้งในเชิงความเชื่อ เชิงปรัชญา และเชิงศาสนาเกิดมามากมาย หากแต่สงฆ์ไทยส่วนใหญ่ยังคงมุ่งตอบโจทย์ปัญหาแบบเดิมๆ

            ๔. ช่องว่าง(gap)ในเชิงเป้าประสงค์ ระหว่างสงฆ์กับชาวพุทธมีมากขึ้น พระสงฆ์จำนวนมากขึ้นสนใจ “ศาตร์ทางโลก”  (ส่วนหนึ่ง ดูได้จากระบบการสอบปรียญธรรมที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า และมีทีท่าว่าจะต้องเลิกในอนาคต) ขณะที่ชาวพุทธที่เป็นชาวบ้านกลับสนใจ “ศาสตร์ทางธรรม” หรือสนใจทางธรรมหรือธรรมวินัยทั้งในส่วนของการศึกษาและส่วนของการปฏิบัติ ไม่รวมถึงวัฒนธรรมสงฆ์ไทยเชิงจารีต ที่มุ่งเน้นการสร้างศาสนวัตถุอย่างปราศจากการวางแผนรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวของศาสนา

             ๕. การเคลื่อนไหวของคณะสงฆ์ไทยที่เป็นทางการ นอกจากไม่กระฉับกระเฉงแล้ว ยังไม่กล้าตัดสินหรือชี้ทางออก ถูก-ผิด ของปัญหาของสังคมในประเด็นร่วมสมัยต่างๆ  อย่างน้อยก็เป็นแนวทาง(guideline) บนความเข้มข้น(ของทางออก ถูก-ผิด)ในระดับต่างๆ  เรื่องนี้แม้อาจถูกมองว่า สงฆ์ไปยุ่งเรื่องของชาวบ้าน และสังคม (แน่นอนว่าต้องดูถึงระดับของความเหมาะสมของการเข้าไปยุ่ง) แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การเข้าไปยุ่งเกี่ยวดังกล่าวเป็นการคงบทบาทของคณะสงฆ์ต่อชุมชนชาวบ้านในระดับต่างๆ ตลอดถึงชุมชนประเทศ และต่างประเทศ (ดังการทำงานขององค์ดาไล ลามะ เป็นต้น)

พุทธบริษัทสภา หรือสภาชาวพุทธ ที่ประกอบด้วย  ๓ ฝ่าย คือ สงฆ์ รัฐ และชาวบ้านพุทธ(คฤหัสถ์) รวมทั้งเงินทุนเพื่อใช้สำหรับขับเคลื่อน น่าจะเป็นองค์กรทางเลือกหนึ่งในยุคนี้ และในอนาคต เลยออกไปจากบริบทโครงสร้างการบริหารแบบเดิมของคณะสงฆ์

 

 

 


[๑] พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของคำว่า พรหมจรรย์ไว้ดังนี้ “จริยะอันประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ,ตามที่เข้าใจกันหมายถึงความประพฤติเว้นเมถุนหรือการครองชีวิตดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน แต่ที่จริงนั้นพรหมจรรย์คือ พรหมจริยะ เป็นหลักการที่ใช้ในแง่ความหลากหลาย ดังที่อรรถกถาแห่งหนึ่งประมวลไว้ ๑๐ นัย  คือ หมายถึง ทาน ไวยาวัจจ์(การขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์) เบญศีล อัปปมัญญาสี่(คือพรหมวิหารสี่) เมถุนวิรัติ (คือการเว้นเมถุน) สทารสันโดษ(คือความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน) ความเพียร การรักษาอุโบสถ อริยมรรค พระศาสนา(อันรวมไตรสิกขาทั้งหมด) เฉพาะอย่างยิ่งความหมายสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลัก คือ ๒ นัยสุดท้าย (อริยมรรค และพระศาสนา),พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ , พิมพ์ครั้ง ๑๕, (กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕), หน้า ๒๕๗-๒๕๘

 

[๒] หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  เรียกว่า ธรรมวินัย  มาจาก ส่วนของพระธรรมกับส่วนของพระวินัย-ผู้เขียน

[๓] เป้าหมายของการประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธศาสนาคือ การบรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ นิพพาน เรียกว่า “อยู่จบพรหมจรรย์” , ที.สี.(ไทย)๙/๒๔๘/๘๔,ที.ปา.(ไทย)๑๑/๑๑๖/๘๗

[๔] เพศสัมพันธ์ หมายถึง เพศสัมพันธ์ (Sexual Relations) หรือความสัมพันธ์ทางเพศ มาจาก ๒ คำรวมกันคือคำว่า”เพศ”หมายถึง รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย ตรงกับลิงค์หรือลึงค์ ,เครื่องแต่งกาย, รวมถึงการประพฤติตนในรูปแบบต่างๆ เช่น สมณเพศ เป็นต้น ส่วนคำว่า “สัมพันธ์” หมายถึง ผูกพัน เกี่ยวข้อง  ,พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ , (กรุงเทพมหานคร : บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด,๒๕๔๖), หน้า ๘๐๑ และ ๑๑๗๐ , เมื่อรวม ๒ คำเข้าด้วยกันจึงหมายถึง การผูกพันหรือเกี่ยวข้องระหว่างหญิงชาย  จัดเป็นความผูกพันเกี่ยวข้องทางเพศที่มีเป้าหมายนำไปสู่อารมณ์ใคร่ทางเพศ ถึงกระทั่งถึงที่สุดคือ การร่วมเพศ(Sexual Intercourse) ไม่ว่าการกระทำนั้นจะบรรลุเป้าหมาย(การร่วมเพศ)นั้นหรือไม่ก็ตาม-ผู้เขียน

[๕] วิ.มหา.(ไทย)๑/๓๙/๒๙

[๖] วิ.มหา.(ไทย)๑/๒๓๔/๒๕๑

[๗] ดูรายละเอียดใน องฺ. สตฺตก.(ไทย) ๒๓/๕๐/๘๒-๘๕

[๘] บุญมี แท่นแก้ว  ,ความจริงของชีวิต   ,(กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ ,๒๕๔๒ ),หน้า ๗๒-๗๓  

[๙] อ้างแล้ว

[๑๐] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หน้า ๓๙๖

[๑๑] ขอให้สังเกตุว่า การลงทุนเพื่อการเพศสัมพันธ์ ซึ่งต่อปลายทางไปถึงการร่วมเพศ เป็นการลงทุนจำนวนมากชนิดนับแทบไม่ถ้วน มีทั้งแบบที่เป็นพิธีการ  เช่น การคบหาเป็นคู่รัก(แฟน)แบบเปิดเผย การหมั้น การแต่งงาน  เป็นต้น และแบบที่เป็นนอกพิธีการ   เช่น การคบหาเป็นคู่รัก(แฟน)แบบไม่เปิดเผย การเล่นชู้  การมีภรรยาน้อย  เป็นต้น ล้วนแต่ต้องใช้เงินหรือทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจทั้งสิ้น ทั้งมีการใช้จ่ายเพื่อการทำนองนี้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

[๑๒] พระพรหมมังคลาจารย์(หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) ,ธรรมะจากพระพรหมมังคลาจารย์(หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ), (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อรุณอัมรินทร์ธรรมะ , ๒๕๕๓),  หน้า ๔๕

[๑๓] วิทยากร เชียงกูล , ธรรมะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนได้อย่างไร , (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บุญญปัญญา , ๒๕๔๓) หน้า ๕๑

[๑๔] เอ.อี. ฮอทชเนอร์  , ปาปาเฮมิงเวย์,  แปลโดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ , พิมพ์ครั้งที่ ๔ , (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สมิต , ๒๕๓๙) ,หน้า ๒๓

[๑๕] พิทยา ว่องกุล , พุทธวิบัติ : สถาบันสงฆ์ทิศผิดทางหรือ?,(กรุงเทพมหานคร : โครงการวิถีทรรศน์ , ๒๕๕๒),หน้า ๙

[๑๖] พระไพศาล วิสาโล , พุทธวิบัติ : อนาคตสำหรับพุทธศาสนาในไทยว่าด้วยคณะสงฆ์ , (กรุงเทพ มหานคร : โครงการวิถีทรรศน์ , ๒๕๕๒),หน้า ๔๔

[๑๗] Sunanda Putuwar , The Buddhist Sangha Paraigm of the I deal Human society,(Maryland :University Press of America, 1991)  p. 11

[๑๘] Robert David Larson หรืออดีตพระสันติกโร(Santikaro Bhikkhu)เกิดเมื่อปี ๒๕๐๐ ที่นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวคริสเตียน นิกายโปรเตสแตนต์ สำเร็จการศึกษาทางด้านศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวาทศิลป์ Liberal Arts (Rhetoric) จาก University of Illinois แล้วผันชีวิตมาเป็นอาสาสมัครของหน่วยอาสาสมัครเพื่อสันติภาพสหรัฐอเมริกา (Peace Corps) ในเมืองไทยเมื่อปี ๒๕๒๓ กระทั่งออกบวชเกือบครึ่งชีวิต อุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ โดยท่านปัญญานันทภิกขุเป็นพระอุปัชฌาย์ สันติกโรยังเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (INEB) และเป็นที่ปรึกษาสมาคมนพลักษณ์ไทย 

[๑๙]อดีตสันติกโรให้สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่  ๑๕ ฉบับที่ ๖๘๔  วันจันทร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๙ , ดูรายละเอียดใน มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ .  “ถ้าเราเป็นตัวปลอมจะดับทุกข์ไม่ได้” .[ออนไลน์] . แหล่งที่มา : http://epsie.wordpress.com/2006/01/07/robert-david-larson–อดีต-สันติกโรภิกขุ/   [๒๐ ก.พ. ๒๕๕๕].

                [๒๐] ที.ปา.(ไทย)๑๑ /๑๔๖ /๑๗๖

[๒๑]  ดูรายละเอียดใน ม.อุ. (ไทย) ๑๔ /๑๙๐ /๒๒๘

[๒๒]   ส. ศิวรักษ์, พุทธศาสนากับปัญหาทางเพศและสีกากับผ้าเหลือง, (กรุงเทพมหานคร :  บริษัทส่องศยาม, ๒๕๕๓)  หน้า ๓๑

[๒๓] สุชาดา ทวีสิทธิ์ . “เพศวิถีมีชีวิต…การเปลี่ยนแปลงจากภายใน” , เพศวิถีศึกษา . ปีที่ ๑  (๒๕๕๔) : ๒๓-๒๔

[๒๔] เรื่องเดียวกัน  :  ๑๖

[๒๕] Keown  Damien, Buddhist Ethics : A very short introduction, (New York :  Oxford University Press,2005) , p.93

 

[๒๖]  Ibid., p.92 , ข้อมูลตัวเลขการทำแท้งของคนไทยในปัจุจุบัน (ค.ศ.๒๐๑๒) เทียบจากภาค(หมวด)กิจกรรมธุรกิจต่างๆ เช่น ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ หรือกระทั่งในภาคการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นตัวเลขจำนวนผู้ทำแท้งในภาคต่างๆ จึงย่อมต่างไปจากปี ค.ศ.๑๙๘๗ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เช่น กระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้มีการประมวลข้อมูลตัวเลขจำนวนผู้ทำแท้งใหม่เป็นประจำทุกปี-ผู้เขียน

[๒๗] สันติกโร ภิกขุ , แปลโดย จิรธัมม์ ,  อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ , ๒๕๔๒),  หน้า ๑๐๗-๑๐๘

[๒๘] พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต) , พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๘ , (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๔๒ ),หน้า ๗๖๗

[๒๙] คำศัพท์แสลงอเมริกัน เรียก “hooker” -ผู้เขียน

[๓๐] แมงดา (Pimp)  คือ ผู้ที่หากินกับหญิงโสเภณี  คือ เป็นผู้จัดหา (ด้วยวิธีการซื้อหรือวิธีการบังคับ จัดส่ง  จัดการควบคุม ในเรื่องทางกาย และเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ(เงิน)ของโสเภณี เพื่อเป้าหมายการบริการเชิงเพศพาณิชย์  (commercial sexuality service -การค้าเซ็กส์) เป็นหนึ่งในส่วนของผู้ประกอบกิจการค้าโสเภณี–ผู้เขียน

[๓๑] ที.ปา.(ไทย)๑๑/๒๔๙/๒๐๓

[๓๒] ดูรายละเอียดใน ที.ปา.(ไทย)๑๑/๒๕๓/๒๐๕-๒๐๖

[๓๓] ขุ.เถรี.(ไทย)๒๖/๗๒/๕๖๗-๕๖๘

[๓๔] ดูรายละเอียดใน ขุ.อุ.(ไทย)๒๕/๕๘/๓๐๔-๓๐๕

[๓๕] เสนาะ ผดุงฉัตร  , พุทธศาสนากับปัญหาเพศพาณิชย์,สารนิพนธ์พุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต ,(บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕) , หน้า ๓๖

[๓๖] พระเฉลิมชาติ  ชาติวโร(อิทธะรงค์) , ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย , หน้า ๗๘-๗๙

[๓๗] อ้างแล้ว

[๓๘]เรื่องเดียวกัน ,หน้า ๙๓-๙๔

[๓๙]  พระไพศาล วิสาโล , เซ็กส์กับพุทธ(บทความ) , จากหนังสือ October 11 ,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ Openbooks, ๒๕๕๔) ,หน้า ๑๓๗-๑๔๗

[๔๐]Dictionary.com .online.[online] . source : http://dictionary.reference.com/browse/online?s=t [Sept, 10.2012]

[๔๑] สํ.นิ.(ไทย)๑๖/๑๕๖/๒๖๒

[๔๒] ดูรายละเอียดใน Harvey  B. Aronson ,Love and Sympathy in Theravada Buddhism (Delhi : Motial Banarsidass,1980)

[๔๓] นิธิ เอียวศรีวงศ์ , พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๓) ,หน้า ๕๘

[๔๔] Crook , John H. ,Buddhist Behavior and the Modern World :An International Symposium, (Preceptual Truth and the Western Psychology of Human Nature,1994),   p.223-224

[๔๕] Op.cit.

[๔๖] ม.มู.(ไทย)๑๒/๑๗๘/๑๗๘-๑๘๒

[๔๗] ดูรายละเอียดใน องฺ.เอกฺก.(ไทย)๒๐/๑-๑๐/๑-๒

[๔๘] ม.มู.(ไทย)๑๒/๗๔/๖๖,ม.อุ.(ไทย)๑๔๖/๑๘๕

[๔๙]  บางตอนในบทความ ของพีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ คอลัมน์สายด่วนจากอเมริกา, ดูรายละเอียดใน พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  ,” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗ กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

ใส่ความเห็น

สภาชาวพุทธ : ทางเลือกองค์กรพุทธสำหรับทศวรรษหน้า

สภาชาวพุทธ : ทางเลือกองค์กรพุทธสำหรับทศวรรษหน้า

 

พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์

นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

๑.บทนำ

           

การปริวรรตของโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ส่งผลต่อการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่าง ๓ ฝ่ายในระบบแห่งพุทธบริษัท คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์(หนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสะดมภ์หลักหรือแกนของการนับถือของพุทธศาสนิก)  รัฐ และชาวพุทธที่เป็คฤหัสถ์ ที่มีมาแต่เดิม ที่ต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกันในเชิงเกื้อกูล ทั้งในเรื่องการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  การจัดการเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กรพุทธต่างๆ และการตรวจสอบในเรื่องของวัตรปฏิบัติของสงฆ์  ซึ่งในเวลานี้ความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ของแต่ะฝ่ายได้กำลังเดินหน้าไปสู่ความล่มสลาย

            ระบบหรือโครงสร้างของคณะสงฆ์ที่เป็นไปในปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากการจัดระบบความสัมพันธ์ ๓ ฝ่าย อย่างรุนแรง เกิดเป็นผลเปลี่ยนแปลงหลากหลาย ทำให้ระบบการศึกษา ระบบการปฏิบัติและค่านิยมของคณะสงฆ์ รวมถึงของชาวพุทธคฤหัสถ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันย้อนกลับ โลกยุคใหม่นำคณะสงฆ์ออกไปจากระบบเดิมมาเป็นเวลาหนึ่ง หากแต่จะสังเกตเห็นกันหรือไม่เท่านั้น 

            พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นในประเทศไทยมาช้านาน จนกลายเป็นสถาบันหลักทางสังคมของไทย เป็นที่พึ่งทั้งทางกายและทางใจของพุทธศาสนิกชน ซึ่งความเป็นสถาบันของพระพุทธ ศาสนานี้ เป็นทั้งในส่วนของสถาบันเชิงทางการและสถาบันเชิงไม่เป็นทางการ ด้วยเหตุที่ ๓ ภาคส่วนที่ว่า ยึดโยงเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ภาคประชาชนชาวพุทธ ภาคสงฆ์ และภาครัฐ (ราชาและนิติรัฐ)  พระพุทธศาสนาจะมีความเป็นทางการหรือไม่นั้นขึ้นกับระบบนิติรัฐ  หรือบทบัญญัติทางด้านกฎหมาย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายคณะสงฆ์(พระราชบัญญัติ-พ.ร.บ.)[๑]ขึ้นมาใช้ตั้งสมัยรัฐกาลที่ ๕ เป็นต้นมา เรื่อยมาตลอดถึงปัจจุบันจำนวน ๓ ฉบับ  โดยที่ฉบับปัจจุบันที่กำลังใช้กันอยู่ คือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕)

            ภายใต้สถานการณ์หลายด้านในปัจจุบัน มีความล่อแหลม และสุ่มเสี่ยง ต่อความเสื่อมถอยมากขึ้นอย่างยิ่ง มีปัจจัยหลายประการเป็นสัญญาณว่า หากทั้ง ๓ ภาค ไม่ร่วมมือกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะปลาสนาการไปจากประเทศไทย[๒]เร็วก่อนกาล ไม่ก็อาจย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ประเทศอื่น หรืออีกอย่างอาจกลายเป็นลัทธิแก้ไป เสมือนการกลายพันธุ์ ออกไปจากคำสอน(ธรรมวินัย)ดั้งเดิมที่เป็นต้นฉบับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีความเชื่อ หลักคำสอนในลัทธิศาสนาอื่น หรือแม้กระทั่งในพุทธนิกายด้วยปลอมปนเข้ามา[๓] 

            ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีดังนี้

          ๑. ความเป็นไปของสถานการณ์(current of situation)พระพุทธศาสนาของโลก

๒. แนวโน้ม(trend) ความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในอนาคต

๓. ความเป็นไปของสถานการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

๔. แนวโน้มความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

 

เนื่องจากเนื้อหาของทั้ง ๔ ข้อ[๔]ข้างต้นมีมาก ผู้เขียน จึงขอกล่าวเพียงแนวโน้มความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่แสดงนัยสำคัญ(significant) ดังนี้

๑. บทบาทของสงฆ์จะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ มีบทบาทต่อชุมชนน้อยลง จากแต่เดิมที่บทบาทของสงฆ์มีผลอย่างยิ่งต่อชุมชน เช่น แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน รวมถึงการให้การศึกษากับชุมชน บทบาทดังกล่าวนี้ถูกทดแทนด้วยระบบใหม่ ซึ่งชุมชนเองไม่เน้นการต้องพึ่งพาคณะสงฆ์อีกต่อไป โดยเฉพาะในเรื่ององค์ความรู้ระหว่างสงฆ์กับฆราวาส ที่เริ่มไม่สมดุลและไม่สอดคล้อง(matching)กันมากขึ้น

๒. ชาวพุทธที่เป็นฆราวาส จะมีบทบาทมากขึ้นกว่าการแสดงบทบาทในด้านต่างๆของคณะสงฆ์[๕]  โดยเฉพาะในกิจการเกี่ยวกับพระศาสนา ทั้งในระบบปริยัติและปฏิบัติ สามารถเรียกได้ว่า เป็นยุคของฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม[๖]

๓. ความแปลกแยกระหว่างสงฆ์กับฆราวาสจะมีมากขึ้น ซึ่งความแปลกแยกที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากระบบสายการบังคับบัญชาของสงฆ์ที่เป็นการนำเอาระบบราชการมาใช้ การให้คุณให้โทษแก่พระสงฆ์ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ไม่ได้อยู่ในประชาชนในชุมชนอีกต่อไป[๗]

๔. เกิดการนับถือพุทธนิกายที่หลากหลาย ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน เนื่องจาก อิทธิพลของการสื่อสาร และข้อมูลถึงกันมากขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์

๕. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์กับชาวบ้าน(คฤหัสถ์)จะเปลี่ยนไปในหลายด้าน เช่น การให้ความสำคัญ การให้ความเชื่อถือ และความศรัทธาต่อสงฆ์น้อยลง เป็นต้น[๘]

๖. ทุน จะเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดสถานะ,บทบาทและค่านิยมของ ของทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส[๙]

๗.ระบบการสื่อสารระหว่างคณะสงฆ์ด้วยกันเอง เป็นไปในแนวระนาบเดียวกันมากขึ้น หรือถึงกับตัดขาดจากการสื่อสารแบบแนวดิ่งไปเลย ซึ่งสาเหตุเกิดจากระบบการสื่อสารสมัยใหม่ที่มีการตอบโต้สนทนาอย่างรวดเร็ว  สามารถรู้ผลหรือรู้ข้อเท็จจริงในเวลาอันรวดเร็ว เช่น การสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือระบบออนไลน์   ทำให้การสื่อสารแบบแนวดิ่งในระหว่างสงฆ์ค่อยๆลดอิทธิพลลงไป

 

๒. สาวปมกฎหมายสงฆ์กับปมคาใจครั้งในอดีต

 

มงเซเญอร์ ปาเลกัวซ์ ผู้ประกาศศาสนาชาวคริสต์ กล่าวถึงเหตุการณ์และสถานะของสงฆ์ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑)ว่า

 

“อาชีพพระนั้นดูจะได้รับประโยชน์มาก เพราะพวกผู้หญิงชอบเอาของไปถวายเสมอ และถ้าพระนั้นเป็นพระนักเทศน์ ก็จะสะสมเงินทองและสึกออกไปตั้งเนื้อตั้งตัวได้ อนึ่ง พระมีอภิสิทธิ์มาก…ด้วยเหตุนี้จึงอาศัยผ้าเหลืองหาผลประโยช์ให้แก่ตนเองโดยไม่ต้องเสียอย่างใด” [๑๐] 

 

            ในวงการพุทธศาสนานั้น ได้มีความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสถาบันสงฆ์และขัดแย้งภายในดำรงอยู่เรื่อยมา สมัยรัตนโกสินทร์คู่ขัดแย้งที่เด่นชัดที่สุดหลังจากสถาปนารัฐสมัยใหม่คือ ขั้วของสงฆ์ ๒ นิกายคือ มหานิกายที่อยู่มาแต่เดิม กับ ธรรมยุติกนิกาย ในมุมของฝ่ายหลังนั้นมีพลังและแรงผลักดันอันมุ่งมั่นในการจะสถาปนาพุทธศาสนา ที่บริสุทธิ์ น่าเลื่อมใส สมสมัย มีความเป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยผู้นำคือ วชิรญาณภิกขุ หรือเจ้าฟ้ามงกุฎ ในอีกด้านคณะสงฆ์ใหม่นี้ก็เป็นฐานอำนาจทางการเมืองใหม่ระหว่างที่อยู่นอก ราชบัลลังก์ด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพระธรรมยุตนั้นมากับเส้น ที่มีรัชกาลที่ ๔ เป็นองค์อุปถัมภ์ใหญ่[๑๑]

ความบาดหมางดังกล่าวถูกบ่มเพาะขึ้นด้วยดูถูกจากฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเฉพาะหลังจากที่รัชกาลที่ ๔ ขึ้น ครองราชย์แล้ว ได้มีการชี้ผิดในพระมหานิกายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ในการอุปสมบทไม่ถูก บวชในสีมาไม่ถูก ครองผ้าไม่ถูก มีวงศ์ที่เสื่อมมาตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่สอง และมีประพฤติทราม[๑๒]ความอึดอัดและมีท่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้รับการบ่มเพาะมาตั้งแต่ครั้ง นั้น ความบาดหมางได้รับการบอกเล่าและสืบทอดมาอย่างเป็นระบบ  

พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์  ร.ศ.๑๒๑  ถูกตราขึ้นเป็นกลไกของรัฐสยามในการจัดการอำนาจการปกครองสงฆ์อย่างชัดเจน พุทธจักรขึ้นอยู่กับอาณาจักรและกษัตริย์ บนยอดปิรามิดของอำนาจในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นก็ถูกวางตัวไว้แล้วว่า  ต้องเป็นพระที่วางใจได้ซึ่งจะเป็นใครไม่ได้นอกจากพระสงฆ์ชั้นสูงจากธรรมยุติกนิกาย   ทำให้คณะสงฆ์สยามอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายธรรมยุตมาอย่างยาวนานถึง  ๓๘ ปี นั่นคือ วาระของสมเด็จพระสังฆราชนับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  (๒๔๔๒-๒๔๖๔) และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์  (๒๔๖๔-๒๔๘๐) ข้อสังเกตก็คือ ทั้งสองมีสถานะที่เป็นทั้ง “พระ” และ “เจ้า” [๑๓]

๒.๑ การปฏิวัติเพื่อความเสมอภาคของคณะสงฆ์

ก่อนปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕  ปรีดี พนมยงค์ และพรรคพวกที่เป็นทั้งพลเรือนและทหารได้เช่าห้องเพื่อใช้ในการประชุมเพื่อ เตรียมปฏิวัติ ณ ถนน Rue du Sommarard ในเขต Quartier Latin กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [๑๔]ในปี ๒๔๗๗ ก็พบว่า มีพระสงฆ์หนุ่มสังกัดมหานิกาย จากวัดมหาธาตุ, วัดเชตุพนฯ, วัดเบญจมบพิตร, วัดสุทัศน์ฯ และวัดอรุณ ได้นัดพบกันที่บ้านคหบดี ในเขต อ.บางรัก บ้านหลังนั้นชื่อว่า “ภัทรวิธม” เมื่อวันที่  ๑๑ มกราคม ๒๔๗๗ ว่ากันว่า จำนวนพระหนุ่มที่เดินทางมีจำนวนกว่า ๓๐๐  รูป  เรียกชื่อคณะผู้ก่อการคราวนี้ไว้ว่า “คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา”[๑๕]  การหารือครั้งนั้นได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ถึงข้อเสนอต่อรัฐ เพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างของคณะสงฆ์ให้มีความเท่าเทียมกัน มีการประกาศแถลงการณ์และเป็นที่รับรู้ในที่สาธารณะผ่านหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ในวันที่  ๒๒  กุมภาพันธ์  ๒๔๗๗ ว่า “…เป็นไปเพื่อความเสมอภาคในการปกครองคณะสงฆ์ และเพื่อการรวมนิกายสงฆ์ให้มีสังวาสเสมอกัน คือให้มีการอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน…” หลังจากนั้นได้มีหนังสือไปเสนอแด่พระผู้ใหญ่และรัฐบาลในภายหลัง[๑๖]

๒.๒ แบบจำลอง(Model)สังฆสภาในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ๒๔๘๔

จากประวัติศาตร์ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในช่วงก่อนกาลพุทธปรินิพพาน จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงมอบอำนาจให้สงฆ์ปกครองกันเองด้วยระบบสังฆาธิปไตยหรือการรับฟังเสียงส่วนใหญ่(democratic way)[๑๗] โดยมีสังฆสภาเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการปกครอง โดยทรงใช้รูปแบบและวิธีการในการปกครองของรัฐสามัคคีธรรม(republic state) ของกษัตริย์ลิจฉวี หรือกษัตริย์โกลิยะและศากยวงศ์  ซึ่งพระพุทธองค์เคยเป็นสมาชิกและเรียนรู้วัฒนธรรมตามระบอบนั้นมาก่อน โดยการใช้รูปแบบการบริหารผ่านสภา(สัณฐาคารสภา) รับกับเนื้อหาในส่วนของอปริหารนิยธรรม ที่ทรงระบุถึงการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ต้องมีการประชุมสภากันอยู่ประจำ แม้กระทั่งในเหล่าเทวดา(สุธัมมาเทวสภา)เองก็เช่นกัน ทำให้เชื่อได้ว่า ระบบสภา เป็นระบบหรือแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระชนม์ชีพอยู่ เรียกว่า เป็นการปกครองระบอบสังฆาธิปไตย[๑๘]

เช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่สะท้อนฐานความคิดเชิงคุณค่าประชาธิปไตย จนถึงที่สุดในระบอบสงฆ์ คือสังฆาธิปไตย เป็นอย่างดี  นั่นคือมีการรื้อโครงสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรสงฆ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่หัวอย่างพระสังฆราชลงมา การแบ่งโครงสร้างการบริหารการปกครองใหม่ที่มีการแบ่งแยกอำนาจ และคานอำนาจระหว่างกัน เพื่อรองรับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในวงการสงฆ์เองที่นับวันจะซับซ้อนขึ้น การออกแบบโครงสร้างใหม่นี้ก็เพื่อสร้างหลักการร่วมกันโดยมิต้องยึดอยู่กับปัญหาบุคคล ที่เป็นต้นตอความไม่ชอบมาพากลอันเนื่องมาจากอคติทั้งปวง สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจตามหลักอธิปไตยที่ระบอบ ประชาธิปไตยที่ได้สถาปนาขึ้น

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ อาจจำแนกได้เป็นสามประการ ได้แก่ [๑๙]

ประการแรก ยุบเลิกมหาเถรสมาคม ที่ทำหน้าที่องค์กรปกครองสงฆ์หนึ่งเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่กับตัวเอง ในโครงสร้างใหม่นี้ได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น ๓ ส่วนได้แก่ สังฆสภา[๒๐] ถืออำนาจนิติบัญญัติ สังฆมนตรีถืออำนาจบริหาร และคณะวินัยธร ถืออำนาจตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจการบริหารคณะสงฆ์เช่นเดียวกับการปกครองฝ่ายอาณาจักร

ประการที่สอง หลังจากที่มหาเถรสมาคมหาย ไปจากโลก กฎหมายก็ยังจำกัดอำนาจสมเด็จพระสังฆราชด้านบริหารคณะสงฆ์ให้มีอำนาจแต่เพียง ในนาม ดังนั้นเอาเข้าจริงแล้วตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแทบจะไม่มีความหมายใดๆในการ บริหาร แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเป็นประมุขของฝ่ายสงฆ์ กล่าวได้ว่าทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยลำพังมิได้ ซึ่งในวิธีคิดแบบนี้ทำให้พระสังฆราชไม่ต้องรับผิดชอบการบริหาร เนื่องจากว่าอำนาจการบริหารอยู่ที่สังฆนายกและคณะสังฆมนตรีแล้ว จึงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เช่นเดียวกับกษัตริย์ในฝ่ายของอาณาจักร

ประการที่สาม วางลู่ทางที่จะรวมนิกายสงฆ์ให้เป็นนิกายเดียวกัน ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา ๖๐ เพื่อที่จะทำสังคายนาพระธรรมวินัยในเวลา ๘ ปี

การเสนอญัตติเข้าประชุมสภาที่มีอยู่สามทาง ได้แก่ จากคณะสังฆมนตรี จากกระทรวงศึกษาธิการ และจากสมาชิกสังฆสภา แต่ในส่วนสมาชิกสังฆสภา จะเสนอได้ก็ต้องให้สังฆนายกรับรองเสียก่อน[๒๑] อำนาจของตำแหน่งนี้จึงทำให้ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติพยายามผลักดัน พระสงฆ์ของตนขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆนายก ซึ่งในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็คว้าความได้เปรียบนี้ไปเมื่อตำแหน่งอยู่ที่ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส สายธรรมยุต รัฐบาลประกาศแต่งตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ [๒๒]  อำนาจหน้าที่ของสังฆสภา มีหน้าที่ในการออกสังฆาณัติ (เทียบได้กับพระราชบัญญัติ) กติกาสงฆ์(พระราชกฤษฎีกา) กฎองค์การ (กฎกระทรวง) พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช (พระบรมราชโองการ) ข้อบังคับ (กฎสำนักนายกรัฐมนตรี) และระเบียบ (ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี) ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย[๒๓]เพื่อไม่ให้การดำเนินการของคณะสงฆ์เป็นที่กังขาต่อพระธรรมวินัย หรือขัดกับพระไตรปิฏก จึงได้มีการระบุไว้เลยว่า หากมีข้อสงสัยในญัตติต่างๆ ให้ตีความโดยรักษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดไม่จำเป็นต้องลงมติ หรือใช้เสียงข้างมาก[๒๔]

               ๒.๓ ระบบการศึกษาคณะสงฆ์ในยุคเสรีชนชาวพุทธ

                  การดำเนินการตามพระราชบัญญัติที่มีโครงสร้างที่เป็นธรรมมากขึ้น และเปิดช่องทางให้พระสงฆ์ปฏิบัติงานตามความสามารถมากกว่าเดิมที่รวมศูนย์ อยู่ที่มหาเถรสมาคม พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์ ได้แบ่งผลงานที่มาจากการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ในพ.ร.บ.ตัวใหม่(พ.ศ. ๒๔๘๔)นี้ ให้เห็นเป็นผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจ ๒ ช่วง[๒๕] ได้แก่

                  ระยะแรก ปี  ๒๔๘๕- ๒๔๙๐ เป็นระยะปรับตัวเตรียมงานปกครอง เป็นช่วงที่มีการออกสังฆาณัติ ออกระเบียบมากที่สุด เช่น สังฆาณัติระเบียบบริหารคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค พ.ศ.๒๔๘๕, สังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.๒๔๘๖ เป็นต้น นอกจากนั้นถือว่ามีการตื่นตัวทางการศึกษาขึ้นมาก โดยเปิดการศึกษาวิชาการฝ่ายสามัญเป็นครั้งแรกอย่างจริงจังในระดับ มหาวิทยาลัยคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย ปี ๒๔๘๙ และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ปี ๒๔๙๐  นับเป็นการเตรียมผลิตบุคลากรเพื่อเข้าไปดำเนินการปกครองสงฆ์ต่อไป

                 ระยะที่สอง ปี ๒๔๙๐-๒๕๐๓ เป็นระยะทำงานเชิงรุก นับเป็นยุคที่คณะสงฆ์ไทยเฟื่องฟูขึ้นมาก เพราะมีความพร้อมทางด้านบุคลากรที่เข้าใจ พ.ร.บ.มากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (คล้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ของ พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุ ได้มีการทำงานเชิงรุก โดยส่งพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ไปยังภูมิภาคต่างๆ และนำพระสังฆาธิการและพระสงฆ์มาอบรมที่วัดมหาธาตุ ทั้งยังส่งภิกษุไปดูงานและเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ

                หากเปรียบกับรัฐบาลทางโลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่อสังคมไทย แล้ว ผลงานของรัฐบาลคณะสงฆ์ที่คู่ขนานกันไปนั้นสัมฤทธิ์ผลอย่างน่าสนใจ เช่น การก่อตั้งและขยายสำนักวิปัสสนา โดยหลักการนับได้ว่าภารกิจของพระสงฆ์มีอยู่ ๒ ประการ ก็คือ คันถธุระ การศึกษาเล่าเรียน และ วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายกองค์แรก ได้ทำการรวบรวมวัดป่าในเขตอีสานขึ้นต่อคณะสงฆ์ธรรมยุตเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นยังพบว่ามีฝ่ายมหานิกายไม่น้อยที่เลื่อมใสข้อวัตรของธรรมยุตแล้ว หันไป อุปสมบทแปรญัตติใหม่ แม้จะมีพรรษากว่า ๑๐ พรรษาแล้วก็ตาม ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงสิบปี พบว่าธรรมยุตได้ตั้งมั่นในเขตอีสานตอนบนและล่างแทบทั้งหมด ทำให้ฝ่ายมหานิกายตื่นตัวว่าได้สูญเสียสมาชิกจำนวนมาก จึงทำให้ฝ่ายมหานิกาย ให้ความสนใจกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ได้ส่งเปรียญวัดมหาธาตุไปศึกษาพุทธศาสนาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่พม่าในปี  ๒๔๙๕ และยังให้พระเถระพม่าเข้ามาสอน โดยเปิดสอน ณ อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ตั้งแต่ปี  ๒๔๙๖ เป็นต้นมา ปรากฏว่าเป็นที่สนใจกันมากการแข่งขันดังกล่าวจึงส่งผลให้การศึกษาของพุทธศาสนาขยายตัวคึกคักมากขึ้น[๒๖]

๓. บทบาทสงฆ์เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสงฆ์

 

ผู้เขียนมองความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับคณะสงฆ์ในประเทศไทย ดังนี้

 

๓.๑ บทบาทของวัดกำลังเลือนหาย

 

วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางหรือสถานที่สำหรับจัดการศึกษาอีกต่อไป หลังจากเมื่อก่อนวัดเป็นที่พึ่งทางการศึกษา ทั้งสงฆ์และฆราวาส ระบบดังกล่าวนี้กำลังจะโดนกลืนหายไปกับกระแสสังคมสมัยใหม่ ตามแบบแผนการศึกษาตะวันตก  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นมาพักใหญ่แล้ว ภายหลังการจัดการนำเข้าศึกษานอกวัดกันอย่างขนานใหญ่ เช่น ระบบประถมศึกษา ระบบมัธยมศึกษา และระบบมหาวิทยาลัย เมื่อก่อนวัดเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาทางโลกเหล่านี้ก็จริง แต่ยังมีความสัมพันธ์เชิงการบริหารระหว่างพระสงฆ์กับโรงเรียนอยู่บ้าง แต่หลังจากนั้นไม่นาน วัดเป็นเพียงสถานที่ตั้งของโรงเรียนเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของโรงเรียนแต่อย่างใดเลย ปล่อยให้เป็นไปตามหน้าที่ตามระบบกฎหมาย โดยครู  ผู้บริหารโรงเรียน และผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ

การเริ่มต้นของเปลี่ยนแปลงในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการของไทยที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น  เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๔  ที่มีการประกาศใช้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา” เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภิกษุสามเณร  โดยให้เรียนทั้งวิชาธรรมและวิชาสามัญศึกษาควบคู่กันไป ดำเนินการโดยกรมการศาสนา โดยมีวัตถุที่จะให้การศึกษามนโรงเรียนดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายศาสนจักร  และฝ่ายบ้านเมือง กล่าวคือ ทางฝ่ายศาสนจักรก็จะได้ศาสนทายาทที่ดี มีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ดำรงอยู่ในสมณธรรมสมควรแก่ภาวะ  สามารถดำรงและสืบต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญสถาพรต่อไป และถ้าหากพระภิกษุสามเณรเหล่านี้ลาสิกขาไปแล้วก็สามารถเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐได้ หรือเข้ารับราชการสร้างประโยชน์ ให้ก้าวหน้าแก่ตนเอง และบ้านเมืองสืบต่อไปด้วยเช่นกัน[๒๗] แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุ สามเณร เริ่มเข้าสู่กระแสการศึกษาแบบโลกนับแต่นั้น และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆตลอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

 

๓.๒ เปรียญธรรมบาลีกำลังเลือนหาย

 

การศึกษาปริยัติธรรม “เปรียญธรรมบาลี” กำลังถึงขั้นวิกฤติ เดินหน้าไปสู่ความล่มสลาย, ในปัจจุบันแม้จะยังมีการสอบเปรียญธรรมสนามหลวงอยู่ก็ตาม แต่ในแต่ละปีมีผู้สอบผ่านน้อยมาก เช่น ผลการสอบบาลีสนามหลวงปี พ.ศ.๒๕๕๔  ชั้นเปรียญธรรม ๗ ประโยค พระภิกษุ สามเณร เข้าร่วมสอบจำนวน  ๕๓๓ รูป สอบผ่านจำนวน   ๑๐๕  รูปคิดเป็น  ๑๙.๗๐  เปอร์เซ็นต์  , ชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค  พระภิกษุ สามเณร เข้าสอบจำนวน  ๓๗๑ รูป สอบผ่านจำนวน ๗๒ รูป คิดเป็น  ๑๙.๔๑ เปอร์เซ็นต์  ,เปรียญธรรม ๙ ประโยค พระภิกษุ สามเณร เข้าสอบจำนวน  ๓๘๕ รูป สอบผ่าน  ๖๐ รูป คิดเป็น  ๑๕.๕๘ เปอร์เซ็นต์  ขณะที่สถิติพระภิกษุ สามเณรที่เข้าสอบบาลีสนามหลวงในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ทุกระดับชั้น มีพระภิกษุ สามเณร เข้าสอบจำนวน ๒๒,๖๓๑ รูป สอบผ่านจำนวน  ๓,๐๒๖  รูป คิดเป็น ๑๓.๓๗ เปอร์เซ็นต์ [๒๘] แสดงให้เห็นถึงความสนใจต่อการเรียนปริยัติธรรมบาลี อันเป็นพุทธวัจนะ(ซึ่งมีความหมายทางการศึกษาปริยัติธรรม)ที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ  นอกเหนือไปจากคุณภาพของสงฆ์ผู้เรียนที่ด้อยลงไปอย่างมาก 

สถิติการสอบบาลีปี ๒๕๕๕ มีจำนวนที่มากขึ้นกว่าปี ๒๔๔๔  โดยในปี  ๒๕๕๕  มีผู้เข้าสอบรวม  ๓๔,๙๘๐  รูป แบ่งเป็นเปรียญธรรม ๑-๒  ประโยค จำนวน ๒๓,๗๕๘  รูป เปรียญธรรม ๓ ประโยค จำนวน  ๔,๕๕๑ รูป  เปรียญธรรม ๔  ประโยค จำนวน ๒,๒๙๗  รูป เปรียญธรรม ๕  ประโยค จำนวน  ๑,๕๑๒ รูป  เปรียญธรรม ๖ ประโยค  จำนวน ๘๗๖ รูป เปรียญธรรม ๗  ประโยค จำนวน  ๙๖๕  รูป  เปรียญธรรม ๘  ประโยค จำนวน ๕๙๔  รูป และ เปรียญธรรม. ๙ ประโยค จำนวน ๙๔๐ รูป[๒๙]   อย่างไรก็ตามในแต่ละปีมีสงฆ์จำนวนมาก สมัครสอบเอาไว้แต่ไม่ได้เข้าสอบ เมื่อถึงเวลาจริง

ตัวอย่างที่แสดงถึงขีดความรู้ทางด้านบาลีที่ลดลง  เช่น  การสมัครสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อปี ๒๕๕๕ ที่มีจำนวน ๙๔๐ รูป แต่สอบได้เพียงแค่ ๖๓ รูป  ขณะที่ในปี ๒๕๕๔ มีผู้เข้าสอบ จำนวน ๓๘๕ รูป สอบผ่าน  ๖๐ รูป เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้ว จะเห็นได้มีผู้สอบระดับเปรียญธรรม ๙ ประโยค น้อยลงมาก[๓๐]

พระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชน ต้องเห็นการศึกษาพระบาลีเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นหัวใจที่ทำให้ศึกษาหลักธรรมในพระไตรปิฎกได้อย่างถ่องแท้ เป็นพื้นฐานการศึกษาพระธรรมวินัย ที่สำคัญจะทำให้สื่อสารแลกเปลี่ยนกับพระสงฆ์ที่อยู่ในประเทศต่างๆที่มีการ เรียนบาลีด้วย เช่น ศรีลังกา พม่า อินเดีย เนปาล เป็นต้น เป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนเองก็ควรเข้ามาศึกษาบาลีกันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนา[๓๑]

 

๓.๓ สิกขาหน้าที่ในสถานภาพสงฆ์กำลังเลือนหาย

พระสงฆ์จำนวนมากหันมาสนใจการศึกษาทางโลก ละเลยความสนใจการศึกษาทางธรรม หมายถึง สงฆ์ให้ความสนใจในแง่ของวิชาชีพที่คฤหัสถ์ให้ความสนใจ จนละเลยความสนใจใน ๒ ส่วน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงในส่วนการศึกษา(สิกขา)ของสงฆ์ คือ 

(๑) ความสนใจเกี่ยวกับปริยัติสิกขา  คือ ความสนใจต่อการศึกษา ทำความเข้าใจในหลักพุทธรรม ทั้งเพื่อตนเอง และให้ความรู้กับคฤหัสถ์

(๒) ความสนใจเกี่ยวกับจิตตสิกขา คือ ความสนใจต่อการปฏิบัติทางจิต  อบรมจิต เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออย่างน้อยๆ ก็พอเป็นแนวทางสำหรับตัวเอง และเพื่ออบรมให้ความรู้กับคฤหัสถ์ได้บ้าง

ความละเลยทั้ง ๒ ประการ นับเป็นความละเลยต่อหน้าที่หลักของสงฆ์ ทำให้บทบาทของสงฆ์ต่อชุมชนชาวพุทธมีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่นับรวมการที่พระสงฆ์กันไปสนใจศึกษาศาตร์ทางโลกกันอย่างขนานใหญ่ ดุจเดียวกับการศึกษาของคฤหัสถ์  ในส่วนนี้แม้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อความรู้เท่าทันโลกของสงฆ์ หรืออีกส่วนหนึ่งเป็นประโยชน์ในอนาคตต่อพระสงฆ์ในยามลาสิกขาก็จริง แต่การที่พระสงฆ์ละเลยการให้ความสำคัญต่อการศึกษาพุทธธรรม ย่อมทำให้การแสดงบทบาทของสงฆ์ไม่ตรงกับหน้าที่ของสงฆ์ที่ถูกกำหนดไว้ทั้งในพุทธวัจนะและโดยสถานะของความเป็นสงฆ์   ซึ่งที่ถูกแล้วแม้ว่าการศึกษาทางโลกจะเป็นประโยชน์กับสงฆ์ แต่สงฆ์ไม่ควรละเลยต่อการศึกษาพุทธธรรมควบคู่กันไปด้วย

ในชุมชน(สงฆ์) หากละเลยหรือไม่ประสบความสำเร็จในการฝึกฝนจิตใจให้เข้าถึงความสุขอันประณีต เช่น สุขจากสมาธิ หรือความสงบเย็นจิตใจก็จะยิ่งเป็นทุกข์เพราะสุขจากเพศรสก็ไม่ได้ประสบสัมผัส จิตใจที่เหี่ยวแห้งและเคร่งเครียดเช่นนี้ย่อมโหยหาความสุขจากเพศรสหนักขึ้น อาจจะยิ่งกว่าฆราวาสซึ่งยังมีความสุขจากเพศรสมาหล่อเลี้ยงใจด้วยซ้ำ ผลที่ตามมาก็คือการหวนไปหาเซ็กส์ หากหวนด้วยการสึกไปเป็นฆราวาส ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้ากลับไปเสพเพศรสขณะที่เป็นภิกษุ ก็จะเกิดผลเสียตามมาทั้งต่อตนเองและคณะสงฆ์ รวมทั้งศรัทธาของญาติโยมที่มุ่งหวังให้ท่านเป็นแบบอย่างของผู้พากเพียรเพื่อ จิตที่เป็นอิสระเหนือโลก หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นแบบอย่างในทางชีวิตพรหมจรรย์[๓๒]

 

๓.๔ สถานภาพสงฆ์เป็นบันไดไต่เต้าทางชนชั้น

การศึกษาของสงฆ์ทั้งทางโลกและทางธรรม มุ่งเพื่อแสวงหาลาภยศและตำแหน่งมากขึ้น ใช้การศึกษาเป็นบันไดไต่เต้าเพื่อยกระดับชั้นทางสังคมของตนเอง ประจวบกับระบบการปกครองคณะสงฆ์ของไทยในปัจจุบันซึ่งใช้ “ระบบสมณศักดิ์”นั้น เอื้อต่อการทำความก้าวหน้าให้กับตนเองของภิกษุมากขึ้น จึงทำให้สงฆ์จำนวนไม่น้อย และกำลังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆใช้พลังงานเพื่อการศึกษาในเชิงเป้าหมายประโยชน์ลาภผล ยศ ตำแหน่ง สักการะ เป็นการแสวงหา ลาภผล ยศ ตำแหน่ง สักการะ ตามระบบ หรือที่เรียกว่า “กินตามน้ำ” นั่นเอง

เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงริเริ่ม ปฏิรูปการศึกษาแบบใหม่  พระองค์ทรงมีความเข้าใจว่า การจัดการศึกษาให้ได้ผลดี  จะต้องจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองใหม่โดยจับมือกับฝ่ายบ้านเมืองเพื่อเสาะหาพระผู้รู้ภาษามคธ ผู้สอบได้เป็นเปรียญสูงๆ เป็นพระราชาคณะเพื่อช่วยปกครองสังฆมณฑลโดยผูกอำนาจการปกครองไว้กับระบบสมณศักดิ์ที่พระองค์ทรงจัดทำเนียบขึ้นมาใหม่ ซึ่งในเวลาต่อมาพระสมณศักดิ์นี้กลับกลายเป็นเป้าหมายการศึกษาของพระภิกษุสามเณรไปโดยปริยาย แทนที่จะศึกษาเพื่อเข้าถึงนามธรรมอันลึกซึ้ง แต่กลับเรียนเพื่อไต่เต้าในทางสังคมสงฆ์ เพื่อสมณศักดิ์ หรือการเป็นพระสังฆาธิการ หาไม่ก็เตรียมสึกออกไปทำมาหากิน[๓๓]

เมื่อมิติทางปรมัตถธรรมเริ่มเสื่อมสูญ ผนวกกับการศึกษาที่ขาดวิปัสสนาหรืออธิจิตสิกขา ย่อมทำให้โลกทรรศน์และวิถีชีวิตของพระภิกษุสามเณรฝักใฝ่ในวัตถุมากขึ้นประดุจเดียวกับคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามโภคี ด้วยทัศนะคติที่ไม่สอดคล้องกับไตรสิกขา ไม่เป็นไปเพื่อการเรียน เพื่อรู้แจ้งเห็นจริง เน้นการเลื่อนสถานะทางสังคมมากกว่า จึงทำให้การศึกษาของสงฆ์ตกลงสู่วงจรความเสื่อมสูญอย่างรวดเร็ว[๓๔]

 

Robert David Larson หรืออดีตพระสันติกโร(Santikaro Bhikkhu) [๓๕] มองว่า

 

“ผู้ชายจำนวนมากที่เข้ามาบวชที่จริงไม่ได้เลือกที่จะมีชีวิตพรหมจรรย์ ผมเองตอน มาบวช ไม่ได้มาบวชเพื่อเลิกทางเพศ แต่เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติธรรม ผมบวชเพื่อศึกษา เพื่อปฏิบัติ แต่มีกฎเกณฑ์ในพระวินัยว่า ต้องอย่างนี้ๆ หลายปีผมก็รับไปปฏิบัติ แต่ตอนหลัง ถูกผิดก็ไม่รู้ ผมมองว่า เมื่อพระจำนวนมากเห็นว่าเรื่องนี้ยาก แล้วโยมก็เป็นห่วงด้วยกลัวว่าพระจะสึกเขาก็เลยสร้างอะไรเพื่อกันพระกับฆราวาส แม้แต่ระหว่างพระเอง เรื่องความรู้สึกก็มักจะเกิดขึ้น ความรู้สึกนั้น ไม่ต้องเป็นเรื่องเพศ แต่พระผู้ใหญ่กลัว ก็เลยพยายามทำทุกอย่างที่อาจจะสร้างความลำบากต่อพรหมจรรย์ ก็กันไว้ ผมสันนิษฐานว่า เพราะไปให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์เกินไป แล้วคนมาบวชส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจจะถือพรหมจรรย์ด้วย ผมมั่นใจว่า พระ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าแต่งงานได้ก็เอา”[๓๖]

 

John H. Crook กล่าวถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก(linkages between east and west) ในสถานการณ์ของโลกสมัยของพระพุทธศาสนาว่า เป็นเพราะคน ๒  ฝ่าย คือ กลุ่มนักคิด(ชาวพุทธ)ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มผู้สนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา(ผ่านทุนและอื่นๆ)อีกฝ่ายหนึ่ง ทุกเพศสภาพและทุกสถานภาพ ซึ่งสภาพของโลกของเราในเวลานี้กลวงโบ๋ เต็มไปด้วยการโป้ปดมดเท็จ เป็นโลกในยุคคอนกรีตและคอมพิวเตอร์ ซึ่งมนุษย์เองเป็นผู้ผลิตสิ่งเหล่านี้ออกมา  พร้อมกันกับการเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดของลัทธิปัจเจกนิยมที่เน้นความเป็นส่วนตัว ความเป็นตัวของตัวเอง ประเภทใครปรารถนาจะทำอะไรตามใจก็ได้[๓๗] (หมายถึง individual life  ซึ่งปรัชญาตะวันตก โดยนักปรัชญาจำนวนหนึ่ง เสนอกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งต่อมากลายเป็นจารีต  คือ การดำเนินชีวิตมีเสรีได้ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น[๓๘] -ผู้เขียน)  

            ปัจจุบันการใช้ระบบออนไลน์เชื่อมเข้าหากันของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานภาพภิกษุ  เสมือนเป็น กับดัก ที่อันตราย ผ่าน  รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส  หรือกามคุณทั้ง ๕ [๓๙] เช่น การใช้สัญลักษณ์ทางเพศ(sex symbol) เป็นเครื่องมือโฆษณาการค้า โดยที่ตัวภิกษุเองรับสื่อประเภทนี้เข้าไปโดยไม่รู้เท่า หรือ อาจรับโดยรู้เท่า แต่ยังฝืนกระทำการที่เป็นการฝ่าฝืนธรรมวินัย อย่างน้อยก็ในส่วนของเสขิยวัตร หรือไม่ก็การกระทำดังกล่าวเป็นโลกวัชชะหรือโลกติเตียน อย่างเช่น การคุยออนไลน์(chatting)กับสีกาในเรื่องทางเพศ หรือการเกี้ยวพาราสีสีกา เป็นต้น ทั้งยังเป็นไปได้ด้วยว่า สงฆ์เหล่านี้อาศัยสีกาเป็นบันไดไต่เต้าทางชนชั้นก็มี ทั้งที่กำลังอยู่ในสมณเพศ และลาสิกขาออกมาภายหลังจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสีกาคนนั้นแล้ว[๔๐]

 

๓.๕ สิกขาสงฆ์แบบสุกๆดิบๆ

 

ผลผลิตทางการศึกษาของคณะสงฆ์ เป็นแบบสุกๆดิบๆ  หมายถึง ความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ศึกษา หรือนักศึกษาผู้นั้นมีประสบการณ์เชิงประจักษ์ ในการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับแขนงวิชาการที่ศึกษาด้วย(ไม่นับรวมการศึกษาภายนอกวัดเองที่ไม่คำนึงถึงคุณสมบัติเรื่องนี้กันแล้ว โดยเฉพาะในชั้นบัณฑิตศึกษา ประเภทเอาใครจากที่ไหน  อายุเท่าไร มีวุฒิภาวะอย่างไร ไปเรียนก็ได้ เพราะหวังจะได้คนศึกษาเชิงปริมาณ และหวังจะได้ปริมาณเงินค่าเรียนจากนักศึกษาเป็นที่ตั้ง)   กรณีของพระสงฆ์ เมื่อท่านไม่มีประสบการณ์ทางโลกแล้วไปศึกษาวิชาการทางโลก ผล(งาน)ที่ออกมา เช่น งานทางด้านวิชาการในแขนงศาตร์โลก จึงเป็นแบบสุกๆดิบๆ[๔๑] ซึ่งประเด็นนี้วัฒนธรรมการศึกษาของไทยไม่ค่อยได้มีการคำนึงถึง หากแต่วัฒนธรรมการศึกษาของตะวันตกมองตรงกันข้าม ถือว่าประสบการเชิงประจักษ์  มีส่วนสำคัญต่อความความคิดเห็นของคน โดยเฉพาะของคนที่เป็นนักวิชาการ ,การที่พระสงฆ์ซึ่งไม่มีประสบการณ์ทางโลก ไปเรียนรู้เรื่องทางโลกเชิงวิชาการ ส่วนหนึ่งจัดเป็นการ “อนุมาน” ตามตัวหนังสือ ไม่อาจได้ชื่อว่า “แทงตลอด”ต่อปัญหาที่วิเคราะห์หรือวิจัยนั้น แม้จะประสบความสำเร็จตามขั้นตอนของงานวิชาการก็ตาม แต่สัมฤทธิ์ผลที่ออกมา เป็นสัมฤทธิ์ผลแบบสุกๆดิบๆ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาทีมีต่อสังคมไทยนั้นเกิดทางตรงและทางอ้อม ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมมาโดยตลอด สถาบันสงฆ์เคยเป็นดั่งตัวแทนทางจริยธรรมของสังคม เมื่อสังคมเกิดปัญหา ก็อาศัยหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเข้าแก้ไข มีการดำเนินชีวิตตามแบบฉบับพระศาสนา แต่เมื่อสถาบันสงฆ์เกิดมีปัญหาขึ้นมาบ้างนั่นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สังคมก็ถึงขั้นวิกฤติแล้วด้วยเช่นกัน[๔๒]

 

๔. ความแปลกแยกของคณะสงฆ์กับคฤหัสถ์

 

ชาวพุทธควรพิจารณาว่า เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ โดยเฉพาะความแปลกแยกระหว่างชาวพุทธกับสงฆ์ ที่ตอนนี้ต่างมุ่งไปคนละทาง , สงฆ์ นั้นมุ่งไต่เต้าผลักดัน ยกระดับตัวเอง ๒ แบบ คือ  หนึ่ง ใช้ระบบการศึกษา(จากสถาบันการศึกษาของสงฆ์เองและจากสถาบันการศึกษาจากข้างนอก) และ สอง มุ่งไต่เต้า ผลักดัน ยกระดับตัวเอง โดยผ่านระบบสมณศักดิ์  ตามร่างกฎหมายคณะสงฆ์  ขณะที่รัฐ (รัฐบาล+รัฐสภา) ทำหน้าที่สนับสนุนกิจการของคณะสงฆ์  

            ขณะที่ภาคประชาชนชาวไทยพุทธ กลับมีทิศทางเชิงปฏิภาคกับความเป็นไปของคณะสงฆ์  ซึ่งนับเป็นแนวโน้ม(trend)ที่น่าสนใจ

แนวโน้มดังกล่าว มีดังนี้[๔๓]

(๑)การที่ภาคประชาชนไม่ได้เป็นภาคส่วนที่ช่วยทำหน้าที่ในการตรวจสอบพระสงฆ์ เพื่อความสมดุล โปร่งใส อีกต่อไป ต่างจากเมื่อก่อนที่แม้มีคณะวินัยธรก็ตาม แต่ประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของที่ช่วยกันตรวจสอบวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่วัตรปฏิบัติไม่ดี ก็จะถูกภาคประชาชนชาวพุทธอัปเปหิออกไปจากชุมชน หรืองดการสนับสนุนต่อภิกษุรายรูป หรือต่อวัดนั้นๆ

(๒)การที่ภาคประชาชน ไม่เห็นความสำคัญของการพึ่งพาคณะสงฆ์ เนื่องจากสถานการณ์ที่เรียกว่า “คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติธรรม” มีมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการที่ชาวพุทธมีความรู้มากขึ้นบนฐานแหล่งความรู้ที่กว้างและหลากหลายในโลกกว้าง มีการทำให้เข้า (adapt) กับความต้องการหรือจริตทางด้านความชอบ ความสนใจของตัวเอง โดยตัวเองมากขึ้นทุกที  ทำให้สงฆ์มีบทบาทเป็นแค่ผู้มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เช่น งานบุญ งานศพ เท่านั้น

 (๓) ฝ่ายสงฆ์ขาดการนำศาตร์สมัยใหม่มาบูรณาการ (integration)กับหลักพุทธธรรม เรื่องนี้ ส่งผลต่อการเผยแผ่พุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีโจทย์(คำถาม)ใหม่ทั้งในเชิงความเชื่อ เชิงปรัชญา และเชิงศาสนาเกิดมามากมาย หากแต่สงฆ์ไทยส่วนใหญ่ยังคงมุ่งตอบโจทย์ปัญหาแบบเดิมๆ

            (๔) ช่องว่าง(gap)ในเชิงเป้าประสงค์ ระหว่างสงฆ์กับชาวพุทธมีมากขึ้น พระสงฆ์จำนวนมากขึ้นสนใจ “ศาตร์ทางโลก”  (ส่วนหนึ่ง ดูได้จากระบบการสอบปรียญธรรมที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า และมีทีท่าว่าจะต้องเลิกในอนาคต) ขณะที่ชาวพุทธที่เป็นชาวบ้านกลับสนใจ “ศาสตร์ทางธรรม” หรือสนใจทางธรรมหรือธรรมวินัยทั้งในส่วนของการศึกษาและส่วนของการปฏิบัติ ไม่รวมถึงวัฒนธรรมสงฆ์ไทยเชิงจารีต ที่มุ่งเน้นการสร้างศาสนวัตถุอย่างปราศจากการวางแผนรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวของศาสนา

             (๕) การเคลื่อนไหวของคณะสงฆ์ไทยที่เป็นทางการ นอกจากไม่กระฉับกระเฉงแล้ว ยังไม่กล้าตัดสินหรือชี้ทางออก ถูก-ผิด ของปัญหาของสังคมในประเด็นร่วมสมัยต่างๆ  อย่างน้อยก็เป็นแนวทาง(guideline) บนความเข้มข้น(ของทางออก ถูก-ผิด)ในระดับต่างๆ  เรื่องนี้แม้อาจถูกมองว่า สงฆ์ไปยุ่งเรื่องของชาวบ้าน และสังคม (แน่นอนว่าต้องดูถึงระดับของความเหมาะสมของการเข้าไปยุ่ง) แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การเข้าไปยุ่งเกี่ยวดังกล่าวเป็นการคงบทบาทของคณะสงฆ์ต่อชุมชนชาวบ้านในระดับต่างๆ ตลอดถึงชุมชนประเทศ และต่างประเทศ ดังการทำงานขององค์ดาไล ลามะ เป็นต้น

            สัญญาณเหล่านี้ เป็นตัวชี้อนาคตของคณะสงฆ์ไทย ที่มีระบบแบบแผน “สายงานแนวดิ่ง”  ต้องพึ่งพาสายงานบังคับบัญชา แทนที่จะเป็นแนวร่วมระนาบ ผสานกับชาวบ้านหรือชุมชน ซึ่งเป็น “สายค้ำจุน”ที่สำคัญ [๔๔]

เสมือนชาวบ้านกับพระ ต่างฝ่ายต่างแยกกันไปคนละทาง ไม่ผลประโยชน์เกื้อกูล “เชิงธรรม” หรือ “เชิงจิตวิญญาณ” ซึ่งกันและกัน หากกลับเป็นไปในแง่ลัทธิมายา ไสยาศาตร์มากขึ้นเรื่อยๆ จนลบเลือนแก่นแท้ของพระสัทธรรมไป ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ในยามที่เรายังมีระบบศูนย์กลางที่ยังพอเกื้อหนุนสถาบันสงฆ์อยู่ได้บ้าง ,ในอนาคต ทั้งสงฆ์ ทั้งรัฐและชาวบ้านพุทธบริษัท จำต้องช่วยเหลือกันเองให้มากขึ้น แบ่งกันทำหน้าที่ ไม่ใช่ต่างคนต่างเดิน[๔๕]

 

๕. พ.ร.บ.คณะสงฆ์ :ปมปัญหาบทบาทสงฆ์ในโลกสมัยใหม่

         

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ มองว่า  พ.ร.บ.คณะสงฆ์ในปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อความตั้งมั่น หรือความมั่นคงของพุทธศาสนา เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาตกอยูในความเสื่อมถอย[๔๖] ด้วยเหตุที่ทั้ง ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายสงฆ์  ฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชน(พุทธศาสนิกทั่วไป) ไม่ได้อิงซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะแกนกลางของฝ่ายสงฆ์ คือ มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายกำกับกิจการคณะสงฆ์ ที่ผูกติดกับฝ่ายโลก(หรือฝ่ายกฎหมาย) หมายถึง รัฐ(รัฐสภา/รัฐบาล)เป็นฝ่ายออกกฎหมายเพื่อดูแลความเป็นระเบียบร้อยของสงฆ์อีกชั้น ขณะที่สงฆ์เองมีวินัยสงฆ์คอยกำกับดูแลอยู่แล้วการมีพ.รบ.คณะสงฆ์ ทำให้การปฏิบัติตนของสงฆ์ต้องคำนึงความถูกต้องในแง่มุมของกฎหมายทั้งในเชิงภิกษุปัจเจกและเชิงการปกครองด้วย

ในการร่างรัฐธรรมนูญของไทย ฉบับปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๕๐) กำหนดหน้าที่ของรัฐ ในการอปุภัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน และศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต[๔๗] ซึ่งถือเป็นการให้ความสำคัญกับศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ในแง่ความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับศาสนาในฐานะหน้าที่(ของรัฐ) หรือเป็นหน้าที่ของรัฐในเชิงกฎหมาย(หลัก)แห่งการปกครองประเทศ, รัฐเข้าไปจัดการดูแลศาสนาเพื่อเป้าประสงค์บางอย่าง โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ยังร่างขึ้นเพื่อสวมคลุมสอดรับพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับ พ.ศ.๒๕๐๕ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕) ที่มีอยู่เดิม จึงเป็นการยึดโยงระหว่างอำนาจ ๒ ฝ่าย คือ อำนาจโดยตัวของคณะสงฆ์เองโดย “พระวินัยบัญญัติ” และอำนาจที่สอดแทรกเข้าไปจากส่วนของรัฐ โดย “นิติรัฐบัญญัติ”

            เปรียบเทียบกับระบบกฎหมายของอเมริกัน แยกเรื่องศาสนา ลัทธิหรือความเชื่อออกจากรัฐ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ รัฐไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับศาสนา ปล่อยให้เป็นเรื่องความเชื่อของปัจเจกชนไป ใครไม่มีศาสนาก็เป็นเรื่องของใครคนนั้น ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพต่อความเชื่อความศรัทธาของตนเอง เพียงแต่ความเชื่อความศรัทธานั้น ต้องไม่ไปประทุษร้ายต่อตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน หรือความเชื่อในลัทธิ ศาสนา ในอเมริกา กฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง[๔๘] ลัทธิ ศาสนาต่างๆ จำนวนมาก ไปเจริญเติบโตในอเมริกา ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ พุทธศาสนา ที่โตวันโตคืน มีชาวอเมริกันนับถือมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ฐานของความสนใจในไม่เพียง เป็นไปในแง่ของปริยัติเท่านั้น หากชาวอเมริกันยังสนใจ เรื่องการปฏิบัติอีกด้วย[๔๙]

            ต่างจากของไทยที่มีพ.ร.บ.คณะสงฆ์คอยกำกับดูแลองค์กรสงฆ์ในระดับต่างๆ ไล่ตั้งแต่ แต่ละวัด จนกระทั่งถึงแต่ละจังหวัด แต่ละภาค ตลอดถึงในระดับประเทศ  การไล่ลำดับผ่านระบบสมณศักดิ์ ตามสายการบังคับบัญชาคณะสงฆ์ ได้ก่อให้เกิดความแปลกแยก ขึ้นใน ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายพุทธบริษัท และฝ่ายรัฐ

ที่ผ่านมามีนักวิชาการบางคนเสนอให้เลิกพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับปัจจุบัน เพราะเห็นว่า เป็นฉบับเผด็จการเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากประชาชนและพระสงฆ์ชั้นผู้น้อยทั่วประเทศจะไม่มีส่วนร่วมแล้ว ยังทำให้ความสัมพันธ์ ๓ ฝ่ายระหว่างประชาชน สงฆ์ และรัฐ แตกออกเป็น ๓ เสี่ยง อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีส่วนเชื่อมโยงกันอีกเลย เป็นการรวบอำนาจภายใคณะสงฆ์ไว้ที่ มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกลุ่มพระราชาคณะอาวุโสที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน ๒๐ กว่ารูป นับเป็นการปกครองในระบอบคณาธิปไตย ภายในคณะสงฆ์นับตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน[๕๐] พร้อมกันนี้ ยังมีการเสนอให้แยกการเมืองกับศาสนาออกจากกัน ยุบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และยุบกรมการศาสนา[๕๑]  

 

๖. สภาชาวพุทธ : ทางออกปัญหาสงฆ์

 

จึงเป็นปัญหาว่า ชาวพุทธร่วมสมัยจะหาทางออกอย่างไร เพื่อให้พระพุทธศาสนายังเป็นที่พึ่งทางกายและทางใจสำหรับคนไทยในกาลข้างหน้าต่อไป  โดยเฉพาะในประเด็นการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาของสงฆ์และการศึกษาคฤหัสถ์ชาวพุทธเพื่อให้เข้าถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงปริยัติ และในเชิงจิตตสิกขา[๕๒]   ขณะเดียวกันก็เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของพระพุทธศาสนาทั้งระบบในประเทศไทย โดยไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่แต่เพียงฝ่ายเดียว หรือต่างฝ่ายต่างทำเหมือนสถานการณ์ที่เป็นอยู่เช่นปัจจุบัน[๕๓] ซึ่งผู้เขียนเสนอทางออกของปัญหาเชิงแบบจำลอง[๕๔] คือ ระบบสภา[๕๕]  หรือ สภาชาวพุทธ (พุทธบริษัทสภา) ประกอบด้วยบุคคลจาก ๓ ฝ่าย ได้แก่ ตัวแทนชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์[๕๖] ตัวแทนชาวพุทธฝ่ายสงฆ์[๕๗] และฝ่ายรัฐ[๕๘] ซึ่งมีหน้าที่ประสานการทำงานซึ่งกันและกัน เพื่อผดุง และทำนุบำรุงสถาบันพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ได้ในสถานการณ์โลกปัจจุบันและโลกอนาคต นอกเหนือไปจากการเห็นความสำคัญของ“ทุนและระบบกฎหมาย”[๕๙] ที่จะต้องนำมาเกี่ยวข้องและใช้เพื่อการนี้อีกด้วย[๖๐]

 

๗. สรุป

 

          ทางออกเพื่อผดุงและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงคนรุ่นใหม่และคนรุ่นต่อไป อยู่ที่การปรับสมดุลของพลังแห่งศักยภาพของพุทธบริษัททั้งระบบ ไม่จำเพาะแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มความเป็นไปของโลกที่เปลี่ยนจากเดิม ทั้งในเรื่องวัตถุ จิตใจ วัฒนธรรมและค่านิยม, แนวทางเชิงรายละเอียดของสภาชาวพุทธ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่ผู้เขียนนำเสนอทั้งหมด  หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามหลักการของการพร้อมใจเพื่อสร้างสมดุลร่วมกันทั้ง ๓ ฝ่ายคือ ฝ่ายฆราวาส  ฝ่ายรัฐและฝ่ายสงฆ์ โดยมีทุนและระบบกฎหมายเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงตามความเหมาะสมแห่งยุคสมัย ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการกอบกู้สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยไม่ให้เสื่อมถอยไปมากกว่านี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับยุคร่วมสมัย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เหมือนดังช่วงการเปลี่ยนผ่านของพระพุทธศาสนาหลายยุคที่ผ่านมาที่ได้มีการปรับตัวมาตลอดเพื่อให้เป็นไปตามยุคสมัยเชิงกาลานุวัตร  ขณะเดียวกันชาวพุทธเองต้องมีวิสัยทัศน์มองไปยังกาลสิบปีหรืออีกหลายปีข้างหน้าอีกด้วย โดยต้องไม่ลืมว่า ศาสนา ทุกศาสนาดำรงอยู่ได้ ก็เพราะการตีความให้เข้ากับยุคสมัย (จึงจะเป็นอกาลิโกได้จริง) ในสังคมไทยปัจจุบัน ก็ใช่ว่าจะไร้นักปราชญ์ทำอย่างนั้น ซึ่งทำให้ศรัทธาต่อศาสนามีนัยะสำคัญต่อชีวิตมากขึ้น[๖๑]

 

 

 

 

 

 

๘. แผนผังแสดงโครงสร้างของสภาชาวพุทธ

 

 

 

 

 

 

๙. แผนผังแสดงหน้าที่ด้านการวางระบบการศึกษาของสภาชาวพุทธ

 

          สภาชาวพุทธมีหน้าที่ในการวางระบบหรือแผนแม่บทการศึกษาพระพุทธศาสนา(Buddhism educational master plan) บนฐานความร่วมมือและความสอดคล้องกัน ๓ ฝ่าย คือ สงฆ์ รัฐ และคฤหัสถ์

 

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

๑.เอกสารภาษาไทย

ก.ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙

 

ข.ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑)หนังสือ

คนึงนิตย์ จันทบุตร . การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๔ .

กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๘

พระเฉลิมชาติ ชาติวโร(อิทธะรงค์) . ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย.

กรุงเทพมหานคร : นวสาส์นการพิมพ์, ๒๕๕๒

พระไพศาล วิสาโล . เซ็กส์กับพุทธ(บทความ) . October 11 .กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์ Openbooks, ๒๕๕๔

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ . พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย พัฒนาการและสารัตถ

ธรรม .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓

มงเซเญอร์ ปาเลกัวซ์    . เล่าเรื่องกรุงสยาม . แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พิมพ์ครั้งที่ ๓ .

กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา , ๒๕๔๙

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ .”พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช  ๒๔๘๔”  .วันที่  ๑๔  

ตุลาคม  ๒๔๘๔

แสวง อุดมศรี .การปกครองคณะสงฆ์ไทย .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย,  ๒๕๕๓

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย . พิมพ์ครั้งที่ ๓.

กรุงเทพมหานคร :  กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, ๒๕๕๓

 

(๒) วารสารและสิ่งพิมพ์

คอลัมน์สายด่วนจากอเมริกา,  พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  ,” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗

กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ รศ.ดร., “พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับอนาคตพระพุทธศาสนาของไทย”,

บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ , ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๑) : ๑-๑๘

อธิเทพ ผาทา ดร., “กำเนิดและพัฒนาการรูปแบบการปกครองแบบสังฆาธิปไตยของคณะสงฆ์

สมัยพุทธกาล” , บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ , ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๑) : ๖๓-๗๐

 

 

 

(๓) สาระสังเขปออนไลน์

ข่าวสดออนไลน์ . ผลเปรียญ ๙ ผ่าน ๖๓ รูป-สามเณร ๔. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1UWXpOVEl6TUE9PQ == [๑๐ ก.ย. ๒๕๕๕].

ดุษฎี พนมยงค์ . ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์  .

[ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid= TUROamIyd3dNVEUzTURnMU1nPT0= [๑๐ ก.ย. ๒๕๕๕].

นิธิ เอียวศรีวงศ์ .ดวงแก้วกลางพุงสตีฟ จ๊อปส์ . [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME56Z3dNelEyTXc9PQ==&sectionid=[๑๗ ก.ย.๒๕๕๕].

ผู้จัดการออนไลน์.ยอดภิกษุสอบบาลีเพิ่มกว่า ๓.๔ หมื่นรูป แต่ห่วงขาดสอบ ๑ ใน ๓.

[ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID= 9550000012007 &TabID=1&[๑๐ ก.ย.๒๕๕๕].

พระไพศาล วิสาโล .พุทธศาสนาไทยในอนาคต. [ออนไลน์] . แหล่งที่มา :

http://www.visalo.org/columnInterview/5507TPBS.htm [๑๗ ก.ย.๒๕๕๕].

_________.ดูรายละเอียดใน พระไพศาล วิสาโล . พุทธศาสนาไทยในทศวรรษหน้า . [ออนไลน์]

.แหล่งที่มา : http://www.visalo.org/article/budNextDecade.htm [๑๑ ก.ย.๒๕๕๕].

มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ .  “ถ้าเราเป็นตัวปลอมจะดับทุกข์ไม่ได้” .[ออนไลน์] . แหล่งที่มา :

http://epsie.wordpress.com/2006/01/07/robert-david-larson–อดีต-สันติกโรภิกขุ/   [๒๐ ก.พ. ๒๕๕๕].

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ .  ยอดภิกษุสอบบาลีเพิ่มกว่า ๓.๔ หมื่นรูปแต่ห่วงขาดสอบ ๑

ใน ๓. [ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx? NewsID=9550000012007 &TabID=1&[๑๐ ก.ย.๒๕๕๕].

สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง . ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงปี ๕๔ . [ออนไลน์]. 

แหล่งที่มา : http://www.dmc.tv/page_print.php?p=news/ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงปี-54.html [๑๐ ก.ย.๒๕๕๕].

Wikipedia. Separation of church and state in the United States. [online]. Source :

http://en.wikipedia.org/wiki/Separation_of_church_and_state_in_the_United_States%5B Sept. 10, 2012].

 

๒.เอกสารภาษาอังกฤษ

Crook , John H. .Buddhist Behavior and the Modern World :An International

Symposium. (Preceptual Truth and the Western Psychology of Human Nature,1994

Putuwar, Sunanda . The Buddhist Sangha Paraigm of the I deal Human society .

Maryland :University Press of America, 1991

 


[๑] พ.ร.บ.คณะสงฆ์ทั้ง ๓ ฉบับ ประกอบด้วย  ๑.พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับพ.ศ.๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑)ร่างในสมัยรัชกาลที่ ๕  ,๒. พ.ร.บ.คณะสงฆ์ )ฉบับพ.ศ. ๒๔๘๔  ร่างในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ,๓. พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕) ร่างในสมัยรัฐบาลสฤดิ์ ธนะรัชต์ แก้ไขเพิ่มเติมในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน , ดูรายละเอียดใน  ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ รศ.ดร., “พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับอนาคตพระพุทธศาสนาของไทย”, บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ , ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๑) : ๔-๙

[๒] เรื่องเดียวกัน , หน้า ๓

[๓]  ในช่วงที่ผ่าน พระพุทธศาสนานิกายต่างๆจากต่างประเทศเข้ามา ในประเทศไทยมาก เช่น นิกายมหายาน  นิกายวัชรยาน  เป็นต้น การดังนี้ ไม่ใช้เรื่องเสียหาย หากแต่ควรประเมินสถานการณ์ในบริบทความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเสียใหม่ เพื่อให้ทราบว่าไปถึงแล้ว และควรมีวิธีการจัดการเพื่อความพัฒนาสถาพรของพระศาสนาอย่างไร  หาใช่ต่างคน ต่างฝ่าย ต่างทำเหมือนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  -ผู้เขียน

[๔] เนื้อหาของทั้ง ๔ ข้อ  ล้วนเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก เช่น ระหว่างความเป็นไปของสถานการณ์โลกกับแนวโน้มความเป็นไปของสถานการณ์พุทธศาสนาในประเทศไทย ดังกรณีประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเรื่องสากล ส่งผลถึงการออกบังคับใช้กฎหมายต่างๆของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย  สิทธิมนุษยชนในมิติของศาสนา  ถือว่าการบังคับให้นับถือศาสนา(อยู่ในกฎของศาสนา) หรือความได้สิทธิ์ไม่เท่าเทียมกันทางศาสนา(ในแต่ละศาสนา)ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล ,พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ,ดร. ,บรรยายในชั้นเรียนวิชาสัมมนาพระพุทธศาสนา , มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(วัดมหาธาตุ),วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๕

[๕] มีการวิเคราะห์ อย่างน้อยก็โดย นิกเกียว นิวาโนะ (Nikkyo Nivano) ซึ่งศึกษาวิเคราะห์สัทธรรมปุณฑริกสูตร เขาเห็นว่า ในอีกไม่เกินคริสตสหัสวรรษหน้า พระพุทธศาสนาจะกลายเป็นศาสนาแห่งคฤหัสถ์ , พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ , พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย พัฒนาการและสารัตถธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓),  หน้า ๒๑๑

[๖] ดูรายละเอียดใน พระไพศาล วิสาโล . พุทธศาสนาไทยในอนาคต . [ออนไลน์] . แหล่งที่มา : http://www.visalo.org/columnInterview/5507TPBS.htm [๑๗ ก.ย.๒๕๕๕].

[๗] ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ รศ.ดร., “พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับอนาคตพระพุทธศาสนาของไทย”, หน้า ๓

[๘] ดูรายละเอียดใน พระไพศาล วิสาโล . พุทธศาสนาไทยในทศวรรษหน้า . [ออนไลน์] . แหล่งที่มา : http://www.visalo.org/article/budNextDecade.htm [๑๑ ก.ย.๒๕๕๕].

[๙] อ้างแล้ว

[๑๐] มงเซเญอร์ ปาเลกัวซ์    , เล่าเรื่องกรุงสยาม , แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, พิมพ์ครั้งที่ ๓ , (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา , ๒๕๔๙), หน้า ๓๓๓-๓๓๔

[๑๑] ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” . [ออนไลน์] . แหล่งที่มา :  http://enlightened-jurists.org/directory/204  [๑๐ ก.ย. ๒๕๕๕].

[๑๒] คนึงนิตย์ จันทบุตร , การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๔ , (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๘) , หน้า ๑๖

[๑๓] ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” , อ้างแล้ว

[๑๔] ดุษฎี พนมยงค์ . ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์  . [ออนไลน์] . แหล่งที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEUzTURnMU1nPT0 = [๑๐ ก.ย. ๒๕๕๕].

[๑๕]  ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” ,อ้างแล้ว

[๑๖] คนึงนิตย์ จันทบุตร , การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๔ , หน้า ๗๓

[๑๗] Putuwar, Sunanda , The Buddhist Sangha Paraigm of the I deal Human society, (Maryland : University Press of America, 1991)  p. 11

[๑๘] ดูรายละเอียดใน อธิเทพ ผาทา ดร., “กำเนิดและพัฒนาการรูปแบบการปกครองแบบสังฆาธิปไตยของคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล” , บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ , ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๑) : ๖๓-๗๐

[๑๙] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์ ,อ้างใน  ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๔๘๔  อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” . อ้างแล้ว

[๒๐] สมาชิกสังฆสภา กำหนดไว้ว่ามีจำนวนไม่เกิน  ๔๕ รูป ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป, พระคณาจารย์เอก, พระเปรียญเอก (ตั้งแต่เปรียญ  ๗-๙) คัดมาจากพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติถึง แต่หากมีจำนวนมากจะคัดตาม “ลำดับอาวุโส” [๒๐]ประธานและรองประธานสภา สมเด็จพระสังฆราชก็จะเป็นคนแต่งตั้งจากสมาชิกสังฆสภา[๒๐] อนึ่ง สมาชิกสังฆสภาไม่ได้เกิดจากการ “เลือกตั้ง” แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกฎหมายได้เปิดช่องให้ตั้ง “คณะกรรมการวิสามัญ” ที่ไม่จำเป็นต้องสมาชิกสังฆสภา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการประชุม หากมีความรู้ความสามารถ และคณะกรรมาธิการยังมีอำนาจนิมนต์ภิกษุ หรือเชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการมาแสดงความคิดเห็นกิจการที่กระทำอยู่  สิ่งเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้คณะสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมได้กว้างขวาง, อ้างแล้ว

[๒๑]  มาตรา ๑๖  ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช  ๒๔๘๔” ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘, วันที่  ๑๔  ตุลาคม  ๒๔๘๔, หน้า ๑๓๙๖

[๒๒] แสวง อุดมศรี ,การปกครองคณะสงฆ์ไทย ,(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๕๓), หน้า ๑๙๐

[๒๓] มาตรา ๒๒ ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช  ๒๔๘๔” ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๕๘, วันที่ ๑๔  ตุลาคม ๒๔๘๔, หน้า  ๑๓๙๘  

[๒๔] มาตรา ๑๗ ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช  ๒๔๘๔” ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘, วันที่  ๑๔  ตุลาคม  ๒๔๘๔, หน้า ๑๓๙๖

[๒๕] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์ ,อ้างใน  ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๔๘๔  อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” ,อ้างแล้ว

 

[๒๖] ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ๗๐ ปี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๔๘๔  อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับนิติราษฎร์  ตอนที่  ๑ “ในอ้อมอกคณะราษฎร” . อ้างแล้ว

[๒๗] ถวิล สมัครรัฐ ,อ้างใน พระเฉลิมชาติ ชาติวโร(อิทธะรงค์) . ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย,(กรุงเทพมหานคร : นวสาส์นการพิมพ์, ๒๕๕๒), หน้า ๕๖

[๒๘] สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง . ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงปี ๕๔. [ออนไลน์].  แหล่งที่มา: http://www.dmc.tv/page_print.php?p=news/ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงปี-54.html[๑๐ ก.ย.๒๕๕๕].

[๒๙] สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ .  ยอดภิกษุสอบบาลีเพิ่มกว่า ๓.๔ หมื่นรูปแต่ห่วงขาดสอบ ๑ ใน ๓. [ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID= 9550000012007 &TabID=1&[๑๐ ก.ย.๒๕๕๕].

[๓๐] ข่าวสดออนไลน์ . ผลเปรียญ ๙ ผ่าน ๖๓ รูป-สามเณร ๔. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1UWXpOVEl6TUE9PQ == [๑๐ ก.ย. ๒๕๕๕].

[๓๑] สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ .  ยอดภิกษุสอบบาลีเพิ่มกว่า ๓.๔ หมื่นรูปแต่ห่วงขาดสอบ ๑ ใน ๓ . อ้างแล้ว

 

[๓๒]  พระไพศาล วิสาโล , เซ็กส์กับพุทธ(บทความ) , October 11 ,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ Openbooks, ๒๕๕๔) ,หน้า ๑๓๗-๑๔๗

[๓๓] พระเฉลิมชาติ  ชาติวโร(อิทธะรงค์) , ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย , หน้า ๗๘-๗๙

[๓๔] อ้างแล้ว

[๓๕] Robert David Larson หรืออดีตพระสันติกโร(Santikaro Bhikkhu)เกิดเมื่อปี ๒๕๐๐ ที่นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวคริสเตียน นิกายโปรเตสแตนต์ สำเร็จการศึกษาทางด้านศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวาทศิลป์ Liberal Arts (Rhetoric) จาก University of Illinois แล้วผันชีวิตมาเป็นอาสาสมัครของหน่วยอาสาสมัครเพื่อสันติภาพสหรัฐอเมริกา (Peace Corps) ในเมืองไทยเมื่อปี ๒๕๒๓ กระทั่งออกบวชเกือบครึ่งชีวิต อุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ โดยท่านปัญญานันทภิกขุเป็นพระอุปัชฌาย์ สันติกโรยังเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (INEB) และเป็นที่ปรึกษาสมาคมนพลักษณ์ไทย 

[๓๖]อดีตสันติกโรให้สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่  ๑๕ ฉบับที่ ๖๘๔  วันจันทร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๙ , ดูรายละเอียดใน มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ .  “ถ้าเราเป็นตัวปลอมจะดับทุกข์ไม่ได้” .[ออนไลน์] . แหล่งที่มา : http://epsie.wordpress.com/2006/01/07/robert-david-larson–อดีต-สันติกโรภิกขุ/   [๒๐ ก.พ. ๒๕๕๕].

[๓๗] Crook , John H. ,Buddhist Behavior and the Modern World :An International Symposium, (Preceptual Truth and the Western Psychology of Human Nature,1994),   p.223-224

[๓๘] จารีตที่ได้จากการค้นพบในช่วงหลายปีมานี้ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งกายและใจ จากยุคแห่งการสำรวจเพื่อศึกษา(exploring)พฤติกรรมของมนุษย์จนกระทั่งถึงยุคของการทดสอบจิตร่วมสำนึก (consciousness)  ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อจำแนกถึงความแตกต่างระหว่าง ฉัน/กู (me/สำนึกในตัวตน –conscious of self) กับ ฉัน/กู( I /สติในตัวตน-self awareness)  ผลที่ได้ ก่อให้เกิดกระแสการเคลื่อนย้ายความคิดจากทฤษฎีการกระทำ(action theory) ไปสู่การเพ่งพิจารณาถึงพฤติกรรมของผู้กระทำ ตลอดถึงทฤษฎีการเคลื่อนไหว(motion theory) แม้แต่การเพ่งพิจารณาจากฐานขั้นต่ำของกระบวนการทั้งหมด ก็ปรากฎว่าทั้งหมดเชื่อมโยงกับจิตร่วมสำนึก(consciousness) , Op.cit.

[๓๙] ม.มู.(ไทย)๑๒/๑๗๘/๑๗๘-๑๘๒

[๔๐] หรือเรียกได้ว่า อาศัยความสัมพันธ์กับสีกาอย่างมีเป้าประสงค์-ผู้เขียน 

[๔๑]  สังเกตุว่า วัฒนธรรมทางการศึกษาไทยไม่ค่อยได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ขณะที่วัฒนธรรมการศึกษาของโลกตะวันเป็นไปอีกอย่าง คือ มีการคำนึงถึงประสบการณ์เชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรียน ที่หมายถึง การคำนึงจากฟากของสถาบันการศึกษา หนึ่งและจากฟากของผู้เล่าเรียนหรือนักศึกษาเอง หนึ่ง การวางระบบการศึกษาของไทยจึงเป็นการวางระบบ เพื่อ “ตะบี้ตะบันเรียน” เพื่อให้จบๆไป อย่างไรก็ได้  เพราะเป้าหมายคือ ปริญญา ที่เป็นบันไดขั้นหนึ่งของสังคมไทย  ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาที่ออกมาจึงเป็นการวิเคราะห์แต่ในตำรา ลอยไปบนกระดาษ  ขาดความรู้เชิงประจักษ์ การวิเคราะห์จึงคับแคบ ไม่ใค่รจะอยู่บนสถานการณ์ความเป็นจริ ง  ไม่ทะลุทะลวงลงไปถึงความหมายเชิงลึกของตัวหนังสือ  จึงเรียกว่า การศึกษาแบบสุกๆกดิบๆ ผลิตนักวิชาการคอหอยงาช้าง นั่งวิเคราะห์ อยู่บนวิมานออกมามากมาย   โดยเฉพาะที่มาจากพระสงฆ์ (หมายถึงจำเพาะ สงฆ์ที่มุ่งจะผลิตงานวิชาการแขนงทางโลก เป็นหลัก) -ผู้เขียน

[๔๒]  พระเฉลิมชาติ  ชาติวโร(อิทธะรงค์) , ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย , หน้า ๑๐๑

[๔๓]  คอลัมน์สายด่วนจากอเมริกา,  พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  ,” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗ กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

 

[๔๔] อ้างแล้ว

[๔๕] อ้างแล้ว

[๔๖] ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ รศ.ดร. .“พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับอนาคตพระพุทธศาสนาของไทย”,หน้า ๓

[๔๗] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย , พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร :  กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, ๒๕๕๓),หน้า ๕๑

[๔๘] ดูรายละเอียดใน Separation of church and state  ของสหรัฐอเมริกา ใจความตอนหนึ่งที่ว่า “…and Article VI specifies that “no religious Test shall ever be required as a Qualification to any Office or public Trust under the United States”  จดหมายของThomas Jefferson ถึง Danbury Baptists เมื่อปี ค.ศ.๑๘๐๒  , wikipedia. Separation of church and state in the United States. [online]. Source : http://en.wikipedia.org/wiki/Separation_of_church_and_state_in_the_United_States%5B Sept. 10, 2012].

[๔๙] คอลัมน์สายด่วนจากอเมริกา,  พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  ,” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗ กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

[๕๐]ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ รศ.ดร. .“พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับอนาคตพระพุทธศาสนาของไทย”,  หน้า ๘

[๕๑] เรื่องเดียวกัน ,หน้า  ๑๖

[๕๒] เชิงจิตตสิกขา หมายถึง การศึกษาเรื่องปฏิบัติการทางจิต ทั้งในส่วนของสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน

[๕๓] พ.ร.บ. คณะสงฆ์ปี ๒๔๘๔ ใช้ระบบสังฆสภา  คือ มีแต่ฝ่ายสงฆ์เพียงอย่างเดียว แต่หลักการของสภาชาวพุทธ อาศัย ๓ ฝ่ายประกอบกัน เพื่อสร้างความสมดุลและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา

[๕๔] แบบจำลอง หรือที่เรียกว่า“ตุ๊กตา” หมายถึงการวางแบบ(องค์กรพุทธ)เพื่อให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ส่วนจะเป็นอย่างแบบที่วางไว้หรือไม่นั้น ต้องมีการหารือหรือพิจารณาร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปในท้ายที่สุด

[๕๕] สภา หมายถึง การประชุมร่วม ตั้งแต่ ๒ คณะบุคคลขึ้นไป-ผู้เขียน

[๕๖] ซึ่งมีหน้าที่ คือ ก. หน้าที่ทำนุบำรุงสงฆ์(วัด) ข.หน้าที่ในการตรวจสอบวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ค.หน้าที่ในการเผยแผ่พระศาสนา -ผู้เขียน

[๕๗] ซึ่งมีหน้าที่ คือ  ก.ปฏิบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์    ข..เผยแผ่พระพุทธศาสนา  ค.ทำนุบำรุงวัด- ผู้เขียน

[๕๘] ซึ่งมีหน้าที่ คือ ก.สนับสนุนกิจการของคณะสงฆ์ข. ปฏิบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์ ค.เผยแผ่พระศาสนา – ผู้เขียน

[๕๙] กล่าวได้ว่า ทุน เป็นปัจจัยสำคัญของต่อการขับเคลื่อนในเชิงความตั้งมั่น และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในปัจจุบัน ซึ่งจะละเลยเสียมิได้ ส่วนกฎหมายนั้น หมายถึงการออกแบบเพื่อวางองค์กรชาวพุทธไว้ในที่ทางที่เหมาะสม และสะดวกสำหรับความตั้งมั่น และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างได้ผลทั้งในเชิงปริมาณของศาสนิก และคุณภาพของศาสนิก-ผู้เขียน

[๖๐] คอลัมน์สายด่วนจากอเมริกา,  พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์  ,” สภาชาวพุทธ” , สยามรัฐรายวัน, (๗ กันยายน ๒๕๕๕): ๒๐

[๖๑] นิธิ เอียวศรีวงศ์ .ดวงแก้วกลางพุงสตีฟ จ๊อปส์ . [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME56Z3dNelEyTXc9PQ==&sectionid=[๑๗ ก.ย.๒๕๕๕].

 

ใส่ความเห็น

เงาอำนาจ

พีร์  พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ptipitaka@yahoo.com
 
        คงไม่มีใครหาตัวเลขจำนวนคนไทยที่มาอาศัยอยู่ในอเมริกาได้อย่างชัดเจนแน่นอน เพราะยากที่จะหา เพราะไม่พยายามที่จะหา  หรือพยายามที่จะหาแล้วแต่หาเจอไม่หมด
            ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่  คนไทย ก็คือคนไทยครับ โดยเฉพาะประเภทที่เกิดและโตที่เมืองไทย ก่อนที่จะเดินทางมาทำมาหากินกันในอเมริกา
                ดังนั้น แม้กระทั่งแนวคิดทางการเมืองและความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมืองไทยระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือฝ่ายจารีตกับฝ่ายเสรี หรือฝ่ายก้าวหน้า ก็เกิดขึ้นกับกลุ่มคนไทยในอเมริกาเช่นเดียวกันอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
                เกิดวิวาทะทางการเมืองระหว่างกลุ่มคนไทย ชนิดที่ไม่แตกต่างไปจากเมืองไทย เพราะเดี๋ยวนี้ข่าวสารถึงกันหมดแล้ว ยิ่งคนไทยในอเมริกา ด้วยแล้ว โอกาสในการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับเมืองไทยในด้านต่างๆ มีมากกว่าคนไทยในประเทศไทยเสียอีก
                ทั้งนี้ เนื่องจากมีข่าวสารจำนวนหนึ่งถูกปิดกั้น(เซ็นเซอร์)จากรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ที่นี่  การปิดกั้นดังกล่าวแทบไม่มี
                การศึกษา เรียนรู้อะไรต่างๆ  โดยเฉพาะในทางการเมือง จึงเป็นไปอย่างเต็มที่ ค่อนข้างเสรี โดยเฉพาะนัยแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อนำไปสู่ประตูแห่งสัจจะ
                อะไรก็ตามที่มีลักษณะลักปิดลักเปิด กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงเชิงการพัฒนาของวัฒนธรรมการเมือง หรือวัฒนธรรมการเมืองเดินหน้าไปในเชิงบวก
                การเข้าใจในประเด็นใหญ่ใจความของ “อำนาจทางการเมือง” ว่า ควรมาจากไหน อะไรเป็นอำนาจหลักในระบอบ
                จนเกิดคำตอบที่ชัดเจนแล้วว่า  อำนาจควรมาจาก “ประชาชน” และ “ประชาชน” เป็นอำนาจหลักในระบบ ,ทุกๆอำนาจ ล้วนผูกพันอยู่กับ “ประชาชน” ไม่ว่า จะเป็นนิติอำนาจ บริหารอำนาจและ ตุลาการอำนาจ ซึ่งก็ล้วนแต่ยึดโยงอยู่กับประชาชน
                ชนิดที่ไร้เงาทะมึน ของ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือการอุปโลกน์สัญลักษณ์เงา  ขึ้นมาบัง เพื่อพร่าสัจจะทางการเมืองและสัจจะประการอื่นๆให้เลือนลางและปลาสนาการไป
                อย่างเช่นวิถีการเมืองของอเมริกัน  ซึ่งผมเคยสัมผัสมาหลายคราหลายสมัย โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันสมัยการเลือกตั้งใหญ่ๆอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดี ,ความเป็นคนธรรมดาๆที่ขยับตัวเองขึ้นกุมตำแหน่งหัวหน้าคณะบริหารของประเทศใหญ่ประชากรเกิน 300 ล้านคนแห่งนี้
                เพราะมีแต่คนเท่านั้นที่เข้าใจคน รู้บริหารจัดการคน และ มีแต่คนเท่านั้นที่ยอมรับคนด้วยกัน ในเมื่อระบอบนั้นได้ถูกคนสร้างขึ้นมาแล้วและคนส่วนใหญ่ยอมรับร่วมกัน ,ที่เรียกกันว่า “เจตน์จำนง”ของประชาชน จนต่อมาได้กลายเป็น “สัญญาประชาคม”
                 อำนาจทางการเมืองทั้งหมดในระบอบอเมริกัน ถูกยึดโยงโดยอำนาจของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ แม้กระทั่ง อำนาจตุลาการ
                อำนาจตุลาการในความหมายของอเมริกันไม่ใช่อำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่แตะต้องไม่ได้ และไม่มีอำนาจทางการเมืองใดๆเลยที่จะอยู่เกินเอื้อมมือของประชาชน
                งานเลี้ยงในค่ำนั้นของชุมชนชาวเอเชียน  ที่ลาสเวกัส  กะเหรี่ยงอย่างผมเดินกอดคอกับผู้พิพากษาที่มาร่วมในงาน
อ๊ะ !!น่าจะเป็นว่า สุภาพบุรุษร่างสูงใหญ่  ที่มาจากการเลือกตั้งท่านนี้โอบผมไว้ในอุ้งแขนของเขาซะมากกว่า !
                เสร็จแล้ว เขากับผมก็เป็นราษฎรเต็มขั้นเหมือนกัน เพราะเขาก็มาแล้วไปตามวาระ เหมือนกับตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ
                แต่แล้ว ผมก็ไม่ทราบว่า การเดินทางมาเยือนอเมริกาของ “อำนาจที่ 4” จากเมืองไทยจะได้ประโยชน์ไรบ้าง
                คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นำทีม คณะนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่น 3 ดูงานเลือกตั้งในอเมริกา ก่อนที่การเลือกตั้งใหญ่ ประธานาธิบดีจะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ย. 2555
                 ทีมเดียวกันนี้นำโดยนายอภิชาต  สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมด้วยกรรมการการเลือกตั้ง นายสมชัย จึงประเสริฐ นางสดศรี สัตยธรรม และนายวิสุทธิ์  โพธิแท่น
                 อากัปการศึกษาดูงานครั้งนี้ได้เอกอัครราชทูตไทยประจำ กรุงวอชิงตัน ดีซี นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ จัดให้
ตามข่าว(นสพ.เสรีชัย)ระบุว่า กกต.และคณะนักศึกษา  พร้อมด้วยผู้นำชุมชนคนไทยและสื่อมวลชนใน วอชิงตัน ดีซี ได้พบปะพูดคุยกันประมาณ 3 ชั่วโมง  คณะนักศึกษา พตส.3 ได้ไปศึกษาดูงานที่พรรคเดโมแครต และ พรรครีพับริกันอีกด้วย
                ครับ อเมริกันมีคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ที่เรียกว่า Federal Election Commission (FEC) ซึ่งที่จริงแล้ว คณะของกกต.ของไทยน่าจะได้ดูถึงที่มาและวิธีการทำงานของเขาว่าเหมือนหรือต่างจากกกต.ของไทยอย่างไร มากกว่าจะการมุ่งโชว์ภาพการเดินเข้าไปในแคมเปญการเลือกตั้งปี 2012 ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ 2  พรรคของอเมริกัน
               หากดูจากบริบทที่มาของ FEC ของอเมริกันแล้ว ก็ไม่อาจถือว่า เป็นอำนาจที่ 4 ได้เลย
กรรมการทั้ง 6 คน ของFEC มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และรับรองโดยสภาสูง หรือซีเนต มีวาระการดำรงตำแหน่งต่อคนคราวละ 6 ปี โดยกรรมการ 2 คน ต้องได้รับการแต่งตั้งทุกๆ 2 ปี , กรรมการของFECสังกัดพรรคเดียวกันไม่เกิน 3 คน , รวมถึงการกระทำของคณะกรรมการจะมีผลได้ในทางปฏิบัติต้องใช้  4 เสียงขึ้นไป (มีบางคราวที่ 3 เสียงเท่ากันยันกัน) นอกเหนือไปจากการที่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่สลับกันเป็นคราวละ 1 ปีต่อคน หมุนเวียนกันไปจนกระทั่งครบทั้ง 6 คนในที่สุด
                บ่งให้เห็นการทำงานที่เชื่อมหาประชาชน ผ่านทั้งตัวประธานาธิบดีและสมาชิกสภาสูง(ซีเนเตอร์) ที่มาจากการเลือกตั้ง
                ในโลกปัจจุบันที่วิวัฒนาการของแขนงความรู้ด้านต่างๆได้พุ่งเข้าเข้าคนส่วนใหญ่  “การลากตั้งสว.” จึงเป็นเรื่องคร่ำครึ โดยที่ประเด็นยังอยู่ที่การไว้ใจและยินยอมมอบอำนาจสิทธิ์ให้อยู่ในมือประชาชนหรือไม่ บนฐานความเชื่อว่า ปัญหาทางการเมืองและปัญหาส่วนรวมเหล่านั้นประชาชนจัดการกันเองได้
                 การณ์ออกจะเป็นเรื่องตลกขำขันเสียด้วยซ้ำ เมื่อไม่นานมานี้ที่สว.สรรหาไทยผู้หนึ่ง ทำการรณรงค์(แคมเปญ)ย่อยๆในแอล.เอ. ให้คนไทยมีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศ  หากที่จริงกลับแย้งสวนกับที่มาของตัวเขาเสียเอง
                  ในเมื่อต้นขั้วตัวบท ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมการเมืองแบบไทย ๆ ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ยึดโยงกับประชาชนส่วนใหญ่ดังเช่นระบอบอเมริกัน ที่ค่อนข้างปลอดจากเงาอำนาจและอภินิหาร  
                 อำนาจและอภินิหารอยู่ที่ตัวมนุษย์ตะหาก
                  อย่างนี้แล้ว กี่ทริพๆดูงานในอเมริกา จะมีความหมายกระไรได้ !!

ใส่ความเห็น

ดู๊ดคอฟฟี่่อาร์ตจำหน่ายเมล็ดกาแฟสดเอสเพรสโซ ตรงจากไร่กาแฟ

ดู๊ดคอฟฟี่อาร์ต จำหน่ายเมล็ดสดกาแฟคั่วเอสเพรสโซ ในราคากิโลกรัมละ 350 บาท

ติดต่อ 085 2441332
          02 185 4550

59 ม.4 ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

Image

, , ,

ใส่ความเห็น

จอมยุทธ์ ชาวนาและสรรชัย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ptipitaka@yahoo.com

ผมว่า แทบไม่มีใคร “คนไทย” ในอเมริกาไม่รู้จัก “แอล.เอ.” ดินแดนที่ อรรคเดช ศรีพิพัฒน์ หรือ  “พี่แตน” บรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของที่นั่น “สยามมีเดีย”  เคยให้ความหมายกับผมว่า เป็นดินแดนแห่งตำนานคนไทย   เขาพยายามกระตุ้นให้ผมนำเสนอทั้งมุมตรงและมุมกลับของบรรยากาศชุมชนวิถีคน  และอะไรอีกหลายอย่าง อันเป็นการจำเพาะ แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ยังไม่มีโอกาสที่ว่านั้น

  ไม่น้อยไปกว่า สมเจตน์ พยัคฆฤทธิ์  หรือ “พี่เจตน์” บรรณาธิการใหญ่ของ “เสรีชัย” ผู้ใช้ชีวิตอย่างอาจอง คร่ำหวอดอยู่กับสังคมท้องถิ่นของแอล.เอ.มาอย่างคนที่ไร้บริบทของความแปลกแยก กับชุมชนไทยเราที่นั่น เขาผนึกชีวิตของเขาเองกับสภาพแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน ลงตัว รู้เท่าและบริบูรณ์  ,หากเป็นในเชิงการใช้ชีวิต หาใช่บริบทเศรษฐกิจส่วนตัวก็หาไม่ 

สมเจตน์ สัมผัสกับ“ไทยอพยพ” มาหลายรุ่น เหมือนที่ครั้งหนึ่ง ณ ร้านอาหาร “สวนตาล” ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายหลักฝั่งอิสต์ ฮอลลีวูด  ดินแดนไทยทาวน์ ที่เขาเคยวาทกรรมเอาไว้ว่า “เป็นจอมยุทธ นอก จากใช้ดาบเป็นอย่างคล่องแคล่วแล้ว ถึงคราวต้องไถนา มันก็ต้องไถนาได้ด้วย และเมื่อถึงคราวต้องจับดาบอีกก็สามารถใช้มันอย่างคล่องแคล่วเช่นกัน”

วาทกรรมนั้นของสมเจตน์ เสมือนภาพเขียนชีวิต ไม่ก็นาฏกรรมชีวิตที่ชัดเจนอะไรเยี่ยงนี้

เพราะในอเมริกา มีเหล่าจอมยุทธ์หลากหลายที่ต้องมาไถนา  ซึ่งก็มีประเภทที่มีความหวังรอจับดาบคืน และประเภทที่ไร้ความหวังจับดาบคืน ประเภทที่อยู่เพื่อที่จะหวนกลับไปท่องยุทธจักร ได้จับดาบอีกครั้งนั้น อยู่ได้ด้วย  “Hope”

ชีวิตครับ  ถ้าใจเสาะไม่สู้มันก็ต้องตายไปเท่านั้นเอง

การต่อสู้จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ในครัว ในร้านอาหาร ในโรงงาน ในห้องส้วม ในบ่อน ในไร่นา บนถนน สารพัดที่ สารพัดประเภทแรงงานอาชีพพื้นฐานในอเมริกา

ผมว่า “ไถนา” ของสมเจตน์ไม่ยากที่กาย แต่ไปยากตรงที่ใจ ตะหาก , สมดังคำว่า มีใจเป็นประธาน มีใจเป็นเอก ซึ่งเหล่าจอมยุทธ์ ผู้ที่ผ่านเรื่องนี้มา ย่อมเข้าใจดีว่า อะไรเป็นอะไร

จากจอมยุทธ์ผู้เคยจับดาบและมีชีวิตโลดแล่น มาเป็นชาวนา , ไม่ใช่ว่าชาวนาจะไร้เกียรติ เป็นแต่งานที่ลงมาทำนั้นมีวิธีการทำ การจัดการต่อตัวเองแตกต่างกัน แม้จะไม่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็ตาม

ตรงกันข้ามในความคิดของผมกลับมองว่า  การลงมาทำนาของจอมยุทธ์ เป็นการฝึกวรยุทธ์ขั้นสูงหรือชั้นเลิศ  เป็นการผึกใจ ฝึกตบะ การละวางเรื่องตัวตน อ่อน แข็ง แปรผันตามสภาพ

นี่ไม่ใช่ความหมายของการใช้ชีวิต“ในขั้นเทพ” ดอกหรือ??

ใครที่ผ่านการใช้ชีวิตและมีมุมมองภายในเยี่ยงนี้ ย่อมกลาย  เป็นจอมยุทธ์เหนือจอมยุทธ์ กลายเป็น“เซียนน้อย” ในบางด้าน ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว

ก็คุณธรรมการดำรงตน มีครบหรือแทบครบถ้วน ไหนจะหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัวและสังคม(มนุษยธรรม) ไหนจะความอดทน(ขันติ) ไหนจะความเพียร(วิริยะ) ไหนจะการควบคุมจิตใจตัวเองให้ได้(ทมะ) ไหนจะต้องใส่ใจ มุ่งมั่นต่อหน้าที่การงาน(จิตตะ) ไหนจะต้องใคร่ครวญ วางแผนการใช้ชีวิต และวางแผนเรื่องความเป็นอยู่ต่างๆ(วิมังสา)  ฯลฯ

นี่ล่ะ ความหมายของชีวิตที่แท้จริง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นตัวแทนความหมาย ชีวิตคนไทยในแอล.เอ.และชีวิตคนไทยในอเมริกายุค 30 กว่าปีที่แล้วไล่ลงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ที่การเป็นจอมยุทธ์นั้น ชีวิตมีความท้าทาย เข้มข้นและเคี่ยวกรำ มากขึ้นกว่าเดิมหลายสิบเท่า

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ!

ชีวิตเมื่อก่อนนับว่ายากยิ่งแล้ว ชีวิตยุคหลังนับว่า ยากยิ่งกว่า คนไทยเราส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างไปจากคนอีกหลายเชื้อชาติที่อยู่รวมกันในดินแดน ที่เรียกว่า ดินแดนแห่งเสรีภาพ ซึ่งสำหรับบางมิติแล้ว ไม่สามารถรู้ได้เช่นกันว่า ในความเป็นจริงของชีวิตแล้วมันเสรีจริงๆ ตามที่พูดกัน หรือเสรีแบบหลอกๆ

เสรีภาพ คงไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ เสรีภาพเกิดขึ้นได้เพราะมีองค์ประกอบตะหาก

ในอเมริกา น่าสนว่า หากคุณมีไม่ครบองค์ประกอบแห่งเสรีภาพ คุณก็อย่าไปคาดหวังว่าจะได้เสรีภาพอย่างที่คาดฝัน

ลึกลงไป แม้แต่คุณ มีองค์ประกอบแห่งเสรีภาพอยู่อย่างครบครันก็ตาม แต่ก็ยังมีเงื้อมมือของกฎระเบียบต่างๆ ควบคุมคุณเอาไว้อย่างแน่นหนา ในนามของ กฎหมายหรือแม้แต่จารีตอเมริกัน
ฝันจึงมีได้ แค่ตอนหลับตาเท่านั้น ขณะลืมตาหรือตื่น มันคือ  ความจริง

ความจริง  คือ การทำงานหนักและการเอาตัวรอดรายวันของคนส่วนใหญ่ที่นี่ แม้จะยอมรับได้ว่า มีคนไทยจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนไม่มาก ก้าวข้ามพันธนาการด้านเศรษฐกิจส่วนตัวไปได้ อันหมายถึงได้รับการสนับสนุนจากคนหรือญาติทางเมืองไทย

แม้รายละเอียดของแต่ละชีวิตแตกต่างกัน แต่วิถีชีวิตที่นี่ถูกกำหนดให้เดินไปอย่างคล้ายคลึงหรือในท่วงทำนองเดียวกัน

ทุน ปัจเจกและรัฐ  เป็นสายสัมพันธ์ที่แยกไม่ออก

ปัจเจก  อย่างมดงาน ที่ไม่รู้ว่าจะทำหน้าที่ขนเสบียงกรังกันไปได้นานขนาดไหน

แต่ผมก็เชื่อว่า มดงานเหล่านี้ ทำหน้าที่ได้อย่างสง่า และอย่างภาคภูมิยิ่ง

เพราะชีวิต เป็นทั้งของง่ายและเป็นทั้งของยาก ในเวลาเดียวกัน ตามคำพูดล้อเลียนที่ว่า “เวลานี้อย่าว่าแต่เพื่อนตายเลย  แม้แต่เพื่อนกินยังหาแทบไม่ค่อยจะได้”

ขณะเดียวกัน การทำหน้าที่นักสู้ในฐานะมนุษย์ผู้เกิดมาไม่ยอมแพ้ต่อชะตากรรมต่างหาก ที่สำคัญกว่า

นี่ย่อมเป็นเครื่องการันตีความเป็นคนและศักดิ์ศรีความเป็นคน อย่างแท้จริง

นาทีนี้ ผมจึงเชื่ออย่างสุดขั้วหัวใจ แม้จะไม่ใช่ในฐานะรุ่นน้องและเพื่อนพ้องที่คบหากันมาอย่างค่อนข้างสนิทสนมใน ช่วงที่อยู่แอล.เอ.ว่า สรรชัย โกรานนท์  หรือ “พี่สรรชัย” อยู่ในมณฑลที่ว่า

แม้ถึงนาทีนี้  ที่ปรากฎความไร้ซึ่งตัวตนของสรรชัยอย่างไม่หวนคืนเสียแล้ว

ไม่มีหรอกชีวิตที่สมบูรณ์  มีแต่ชีวิตที่มีทุกข์มีสุขคละเคล้ากันไป เป็นธรรมดา กับท่วงท่าอันถ่อมเนื้อถ่อมตัว นิ่มนวลของเขา(สรรชัย) ผมจำได้แม่น

เขายังเป็น “ทรายใต้ถุนตึก” อย่างเสมอต้นเสมอปลาย นับตั้งแต่วันแรกที่ผมกับเขาเจอกัน ผ่าน สมเจตน์ พยัคฆฤทธิ์  เมื่อช่วงต้นปี 2541 ขณะที่สมรภูมิชีวิตของเขาและของพวกเรากำลังเดือดพล่าน แทบไม่แตกต่างกัน

เฉกหนึ่งของชีวิต นาทีนั้น ผมเองกำลังจะกระโจนเข้าสู่สมรภูมิ

คนคนหนึ่งสามารถใช้ชีวิตอยู่ในยุทธภพอย่างแอล.เอ. ได้นับสิบๆปี จะไม่นับถือว่า เป็นจอมยุทธ์ได้อย่างไรกันเล่า

ภาวะร้อนสุดขั้ว ภาวะหนาวสุดขั้ว และภาวะอุณหภูมิใดย่อมต้องผ่านมาไม่มากก็น้อย

สรรชัย คือ ใช่  และเขาก็ผ่านมามาก

สื่อหนังสือพิมพ์ที่เขาเคยทำและเป็นเจ้าของอย่าง “ไทยไทม์” เป็นแค่ชื่อ แต่จริงๆแล้วสำหรับเขาไม่ได้มีแค่ ไทยไทม์ แต่มันเป็น “ไลฟ์ไทม์”

คนทุกคน คงไล่จับความฝันของตัวเองได้ไม่หมดเป็นแน่  แต่อย่างน้อยสรรชัย ก็คว้าได้ความฝันหลายส่วนตามที่เขาต้องการ และมันเป็นความฝันสำคัญของเขาเสียด้วยสิ

  บัดนี้ เขาอยู่ในภาวาการหลับยาว ขณะภาระกิจและพันธะกิจอันแสนเหนื่อยล้าในแอล.เอ.ดินแดนที่เขาเคยบอกผมว่า เขารักการใช้ชีวิตที่นี่  กำลังดำเนิน

  ฤาระหว่างจอมยุทธ์กับชาวนา ที่แท้หามีวิถีที่แตกต่างกันไม่…

ใส่ความเห็น

เมื่ออเมริกาถอนแซงก์ชั่นพม่า

พีร์  พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ptipitaka@yahoo.com

 

ดังที่ผมเคยเขียนไปก่อนหน้านี้  ภายหลังการเยือนพม่าของซีเนเตอร์จอห์น แมคเคน  แห่งพรรครีพับลิกันว่า อเมริกากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิกถอนการคว่ำบาตร(รัฐบาล)พม่า  การเดินทางของซีเนเตอร์แมคเคนดังกล่าว เสมือนเป็นการไปดูว่า ทางการพม่ามีท่าอย่างไรบ้าง  เหมือนกับการเดินทางไปพม่าของฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของอเมริกา ทำนองเดียวกัน

โดยเฉพาะการที่ทั้งคู่เข้าพบกับนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย (NLD) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในพม่าเจ้าเดียวที่ดูแล้วมีอำนาจคานกับรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

ผลการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ปรากฎว่าพรรคของนางอองซานซูจี สามารถกวาดที่นั่งสส.มากกว่า 43 ที่นั่ง จากการแย่งชิงเก้าอี้ 45 ที่นั่ง  ซึ่งเป็นการชนะอย่างถล่มทลาย  ทำให้กลายเป็นที่จับตามองของประเทศตะวันตก โดยเฉพาะจากฟากอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจสำคัญที่สามารถกำหนดชะตากรรมของคนพม่า อย่างน้อยก็ในแง่ของวิถีเศรษฐกิจ

ท่าทีของอเมริกาจึงสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะท่าทีจากฝ่ายการเมืองอเมริกันทั้ง 2 พรรค

นายวิน มิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองประจำมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เชื่อว่าวอชิงตันดี.ซี. จะยกเลิกการคว่ำบาตรพม่าในไม่ช้า  เริ่มตั้งแต่การยกเลิกบางมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินก่อน   ก่อนที่จะขยายไปสู่การยกเลิกมาตรการด้านเศรษฐกิจอื่นๆ   ซึ่งอาจทำให้กลุ่มการเมืองในอเมริกาฝ่ายตึงหรือฝ่ายที่ไม่ประนีประนอมกับรัฐบาลเผด็จการ และต้องการให้คงมาตรการนี้ไว้อาจไม่พอใจ

ความเป็นจริง แล้วการกำหนดนโนบายต่อพม่าแบบกลางๆ ย่อมดีที่สุด เพราะสหรัฐเองก็จะได้รับประโยชน์ต่อการผูกความสัมพันธ์กับรัฐบาลพม่าด้วยเช่นกัน

การอนุโลมให้มีการผ่อนผันการแซงก์ชั่นในบางมาตรการน่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะ เพื่อดูความเป็นไปของสถานการณ์ทางการเมืองของพม่า  ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในพม่าที่จะมีขึ้นในปี 2015  ซึ่งในปีเดียวกันนี้ หากการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว อเมริกาอาจปลดโซ่ตรวนทางเศรษฐกิจต่อพม่าอย่างเต็มรูปแบบ  หรือมีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจแบบปกติกับพม่า

เช่นเดียวกันกับที่นายฌอน เทอร์แนล ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าแห่งมหาวิทยาลัยแมคควารี่ ที่ซีดนีย์กล่าวว่า  ทางสหภาพยุโรป(EU)มีแนวโน้มที่จะเพิกถอนการแซงก์ชั่นทั้งหมดต่อพม่าก่อนสหรัฐ  หลังจากที่ก่อนหน้านี้ EU ได้เพิกถอนไปแล้วบางมาตรการ โดยจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้กันอีกครั้งในวันที่ 23 เม.ย. อีกครั้งที่ลักเซมเบิร์ก

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 20 ที่พนมเปญ กัมพูชา เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน บรรดาผู้นำอาเซียนได้เรียกร้องให้บรรดาชาติต่างๆ โดยเฉพาะชาติตะวันตก อย่างเช่นอเมริกา ที่คว่ำบาตรทางด้านเศรษฐกิจต่อพม่าให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวเสีย เนื่องจากขณะนี้พม่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว หลังจากการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรคสันนิบาตชาติประชาธิปไตย

นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กัมพูชาในฐานะประเทศประธานอาเซียนต่อจากอินโดนีเซียกล่าวว่า ประชาชนพม่าควรได้รับความสุข มีความหวังกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคต เพราะสันติภาพกำลังเกิดขึ้นในพม่า การคว่ำบาตรต่อรัฐบาลพม่า ไม่สามารถช่วยให้การแก้ไขปัญหาต่างๆในพม่าดีขึ้นได้

ขณะที่นายมาร์ตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย กล่าวว่า  การยกเลิกการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลพม่าจะช่วยให้พม่าเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ทิศทางที่ดีกว่าเดิมในลักษณะที่เร็วขึ้น  นอกเหนือไปจากตัวประธานาธิบดีเต็งเส่งเองก็มีท่าทีประนีประนอมกับนางอองซานซูจีอยู่ด้วยแล้ว

ขณะนี้จึงเป็นช่วงที่หน่วยงานอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับงานต่างประเทศ  เช่น กระทรวงการต่างประเทศ  คณะกรรมาธิการต่างประเทศของทั้ง 2 สภา  กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล ความเป็นไปในพม่า

ท่าทีการแสดงออกของรัฐบาลพม่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการแก้หรือยกเลิกกฎหมายคว่ำบาตรของฝ่ายอเมริกัน

หากว่าไปแล้วทางฝ่ายอเมริกันเองเวลานี้ หลายภาคส่วน โดยเฉพาะเอกชน ต้องการให้รัฐบาลและสภาทั้งสองยกเลิกการคว่ำบาตรเสียด้วยซ้ำ  โดยมองว่าการคงกฎหมายดังกล่าวเอาไว้เป็นสิ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันในแง่ของการลงทุน เท่ากับนักลงทุนอเมริกันเสียโอกาสในการลงทุน ขณะเดียวกันก็กลายเป็นโอกาสของนักลงทุนจีน และชาติเอเชียอื่นๆ อย่างเช่นเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่จะเข้าเสียบแทน

ดังนั้น เอกชนอเมริกันจำนวนหนึ่งจึงได้ว่าจ้างบริษัทล็อบบี้ยีสต์ ให้ล็อบบี้ ฝ่ายสภาเพื่อดำเนินการแก้ไข เพื่อยกเลิกกฎหมายคว่ำบาตรพม่าเสีย

อย่างไรก็ตาม อเมริกันหลายฝ่ายคาดว่า ขั้นตอนการยกเลิกกฎหมายคว่ำบาตรพม่า คงใช้เวลาในการพิจารณาพอสมควร   และคงไม่มีการยกเลิกการคว่ำบาตรทั้งหมดในครั้งแรก แต่จะค่อยเป็นค่อยไป

ที่สำคัญ คือ มีรายข่าวว่า รัฐบาลอเมริกัน มีการติดต่อกับรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งอย่างไม่เปิดเผย แม้ว่าหน้าฉาก จะมีการโปรโมทนางอองซานซูจี ในนามของตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยในพม่าอย่างออกหน้าออกตาก็ตาม

เพราะฝ่ายอเมริกัน ไม่อาจรอช้ากับการรุกคืบอย่างรวดเร็วของจีนได้

นั่นคือ หากฝ่ายอเมริกันช้าไป จีนก็อาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลพม่าตีกินไปเรื่อยๆ

ไม่แปลกที่คณะเจรจาอย่างลับๆ ของอเมริกัน เดินทางผ่านกรุงเทพไปพม่า เพื่อดำเนินการเจรจาต้วอวยกับรัฐบาลนายพลเต็งเส่ง

ที่สำคัญกลับมี ประเด็นการขายอาวุธของฝ่ายอเมริกันให้กับรัฐบาลพม่ารวมอยู่ในแพคเกจการเจรจาด้วย

หรือแม้แต่ ยังมีการเจรจากับกลุ่มชาติพันธ์ในพม่าที่กรุงเทพอีกด้วย

ทำให้สามารถมองอีกด้านได้ว่า ก้าวเดินของนางอองซานซูจี ไม่ง่ายอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนเธอลุ้นให้เป็นมากนัก ขณะที่ฝ่ายเต็งเส่งนั้น ยังเข้มแข็ง และมีอำนาจ(ทางการทหาร)เต็มมือ

ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร

พม่ายังมีทรัพยากรธรรมาติที่ไม่ถูกนำมาใช้จำนวนมหาศาล โดยเฉพาะน้ำมันและแร่

ไม่เชื่อลองถามเจ้าหน้าที่สถานกงสุลอเมริกันที่เชียงใหม่ดู..!!

ใส่ความเห็น